ซีพีแรม ผุดหลักสูตร'นักจัดการอุตสาหกรรมอาหาร' แจ้งเกิดศูนย์ FTEC เข้าสู่'ยุคที่ 8 ไร้พรมแดน'

ในฐานะผู้ผลิตสินค้าประเภทอาหารพร้อมรับประทานรายแรกของไทย ที่แรกเริ่มจากขนมจีบ และซาลาเปา ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่นทุกสาขา ได้ขยายมาสู่การผลิตอาหารพร้อมรับประทานในรูปแบบอื่นๆมากมาย เช่น ข้าวกระเพราไข่ดาว ที่แต่ก่อนจะหากินได้เฉพาะร้านตามสั่งเท่านั้น ก็กลายมาเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคหยิบจับได้จากชั้นวางในร้านสะดวกซื้อ และหลังจากผ่านการพัฒนา 7 ยุค  ในโอกาสครบรอบ 35ปีของการก่อตั้งบริษัท  ซีพีแรม จำกัด  บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ผู้ผลิตอาหารพร้อมรับประทานผู้อยู่เบื้องหลังร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ที่เริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่วันที่12 ธันวาคม 2531 ได้ประกาศตัวเข้าสู่ยุคที่  8 ที่เรียกว่า”ยุคไร้พรมแดน” โดยใช้การบ่มเพาะบุคลากร จากศูนย์ FTEC ( Food Technology Exchange Center  )มาเป็นแรงชับเคลื่อนสำคัญในการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่

วิเศษ วิศิษฎ์วิญญู  กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด  กล่าวว่า  “ซีพีแรมเดินทางผ่านยุคต่าง ๆ มาแล้วถึง 7 ยุค แต่ละยุคใช้เวลา 5 ปี มาถึงวันนี้ ซีพีแรมทำเข้าสู่ 35ปี ในทุกยุคเราจับเอาเรื่องสำคัญ ๆ ขึ้นมามุ่งเนันเป็นการเฉพาะ .ตั้งแต่ 1.ยุคก่อร่างสร้างจึงเราค้นพบตัวตนว่าเราคือผู้ชำนาญการในการผลิตอาหารพร้อมรับประทาน 2. ยุคแห่งการพัฒนายกระดับการผลิตสู่เครื่องจักรอันทันสมัย 3.ยุคสู่สากล เราเริ่มส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลก 4.. ยุคมุ่ความเป็นเลิศ เรายกระดับการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรจนได้รับรางวัลระดับโลn Deming Prize 5.ยุคเติบโตอย่างมั่นคง มีการขยายโรงงานไปครอบคลุมทั่วทุกภาคของประเทศ 6.ยุคครบเครื่องด้วยนวัตกรรม เราทุ่มเทในการพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมามากมาย 7.ยุคศรีอัจฉริยะ ซึ่งเราส่งเสริมคนทำความดีคู่ความเก่งตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหารด้วยแนวคิด FOOD 3S   และในฐานะผู้สร้างสรรค์อาหารคุณภาพที่ เพียบพร้อมด้วย   ความปลอดภัย คุณค่าทางโภชนาการ และความอร่อยแก่ผู้บริโภค ร่วมกับการสร้างคุณค่าที่ดีต่อชุมชน     สังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ซีพีแรมไม่เคยหยุดยั้งการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในรอบด้าน เพื่อสร้าง   ความสมดุลและประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของสังคมโลก  และขณะนี้กำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ 8 ที่เรียกว่า “ยุคไร้พรมแดน” 


“ในยุคที่ 7 ช่วงปี 2561-2565  เราเจอวิกฤตโควิด 3ปี ที่กระทบเศรษฐกิจทั้งประเทศ  ยอดขายของเราตกต่ำ จากที่เติบโตปีละ10-12%  ก็หายไป การที่เศรษฐกิจถดถอย ทุกคนคนเริ่มกังวลแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคืออาหาร   แต่เราร่วมกับซีพีออลล์ ช่วยเหลือสังคม ท่ามกลางภาวะหลังขนฝา ทำข้่าวกล่องราคาถูก 5 กล่อง 100 บาท ใน 6 เมนู เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน โครงการนี้ทำให้เราตัดรายจ่ายบางอย่างออกไป เพื่อให้ราคาถูกลง ประชาชนมีรายได้น้อยซื้อได้ ส่วนคนงานของเราก็ไม่ถูกปลด  และที่เราทำได้ผ่านมาได้ เพราะความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของหุ้นส่วนธุรกิจ”วิเศษ กล่าว

