'ชมรมถันยรักษ์'ในรั้วราชภัฏฯ ร่วมต่อยอดภารกิจลด'โรคมะเร็งเต้านม'

สาธิตการตรวจมะเร็งเต้านม

ในบรรดาโรคมะเร็งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในผู้หญิง มะเร็งเต้านม นับว่าเป็นมะเร็งร้ายหมายเลขหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี 2559-2561 พบว่าผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ถึงวันละ 47 คน หรือประมาณปีละ 17,043 คน เสียชีวิตวันละ 13 คน หรือประมาณปีละ 4,654 คน ทั้งนี้แนวโน้มยังคาดว่าจะพบหญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย นอกจากผู้หญิงแล้ว ผู้ชายก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 ใน 100 คนจากผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด  

โดยปัจจัยหลักที่เสี่ยงจะเป็นมะเร็งเต้านม คือ กรรมพันธุ์จากสายตรงจากครอบครัว มีประจำเดือนครั้งแรกช่วงอายุ 12 ปี หรือ หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี ได้รับรังสีรักษาบริเวณเต้านม ภาวะอ้วน และการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ดังนั้นการตรวจหรือสังเกตเต้านมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจด้วยตนเอง จากการคลำหาก้อนเนื้อเดือนละครั้ง หรือการไปพบแพทย์ ตรวจด้วยวิธีการทางการแพทย์ก็ตาม 

หุ่นน้องสำลี ช่วยให้รู้วิธีตรวจมะเร็งเต้านม

เพื่อสร้างองค์ความรู้ และการตระหนักถึงความสำคัญในการตรวจมะเร็งเต้านม ให้เข้าถึงกลุ่มประชาชนมายิ่งขึ้น ทางมูลนิธิถันยรักษ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎทั่วประเทศ และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด จึงได้จัดการประกวด “โครงภารกิจพิชิตมะเร็งเต้านม ตั้งชมรมถันยรักษ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ” ประจำปี 2565 เพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ให้กับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัย และชุมชน หรือเครือข่ายของมหาวิทยาลัยตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการดูแลเต้านม โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับถ้วยเกียรติยศจากมูลนิธิฯ และทุนการศึกษามูลค่ากว่า 1,000,000 บาท

ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

สำหรับผลการประกวดโครงภารกิจพิชิตมะเร็งเต้านมฯ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 12 แห่ง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองประธานกรรมการมูลนิธิถันยรักษ์ฯ กล่าวว่า จากพันธกิจหลักในการรณรงค์และสืบสานพระราชปณิธานมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ต้องการให้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดมาใช้อย่างเหมาะสม และให้รักษาคนจน คนรวยโดยเท่าเทียมกัน นึกถึงผู้ที่อย่างห่างไกลเป็นหลัก ในการเข้าถึงการตรวจมะเร็งเต้านมโดยเร็ว ผ่านองค์ความรู้ต่างๆที่เผยแพร่ออกไป โดยกลไกสำคัญ คือการเผยแพร่ผ่านมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษา ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน หวังว่าโครงการนี้ฯ จะประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้หญิงไทยพ้นภัยจากมะเร็งเต้านม 

บุษดี เจียรวนนท์

บุษดี เจียรวนนท์ เลขาธิการมูลนิธิถันยรักษ์ฯ กล่าวว่า มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย และผู้หญิงทั่วโลก โดยแนวโน้มอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเต้านมเป็นอวัยวะที่อยู่ภายนอกผู้หญิงสามารถตรวจคัดกรองหาสิ่งผิดปกติในเต้านม หากพบในระยะแรก ก็สามารถที่จะทำการรักษาให้หายขาดได้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลของมูลนิธิฯ พบว่า ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมในแถบเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยมีมากขึ้น และพบในกลุ่มที่อายุน้อยลง จากแนวโน้มดังกล่าวในปี 2565 ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎ 38 แห่งทั่วประเทศ เผยแพร่ความรู้การดูแลเต้านมและการตรวจเต้านมตนเองเบื้องต้น ตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์สื่อสารในวงกว้างให้ประชาชนทั่วประเทศ  ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ข้อมูลความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยมะเร็งเร็งเต้านม ตลอดจนการดูแลสังเกต และตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ 

ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  

“จากเหตุผลดังกล่าวจึงเกิดการต่อยอดสู่ การประกวดของโครงการภารกิจพิชิตมะเร็งเต้านม ตั้งชมรมถันยรักษ์ฯ ในครั้งนี้  เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนการรณรงค์สื่อสารในเขตพื้นที่บริการ สร้างความตระหนักถึงภัยมะเร็งเต้านมอย่างเป็นรูปธรรม  โดยมูลนิธิฯ ได้สนับสนุนทุนการจัดตั้งชมรมฯ พร้อมด้วยอุปกรณ์และสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ รวมถึงจัดอบรมให้ความรู้พื้นฐานสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้ได้อย่างถูกต้อง ครอบคลุมทั้งการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ (E-Learning) และ ระบบบันทึกการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยตนเอง (BSE Application) อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งคาดว่าองค์ความรู้ต่างๆ จะมุ่งไปสู่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ทั้งนักศึกษา บุคลากร และประชาชนได้มากกว่า 20,000 คน ดังนั้นการจัดตั้งชมรมถันยรักษ์ฯ จะเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยให้รอดพ้นจากภัยมะเร็งเต้านม” บุษดี กล่าว 

ชมรมชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ภาณุวัฒน์ ศิริลพ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ รองประธานชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา บอกว่า รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รางวัล เพราะทุกแผนงานที่วางได้ร่วมคิดและพลังจองทีมอย่างเต็มที่ ที่ได้นำความรู้ในสาขาพยาบาลเกี่ยวกับเรื่องโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม ที่มีสื่อการนำเสนอน้อย ยังไม่แพร่หลายมากนักในประชาชน และหลายคนอาจจะมองเป็นไกลตัว จึงไปแรงบันดาลใจสพคัญในการขับเคลื่อนขมรมและสังคม โดยกลุ่มหมายเป็นนักศึกษาในม.ราชภัฏสวนสุนันทา และขยายผลไปสู่ชุมชน โดยตั้งแต่ก่อตั้งชมรม ตลอดระยะเวลา 263 วัน ได้มีการคิดค้นวางแผนพัฒนาในกระบวนเกี่ยวกับการให้ความรู้มะเร็งเต้านมถึง 6 แผนพัฒนา ซึ่งมีกว่า 22 กิจกรรม เบื้องต้นจะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และสามารถทำการตรวจมะเร็งเต้านมเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เริ่มจากจัดอบรมนักศึกษาทุกชั้นปี อาจารย์และบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลของเรา และมีการร่วมบูรณาการในวิชา Fundamentals สำหรับนักศึกษาปี 2 และวิชาการอนามัยชุมชนด้วย ซึ่งทำให้ได้ทำงานร่วมกับอาสาสมัครชุมชน และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง 14 ชุมชนในเขตกทม. 

ภานุวัฒน์ บอกอีกว่า เมื่อโครงการภารกิจพิชิตมะเร็งเต้านมฯ ครอบคลุมสาขาพยาบาล และขยายผลในการความรู้ผ่านการขัดบูธในงานพิเศษต่างๆที่จัดขึ้นในราชภัฏ ด้วยความคืบหน้าของโครงการฯ จึงได้มีการจัดตั้งชมรมอยู่ที่วิทยาลัยพยาบาล วิทยาเขตสมุทรสงคราม ทำให้มีนักศึกษาจากคณะต่างๆมาเข้าร่วมมากยิ่งข้ึน และยังใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ สนับสนุนสื่อให้ความรู้แก่คณะอื่นๆ ทำให้มีการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายมากขึ้น โดยในขณะนี้มีผู้ลงทะเบียน BSE Application กว่า 2,000 คน และการเรียนรู้ผ่าน E-Learningกว่า 1,800 คน โดยในจำนวนนี้สอบผ่านระบบ E-Learning และได้ใบประกาศกว่า 1,400 คน ที่คาดว่าจะมียอดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ทำให้เกิดการขยายเครือข่ายที่เพิ่มมากขึ้นด้วย 

