6 กุมภา'วันมวยไทย'มรดกบรรพบุรุษให้มา

“มวยไทย “ศิลปะการต่อสู้ของไทย มรดกตกทอดมาโบราณ มีการสันนิษฐานว่ามวยไทย น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยสุโขทัยหรือเมื่อ 800 กว่าปีก่อน เนื่องจาก เป็นช่วงแคว้นต่างๆต้องทำศึกสงครามระหว่างกัน ทำให้ชายไทยต้องเรียนรู้การต่อสู้  ดังปรากฏในพงศาวดารที่ระบุว่ามีการใช้อาวุธของร่างกาย 9 อย่าง หรือที่เรียกว่า” นวอาวุธ” ได้แก่ มือ 2/เท้า 2/ เข่า 2/ ศอก 2 และศีรษะ 1 ได้อย่างแข็งแกร่ง และสวยงามในทุกกระบวน

การพัฒนามวยไทยต่อมาในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) พระองค์ทรงชำนาญในมวยไทยอย่างยิ่ง ทั้งยังทรงคิดท่าทั้งแม่ไม้มวยไทย 15 ท่า และลูกไม้มวยไทย 15 ท่า  รวมไปถึงการสืบสานพิธีไหว้ครู ที่เป็นเอกลักษณ์ขาดไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันพิธีไหว้ครู คือ แบบพรหมสี่หน้า  ในคราวที่ต้องขึ้นชกก็จะต้องสวมใส่มงคล และผูกประเจียด ไว้ที่ต้นแขนของนักมวยขณะขึ้นชก มวยไทยจึงไม่ใช่เพียงแค่การต่อสู้เพื่อผลแพ้ชนะ แต่คือการเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมประเพณีอันเก่า การเคารพครูบาอาจารย์และนักมวยด้วยกัน  ซึ่งในปัจจุบันมวยไทยก็มีการพัฒนาไปสู่กีฬาการต่อสู้ป้องกันตัว เช่น มวยสากล หรือการเปิดโรงเรียนสำหรับสอนมวยไทย เป็นต้น

ความสำคัญดังกล่าวจึงได้มีการกำหนดให้วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น “วันมวยไทย” โดยกระทรวงวัฒนธรรมกำหนดวันขึ้น   ในวันที่ตรงกับวันขึ้นเสวยราชสมบัติของพระเจ้าเสือ (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 )ในปี พ.ศ. แห่งราชอาณาจักรอยุธยา และเป็นที่ประจักษ์ด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกว่า พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปะมวยไทยอย่างท่องแท้ ทั้งนี้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ก็ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทย เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 สืบสานส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ครูมวยไทยสวมมงคลให้แก่เยาวชนที่เรียนมวยไทย

ด้วยเหตุนี้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จึงได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันมวยไทย 6 กุมภาพันธ์ ณ ตำหนักพระเจ้าเสือ วัดตึก จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าเสือ พระบิดาแห่งมวยไทย และ  ร่วมผลักดันมวยไทยขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติกับทางยูเนสโกต่อไป

ร่ายรำมวยไทยเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าเสือ

สำหรับในกิจกรรมครั้งนี้ ได้มีการบวงสรวงสมเด็จพระเจ้าเสือ จากนั้นครูมวยไทยได้ทำหน้าที่มอบมงคลให้แก่เด็กและเยาวชน ที่เรียนมวยไทยประจำโรงเรียนต่างๆ พร้อมกับทำพิธีไหว้ครู และร่ายรำมวยไทยเทิดสมเด็จพระเจ้าเสืออย่างพร้อมเพรียงจำนวนกว่า 600 คน  ในโอกาสนี้ยังได้มอบรางวัลให้แก่ผู้เข้าประกวดคีตะมวยไทยเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าเสือ จำนวน 8 รางวัล ต่อด้วยการแสดงจากไทยไฟท์ และการแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทย 15 แม่ไม้ และลูกไม้มวยไทย 15  ลูกไม้ ที่สร้างความประทับใจและตื่นตาให้กับเหล่าลูกศิษย์และผู้ที่เข้าร่วมงาน เพราะถือเป็นศิลปะที่หาชมได้ยาก