ยุคที่ 8 ที่เป็นยุคไร้พรมแดน วิเศษ อธิบายว่า เขาทบทวนตัวเองและพบว่าเราทำมาแทบจะหมดทุกอย่างแล้ว ตั้งคำถามกับตนเองว่ามีอะไรที่เรายังไม่ได้ทำป้าง ซึ่งก็พอมีอยู่บ้างและเป็นเรื่องท้าทาย ยังไม่ได้หยิบขึ้นมามุ่งเน้น  เกืดสะกิดใจขึ้นมาว่าทำไมการทำอะไรให้ถึงที่สุดที่เป็นไปไม่ได้เลย ทุกเรื่องมันดูไม่มีที่สุด ถ้ามีข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็นใหม่ขึ้นได้เสมอ ทำอย่างไรให้ลบข้อจำกัดต่าง ๆ ออกไป เพื่อให้เราก้าวไปข้างหน้าอเย่างไม่มีที่สิ้นสุด กลายเป็นที่มาของแนวคิด ‘ไร้พรมแดน’  

 วิเศษ กล่าวอีกว่า ในมุมมองของเขา มองว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความไร้พรมแดนเกิดขึ้นได้จริง คือ ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน  เกิดได้จากทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ห่วงโซ่อุปทาน ไปจนถึงหน่วยงานภายนอก เพียงแค่มีการคิดและร่วมมือกันทำ ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาต่อไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด  ซึ่งในการขยายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนถ้าบางอย่างทำไม่ได้ก็ต้องสร้างขึ้นมา หลังจากนั้นก็จะขยายความร่วมมือทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง โดยรูปธรรมความร่วมมือนี้คือ การจัดตั้งศูนย์ FTEC  ด้วยงบลงทุนกว่า 300 ล้านบาท โดยมีสถานที่ตั้ง ที่บริษัท ซีพีแรม จ.ปทุมธานี โดยศูนย์ FTEC  จะมีบทบาท ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในสร้างสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอาหารไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี

“เรามมองว่าการเกิดยุคไร้พรมแดนได้นั้น ต้องมีศูนย์กลางให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนักวิจัย นักพัฒนาและนักธุรกิจ  ได้มาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้บูรณาการศาสตร์ต่างๆ กับเทคโนโลยี  ระดมความคิด นักวิจัยได้โจทย์จริงไปทำวิจัยและพัฒนา ส่วนนักธุรกิจก็ได้ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐ และเอกชน มาช่วยแก้โจทย์ มาร่วมกันพัฒนานวัตกรรมอาหารผ่านโครงการวิจัย ซีพีแรมจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้ทั้งสองฝ่ายมาเจอกัน สนับสนุนการจัดทำห้องปฎิบัติการจุลชีวะ  บุคลากร เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์  ทั้งหมดนี้ก็เพื่อยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมอาหารไทย ตั้งแต่ต้นน้ำ ไปถึงปลายน้ำ  เพื่อเราจะได้ทดลองและผลิตอาหารในScale ที่ใหญ่ขึ้น  ยกระดับการแข่งขันกับนานาประเทศ ซึ่งซีพีแรม จะนำเงิน 1% ของยอดขาย หรือปีละ 150-200 ล้านบาทมาใช้กับการวิจัยและพัฒนา ให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนเอง ” กรรมการผู้จัดการกล่าว


สิ่งที่ตามมา หลังจากเกิดศูนย์ FTEC    ก็คือ การเกืดหลักสูตรนักจัดการอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีการเรียนการสอนภายใต้การสนับสนุนของสถาบันปัญญาภิวัฒน์  ซึ่งวิเศษ บอกว่า หลักสูตรนี้ ถือว่าเป็นการรวมเอาประสบการณ์  35 ปี ของซีพีแรม มาถ่ายทอดสู่บทเรียน บ่มเพาะบุคลากรด้านอาหารของประเทศ  ผู้สอนมาจากทั้งอาจารย์ประจำสถาบันปัญญาภิวัฒน์ และอาจารย์ภายนอกที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ โดยนักศึกษาที่เรียนจบจะได้วุฒิระดับปริญญาตรี  สามารถออกไปปฎิบัติงานได้ทันทีหลังจบการศึกษา โดยไม่ต้องไปลองผิดลองถูก หรือทดลองงานอีก

 “เราวางเป้าหมายยุคที่ 8 นี้ เราจะเติบโตไม่น้อยกว่าปีละ 12% หรือยอดขายในปี 2570 จะเติบโตขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัว   โดยเราจะขยายตลาดกลุ่มอาหารสุขภาพ กลุ่ม Functional Food และกลุ่ม Plant Based Diet  ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเทคโนโลยีชีวภาพ หรือ Biotechnology และขณะนี้เราได้สร้างโรงงานเบเกอรี่ที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในจ.ชลบุรี ด้วยเงินลงทุนกว่า  2,000 ล้านบาทเป็นโรงงานที่ 16 ”  วิเศษ กล่าว.

เพิ่มเพื่อน