หนังสือดีเด่น ปี 66 ปลุกรักการอ่าน

เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและการกระจายหนังสือดี มีคุณภาพ และกระตุ้นให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่านสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ  จัดประกวดหนังสือดีเด่นมาอย่างต่อเนื่องทุกปี  การประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566  ปีนี้มีผู้ประพันธ์  ผู้จัดพิมพ์ และหน่วยงานต่างๆ ร่วมส่งหนังสือประกวดรวม411 เรื่อง จากสำนักพิมพ์กว่า 100 แห่ง แยกเป็นกลุ่มหนังสือต่างๆ  ได้แก่  หนังสือสารคดี  หนังสือนวนิยาย หนังสือกวีนิพนธ์  หนังสือรวมเรื่องสั้น หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ปี หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6 – 11 ปี หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12 – 18 ปี  หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ และหนังสือสวยงาม   

คณะกรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดหนังสือดีเด่น ปี 2566  ซึ่งมี  ดร. พนม  พงษ์ไพบูลย์ เป็นประธานกรรมการ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมป็นกรรมการ  ล่าสุด ประกาศผลการพิจารณาตัดสินมีหนังสือได้รับรางวัล 55 เรื่อง แยกเป็นรางวัลดีเด่น 14 เรื่อง  รางวัลชมเชย 41 เรื่อง

สำหรับรางวัลเด่น  14 เรื่อง ได้แก่  หนังสือสารคดี  ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม 
​เรื่อง ควอนตัม : จากแมวพิศวง…สู่ควอนตัมคอมพิวเตอร์ประพันธ์โดย ดร. บัญชา  ธนบุญสมบัติ  ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศาสนา และชีวประวัติ เรื่อง ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย โดย ศ.ดร. ศักดิ์ชัย  สายสิงห์   ​ หนังสือสารคดี ด้านการท่องเที่ยว อาหาร ฯลฯ   ​เรื่อง I DRAW & TRAVEL VOL. 1.1 Serendipity บังเอิญโชคดีที่ได้พบ โดย รงรอง  หัสรังค์  ​

หนังสือนวนิยาย  เรื่อง  เส้นทางสายลึกลับ ​โดย กร  ศิริวัฒโณ  ​        หนังสือกวีนิพนธ์  เรื่อง  เราอยู่บนดาวดวงเดียวกันไหม  โดย นิตา  มาศิริ หนังสือรวมเรื่องสั้น  เรื่อง  เรายังยิ้มได้ ดอกไม้ยังแย้มบาน  โดย อุเทน  พรมแดง นอกจากนี้ ยังมีหนังสือดีเด่นสำหรับเด็กเล็ก หนังสือสำหรับวัยรุ่น   หนังสือการ์ตูน อีกด้วย

เกศทิพย์  ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ก.พ.ร.) กล่าวว่า สพฐ. จัดประกวดหนังสือดีเด่นต่อเนื่อง ปีนี้เป็นครั้งที่ 51  เพื่อส่งเสริมการผลิตหนังสือที่มีคุณภาพ  กว่าจะออกหนังสือหนึ่งเล่มผ่านการคิดและเขียนของนักเชียน บรรณาธิการ  สำนักพิมพ์ เพื่อการสร้างหนังสือให้น่าอ่าน ความรู้และจินตนาการที่อยู่ในหนังสือช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การประกวดสร้างทั้งนักเขียนและนักอ่าน รวมถึงเกิดผลงานมีคุณค่ามากมาย ปีนี้มีนักเขียนส่งผลงานเข้าประกวดเพิ่มขึ้น 10% คณะกรรมการพิจารณาอย่างเข้มข้น และคัดสรรผลงานดีเด่นออกสู่สาธารณชน จากนี้ สพฐ.จะเผยแพร่หนังสือดีเด่นให้กับสถานศึกษาและอยู่ในบัญชีรายชื่อหนังสือจัดซื้อได้ เราพบว่านักเรียนต่อยอดจากหนังสือดีเด่นเกิดผลงานเขียนของตัวเอง ถือเป็นอีกนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้านการศึกษา และควรส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง

ผศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร นักวิชาการวรรณกรรม หนึ่งในกรรมการตัดสินหนังสือนวนิยาย กล่าวว่า หนังสือนวนิยายส่งประกวดเป็นผลงานของนักเขียนหน้าเก่ามีชื่อเสียงระดับชาติและนักเขียนหน้าใหม่ สำหรับนวนิยายดีเด่น   เรื่อง  เส้นทางสายลึกลับ ​โดย กร  ศิริวัฒโณ   ผู้ประพันธ์ต้องการเปิดเส้นทางการค้าโบราณระหว่างฝั่งอันดามันมาอ่าวไทย ซึ่งปัจจุบันสูญหายไปแล้ว วิธีการประพันธ์ใช้นายหนังตะลุงแบบสัจจะนิยมมหัศจรรย์ ตระเวนแสดงกึ่งฝันกึ่งจริง เจอเรื่องราวในอดีต และได้รับสารว่าต้องสืบสานการเล่นหนังตะลุง ผู้ประพันธ์ผสานศิลปะการเขียนและศิลปะพื้นบ้านหนังตะลุง โดยปรับประยุกต์เพลงลูกทุ่ง ผลงานประสานศิลป์ได้ดี และสืบสานวัฒนธรรมแดนใต้ ส่วนนวนิยายรางวัลชมเชย เรื่อง”คนจรดาบ” โดยวิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง ใช้ลีลาการเขียนแบบพงศาวดาร สื่อสารเรื่องราวในอดีต    อีกเล่ม”ฟ้าลิขิต:จากซัวเถาสู่สยาม” โดย ส.เทพรำเพย นักแสดงงิ้วเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านของจีน  และเรื่อง”โลกใบเล็กของแทนชน”  โดยสาโรจน์ มณีรัตน์  นักเขียนมืออาชีพ มีกลิ่นอายบันทึกการเปลี่ยนแปลง14 ตุลาฯ  ผลงานรางวัลหนังสือดีเด่นเหล่านี้จะถูกซื้อเข้าห้องสมุด รวมถึงดึงดูดให้เกิดการอ่านในวงกว้าง

อนุรักษ์ กิจไพบูลทวี อุปนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดหน่ายหนังสือในประเทศไทย (PUBAT) กล่าวว่า หนังสือดีเด่น ปี 66 จะนำมาจัดแสดงนิทรรศการในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21  ที่จะจัดปลายเดือนมี.ค.นี้  อยากชวนนักอ่านและผู้สนใจไปเยี่ยมชมและอ่านผลงาน งานหนังสือแห่งชาติปีนี้จัดในแนวคิด “BOOK INFLUENCER “  ผู้มีอิทธิพลในแวดวงต่างๆ ไปจนถึงนักรีวิวหนังสือ จนกระทั่งอนักอ่านทุกคนเป็นพลังสำคัญผลักดันการอ่านในไทยให้คึกคัก ปีนี้จะเป็นครั้งแรกที่งาน 3 วันแรก จะเปิดให้เดินดูหนังสือ ช็อป ชมนิทรรศการ และร่วมกิจกรรมถึงเที่ยงคืนในช่วง 3 วันแรก อยากให้ติดตามกัน

สำหรับนักเขียนผู้ที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น ปี 2566 จะได้เข้ารับพระราชทานรางวัลในพิธีเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21  จากกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 30 มี.ค. 2566 เวลา 15.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"เสมา1" มอบ สพฐ. ใช้ระบบไอทีทำใบ ปพ.5 ช่วยลดขั้นตอนเอกสารของครูผู้สอน ใบสำคัญด้านการศึกษา หวังก้าวสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ได้มีนโยบายลดภาระครู ซึ่งจะเร่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลุดกรอบการทำเอกสารของครูผู้สอนแบบเดิม

"รมช.สุรศักดิ์" ผนึกกำลัง​ สพฐ. ลงพื้นที่กระบี่ ย้ำโรงเรียนต้องปลอดภัย อาหารกลางวันต้องได้คุณภาพ พร้อมดันนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" ต่อเนื่อง

เมื่อวันอาทิตย์​ที่ 21 มกราคม 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ จ.กระบี่