ชินวุธ ศิริสัมพันธ์

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ของทุกปีถือเป็นวันมวยไทย ซึ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติที่สำคัญ จึงได้มีการจัดกิจกรรมเทดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าเสือ ณ พระตำหนักพระเจ้าเสือ ที่วัดตึก เพราะเดิมเคยเป็นที่ประทับของพระองค์ ซึ่งพิธีกรรมต่างๆที่จัดขึ้นก็เป็นสืบสานธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่มวยไทยยังได้เปิดโรงเรียนสอนในต่างประเทศ ได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติจำนวนมาก สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ รวมไปถึงการผลักดันขึ้นทะเบียนมวยไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติต่อไป

รมว.วธ.ทำพิธีบวงสรวงสมเด็จพระเจ้าเสือ

ชินวุธ ศิริสัมพันธ์ นายกสมาคมครูมวยไทย กล่าวว่า แม่ไม้มวยไทย ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเสือ ซึ่งพระองค์มีความรู้ในเรื่องมวยเป็นอย่างมาก แต่หากจะให้บอกว่ามวยไทยกับมวยประเทศอื่นๆเหมือนกันหรือไม่ ก็คงไม่เหมือนเพราะแต่ละที่ก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อย้อนไปในอดีตแผ่นดินยังไม่มีการระบุประเทศ ทั้งหมดถูกเรียกว่าสุวรรณภูมิ ต่อมาจึงมีการยึดดินแดน แบ่งเขตการปกครองกันตามชนชาติของแต่ละประเทศ  ดังนั้นทั้งประเทศไทยและประเทศเพื่อบ้าน อย่าง มวยลาว มวยพม่า หรือกัมพูชา ก็มีกุน ขแมร์เป็นที่พัฒนามาจากมวยในอดีตของประเทศกัมพูชาเองซึ่งการพัฒนาก็เป็นไปตามยุคสมัย เราจึงไม่จำเป็นต้องคิดว่าใครขโมยใคร เพราะมวยไทยก็มีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดคือแม่ไม้ 15 ท่า เช่น ปักษาแหวกรัง ขุนยักษ์จับลิง จระเข้ฟาดหาง ยอเขาพระสุเมรุ เป็นต้น  และลูกไม้ 15 ท่า เช่น หนุมานถวายแหวน ญวนทอดแห หงส์ปีกหัก ลักพวงมาลัย เป็นต้น ซึ่งท่าเหล่านี้เกิดจากพระเจ้าเสือ ซึ่งไม่มีใครเหมือน

ท่าไหว้ครูสาวน้อยประแป้ง

“ทั้งนี้มวยไทย การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ไม่จำเป็นเฉพาะแค่นักมวย แต่คนทั่วไป เด็กและเยาวชน ก็สามารถที่จะศึกษามวยไทยที่เป็นประวัติศาสตร์ที่อยู่คู่กับประเทศไทย ซึ่งการผลักดันให้เด็กได้เรียนรู้และฝึกมวยไทย เพราะมวยไทยไม่ใช่แค่การต่อสู้  แต่ยังมีพิธีไหว้ครู กฎกติกา มีการฝึกที่ต้องใช้วินัย สร้างสมาธิ คงามอดทน ความแข็งแรงของร่างกาย ป้องกันตัวเอง และความมีน้ำใจต่อกัน ทั้งนี้ในปัจจุบันมวยไทยยังคงมีเอกลักษณ์แม่ไม้และลูกไม้มวยต่างๆดังเดิม แต่เมื่อมีชื่อเสียงโด่งดัง ก็มีการปรับให้เข้ายุคสมัยนั้น คือ การแบ่งระดับสายตามสี เหมือนกับคาราเต้ อย่าง สายมงคงสีแดง เทียบเท่ากับสายดำคาราเต้  สีขาวคือ ระดับต้นของการฝึก เพราะจากเดิมไม่มีการแบ่งระดับ รวมไปถึงการจัดระบบการเรียนการสอนให้คนได้เรียนรู้ทั่วโลก อีกทั้งคนเป็นครูมวยก็ต้องผ่านการอบรมพัฒนา เพื่อให้สามารถสอนลูกศิษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรู้จักมวยไทยจริงๆ เป็นอย่างไร โดยเฉพาะครูพละ ที่จะกำลังในการขับเคลื่อนมวยไทยให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้มวยไทย” ชินวุธ กล่าว