สร้างความตระหนักให้ผู้หญิงหมั่นตรวจเช็คมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง

สิริรัตน์ จิตรตระกูล สาขาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ ประธานชมรมชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เล่าว่า  การจัดตั้งชมรมฯนี้ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ความรู้การตรวจเต้านมด้วยตนเองและความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ รวมไปถึงการสร้างแกนนำเพชรถันยรักษ์และเครือข่ายในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสร้างความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมให้เพิ่มขึ้น ผ่านกิจกรรมหลัก 9 กิจกรรม ได้แก่ 1.การสร้างองค์ความรู้มะเร็งเต้านมให้กับนักเรียน นักศึกษา และบุคลากร ในรายวิชาต่างๆ รวมถึงการออกหน่วยให้บริการมีความรู้ในการคัดกรองมะเร็งเต้านม 2.การสร้างแกนนำ 3.ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ 4.การเพิ่มทักษะให้แก่เครือข่ายเดิมและเครือข่ายใหม่ในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง 

“และ 5.การจัดประกวดนวัตกรรมสิงประดิษฐ์และสื่อการเรียนรู้สำหรับมะเร็งเต้านม จนเกิดผลงานโมเดลเต้านม โมเดลหุ่นเต้านม และหุ่นน้องสำลี  6.การให้คำปรึกษาและการส่งต่อเมื่อมีผู้ผิดปกติจากการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง และการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย 7.การถอดบทเรียนของชมรมและแกนนำเพชรถันยรักษ์ 8.การบันทึกผลการตรวจเต้านมด้วยตัวเองสูงขึ้น ตรวจซ้ำมากถึง 85%  และ9.การจัดกิจกรรมในวันมะเร็งเต้านม โดยกิจกรรมดังกล่าวเกิดความต่อเนื่องทำให้ขยายไปถึงสถานพยาบาลในเครือข่าย มุ่งสู่การบริการที่ครบวงจร และสิ่งที่สำเร็จมากที่สุดคือการสร้างแกนำจากทั้ง 8 คณะ 1 โรงเรียนสาธิต ได้เข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายความรู้สู่ชุมชน” สิริรัตน์ เล่า 

นำองค์ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมถ่ายทอดสู่ชุมชน

อานนท์ ลาสิงห์หาญ สาขาวิชาการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ ประธานชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี   เล่าว่า สิ่งสำคัญในการจัดตั้งชมรมคือ การถ่ายทอดความรู้การดูและและตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ผ่านการเรียนหลักสูตร มะเร็งเต้านม รู้เร็ว รักษาได้ และเป็นอีกช่องทางที่กระตุ้นให้นักศึกษาในราชภัฏอุบลฯ ได้เข้าอบรมหลักสูตรนี้มากขึ้น ทั้งนี้ยังมีการบันทึกผลการตรวจเต้านมด้วยตัวเองผ่านแอปฯ BSE โดยยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้ไปยังชุมชนในพื้นที่บริการของราชภัฏฯอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข่าวดีผู้ประกันตน เพศหญิง รับการตรวจมะเร็งเต้านม-ปากมดลูกฟรีได้แล้ว

'ทิพานัน' ย้ำ 'ประยุทธ์' ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ ยกระดับการดูแลสุขภาพให้ประชาชน แจ้งข่าวดีผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 เพศหญิง อายุ 30 ปี ขึ้นไป สามารถรับการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกฟรีได้แล้ว