17 ม.ค.2566 – นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานเปิดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ ครั้งที่ 107 ปี พุทธศักราช 2565-2566 มังกรเบิกฟ้า บุปผาเบ่งบาน และงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “อารยธรรมแห่งสายน้ำ วัฒนธรรมจีนไทย สานสายใยชาติพันธุ์” โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ Mrs. CHANG Yumeng อัครราชทูตที่ปรึกษาทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ศิลปินพื้นบ้านภาคเหนือ เครือข่ายวัฒนธรรม และนักท่องเที่ยวเข้าร่วม ณ หาดทรายต้นแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
เริ่มงานด้วยขบวนแห่ที่หลากหลาย อาทิ ขบวนดนตรีพื้นเมือง ขบวนแห่ชาติพันธุ์ ขบวนการแสดงวัฒนธรรมไทย-จีน เช่น สิงโตทอง สิงโตปักกิ่ง เสือไหหนำ รวมถึงขบวนกลองยาวและขบวนแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ เปิดงานด้วยการแสดงสุดอลังการ การแสดงสิงโตโหงวซก (ห้าชาติพันธุ์) การแสดง “107 ปี มังกรเบิกฟ้า บุปผาเบ่งบาน” การแสดงคณะมังกรทอง เจ้าพ่อ – เจ้าแม่ปากน้ำโพ และการแสดงสิงโตกว๋องสิว “สิงโตเก้าขุนพล” และการแสดง ชุด “อารยธรรมแห่งสายน้ำ วัฒนธรรมจีนไทย สานสายใยชาติพันธุ์” โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
นอกจากนี้ กิจกรรมภายในงานยังมีนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบสักการบูชาองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ ชมนิทรรศการแสดงศิลปะ ตลาดวัฒนธรรม ชมสาธิตและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (CPOT) อาหารพื้นถิ่น 17 จังหวัดภาคเหนือ การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม โดยศิลปินพื้นบ้านจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ สมาคมศิลปินขับซอล้านนา และสมาคมกลองและศิลปะการแสดงล้านนา กิจกรรมเสวนาทางวิชาการ โดยกรมศิลปากร การไหว้เจ้าขอพร การแก้ชง และไหว้เสริมดวง ตลอดจน กิจกรรมอีกมากมายให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสถึงอารยธรรมวัฒนธรรมไทยจีนตลอดช่วงการจัดงาน
งานประเพณีแห่เจ้าพ่อ – เจ้าแม่ ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเทศกาลตรุษจีนของชาวจีนในประเทศไทย ยาวนานกว่า 107 ปี ที่ชาวปากน้ำโพได้สืบสานประเพณีแห่เจ้าพ่อ เจ้าแม่ จากรุ่นสู่รุ่น จนถึงปัจจุบัน และเป็นงานแห่งความเป็นสิริมงคลจากบารมีของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ผู้สร้าง ความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับชาวปากน้ำโพจนเป็นที่เลื่องลือ สร้างชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 15 – 26 มกราคม 2566
ในโอกาสนี้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ “วิถีถิ่น วิถีไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น ตามนโยบายส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบเศรษฐกิจฐานราก ในระดับชุมชนและท้องถิ่น สนับสนุนนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ของรัฐบาล รวมทั้งผลักดัน “Soft Power” เพื่อส่งเสริมความเป็นไทยและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยเฉพาะด้านเทศกาลและประเพณี เพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับศิลปิน เครือข่ายทางวัฒนธรรม ผู้ประกอบการสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น ให้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวาง เสริมฐานรากทางวัฒนธรรมให้เกิดความเข้มแข็ง
ทั้งนี้ การจัดงานมหกรรมฯ ครั้งนี้นับเป็นการจัดงานครั้งที่ 2 จัดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 16 – 20 มกราคม 2566 ณ บริเวณหาดทรายต้นแม่น้ำเจ้าพระยา และอาคารพาสาน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และในครั้งต่อไป จะจัดขึ้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก “ดนตรีสานศิลป์ สองถิ่นวัฒนธรรม” วันที่ 9 – 13 มิถุนายน 2566 ณ บริเวณวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และปิดท้ายที่ภาคใต้ “สานศิลป์ แดนดินใต้ เทิดไท้องค์ราชัน” วันที่ 26 – 30 กรกฎาคม 2566 ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไม่กลัวปฏิวัติ!! I ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567
'ประสพ เรียงเงิน' นั่งปลัดวธ.คนใหม่
11 ธ.ค.2567 - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ โดยแต่งตั้งนายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ทั้งนี้ นายประสพ ถือว่าเป็นลูกหม้อกระทรวงวัฒนธรรม เคย
'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น
MOB ติดแล้ว MOU เอาไง !? | ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร
ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร : วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2567