เยาวชน
โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร

คัมภีรพรรณ เทียมทัศ โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร จ.อุบลราชธานี เล่าว่า รู้จักมาจากครูผู้สอนในโรงเรียน จึงมีความสนใจอยากจะเรียน ตั้งแต่ป.6 จนเรียนจบก็ยังคงเรียนอยู่ เพราะมวยไทยให้ร่างกายแข็งแรง มีสมาธิมากขึ้น มีระเบียบวินัยในการฝึกซ้อม  ป้องกันตัวโดยเฉพาะกับผู้หญิง แต่ไม่ได่หมายความว่าจะนำมวยไทยไปใช้ต่อสู้ไปทั่ว มวยไทยยังสามารถออกอาวุธได้ทุกส่วนทั้งหมัด เท้า เข่า ศอก อย่างท่าที่ชอบคือ ท่ากวางเหลียวหลัง และจระเข้ฟาดหาง และอีกหลายท่าที่เรานำไปใช้ได้จริง

สมาคมมวยไทยพระเจ้าเสือ ประเทศเกาหลี

ด้านชาวต่างชาติที่ประทับใจในมวยไทย Cho Hae Sang ตัวแทนสมาคมกีฬามวยไทยพระเจ้าเสือ ประจำประเทศเกาหลีใต้ กล่าวว่า เคยอยู่เมืองไทยมา 12 ปี และได้มีโอกาสเรียนมวยไทย จึงทำให้ประทับใจ ทำให้ไปสนับสนุนที่เกาหลี และมีผู้มาเรียนสนใจกว่า 10 คน ต้องขอบคุณประเทศไทยที่ได้มีโอกาสเดินทางมาในวันมวยไทย ซึ่งถือเป็นสำคัญ อีกทั้งตนและลูกศิษย์ก็ยังได้มีส่วนร่วมในพิธีไหว้ครู ร่ายรำมวยต่างๆ เพราะมวยไทยไม่ใช่แค่การชกต่อยต่อสู้ แต่คือศิลปะที่มีความสวยงาม และมวยไทยก็คือมวยไทย มวยไทยไม่ใช่กุน ขแมร์

Lee Jaei ผู้เรียนมวยไทยที่สมาคมกีฬามวยไทยพระเจ้าเสือ ประจำประเทศเกาหลีใต้ เล่าว่า ได้เคยมาเรียนมวยไทยที่ประเทศไทย มวยไทยทำให้ร่างกายแข็งแรง  ซึ่งตอนนี้ก็เรียนมวยไทยมาแล้ว 2-3 ปี ซึ่งไม่ได้ฝึกแค่เฉพาะในสมาคมที่เกาหลีเท่านั้น แต่ยังมาฝึกเองข้างนอกด้วย และได้รู้จักมวยไทยโบราณ ซึ่งมวยไทยทำให้ทุกอย่างของร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีสมาธิ ฉักรักมวยไทย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ใจถึงธรรมะ' ท่องแดนพุทธภูมิ (1)

เป็นอีกครั้งในชีวิตที่ออกเดินทางไปยังประเทศอินเดียและเนปาล เพื่อค้นหาคำตอบบางอย่าง ซึ่งตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าจะพบมั้ย แต่เชื่อมั่นว่า จะทำให้ตัวเองในฐานะชาวพุทธได้พบกับความสุขสงบในจิตใจและได้เว้นวรรคจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ห่างไกลจากสิ่งเร้ารอบตัว ตามโปรแกรมจะไปครบทั้ง 4 สังเวชนียสถาน

วธ.เปิดงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ชวนสัมผัสวัฒนธรรมล้านนาฉลองมรดกโลก

15 เม.ย.2567 - สงกรานต์เชียงใหม่คึกคัก กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

วธ.เปิดสงกรานต์ปีใหม่ไทยวัดสุทัศน์ฯ นทท.คึกคัก ทั่วไทยร่วมสืบสานความงามประเพณี

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

นิทรรศการประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทยที่หอศิลป์กรุงเทพฯ จัดใหญ่โชว์ซอฟต์พาวเวอร์ไทย

11 เม.ย.2567 - กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร จัดงาน “นิทรรศการประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” เนื่องในโอกาสที่ ประเพณี

วธ.จัดใหญ่มหาสงกรานต์ เปิดไฮไลต์ กทม. - 5 จังหวัด ฉลองมรดกโลก

กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) แถลงข่าวการจัดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival)ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธนนมแห่งประเทศไทย เมื่อวานนี้ โดย