'คนละไม้คนละมือ' รัฐ-เอกชนขุด'ราก' แหล่งกำเนิดPM2.5

ต้องยอมรับว่าประเทศไทย ได้ต่อสู้กับปัญหาฝุนพิษ PM 2.5  มายาวนานหลายปี  แต่จนถึงวันนี้ เรายังเอาชนะฝุ่นพิษไม่ได้ บางปีทุเลาลง แต่บางปีกลับปะทุ พุ่งปรู๊ดปร๊าด เช่นในปีนี้ สะท้อนให้เห็นว่าถ้ายังไม่มีการแก้ไขปัญหา ให้ตรงจุด  เราก็จะตกอยู่ในสถานการณ์นี้ต่อไปเรื่อยๆ  อย่างไรก็ตาม  ท่ามกลางการหาทางออก ที่ยังมองไม่เห็นเส้นชัย  สะท้อนให้เห็นว่าการต่อสู้กับฝุ่นพิษจะอาศัยรัฐบาลหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงลำพังคงไม่ได้  แต่ต้องอาศัยการ"รวมพลัง"จากทุกภาคส่วนในสังคม เข้ามาช่วยกันแบบคนละไม้คนละมือ ล่าสุด องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) ร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ได้ผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐและเอกชนที่เป็นภาคธุรกิจชั้นแนวหน้าของประเทศ เพื่อหาทางออกอย่างจริงจัง  พร้อมกับ จัดงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “บทบาทภาคธุรกิจไทย TBCSD ในการร่วมขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา PM2.5” เพื่อตีโจทย์รากเหง้าปัญหาให้ตรงจุดเสียที  

 ที่ประเทศไทยกำลังหาทางแก้ไข แต่ดูเหมือนว่าการต่อสู้กับฝุ่นพิษจะอาศัยรัฐบาลหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงลำพังคงไม่ได้  แต่ต้องอาศัยการ"รวมพลัง"จากทุกภาคส่วนในสังคม เข้ามาช่วยกันแบบคนละไม้คนละมือ  ล่าสุด องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) ร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ได้ผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐและเอกชนที่เป็นภาคธุรกิจชั้นแนวหน้าของประเทศ หาทางออกอย่างจริงจัง  พร้อมกับ จัดงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “บทบาทภาคธุรกิจไทย TBCSD ในการร่วมขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา PM2.5” เพื่อตีโจทย์แก้ไขปัญหาตรงจุด  

ดร.วิจารย์ สิมะฉายา

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา เลขาธิการองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) และ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) กล่าวเปิดงานว่า TBCSD มีความมุ่งมั่นในการเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ   ซึ่งปัญหา PM2.5 ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา TBCSD ได้เดินหน้าขับเคลื่อนงานเพื่อร่วมแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการประชุมหารือกันทั้งภายในสมาชิกเอง กับองค์กรพันธมิตรและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และสร้างความเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงและแนวทางที่เป็นไปได้ในการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบของปัญหาในด้านต่าง ๆ รวมทั้ง ได้มีการกำหนดมาตรการที่สมาชิก TBCSD ดำเนินการเพื่อร่วมแก้ไขปัญหา PM2.5 ผ่านมาตรการ 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ 1) มาตรการที่สมาชิกดำเนินการเองโดยสมัครใจ ได้แก่ การตรวจเช็คสภาพรถและเครื่องยนต์อยู่เสมอ การบรรทุกและขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และการมีพฤติกรรมการขับขี่ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ 2) มาตรการที่ขอความร่วมมือจากสมาชิกในช่วงวิกฤต สมาชิก TBCSD เลือกใช้น้ำมันที่เป็น Bio-based หรือ ก๊าซธรรมชาติ (CNG) หรือน้ำมันที่มีสารกำมะถันต่ำ (ไม่เกิน 10 ppm) หรือ ตามมาตรฐาน Euro 5 การเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้า ลดการนำรถบรรทุกดีเซลขนาดใหญ่เข้าพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ ลดการใช้รถใช้ถนน และส่งเสริมการทำเกษตรที่ไม่เผาชีวมวล และ 3) การสร้างการรับรู้แก่พนักงานขององค์กรและประชาชนทั่วไป (เพื่อสร้างแนวร่วมในการแก้ไขปัญหา)  รับรู้ถึงปัญหาผลกระทบของฝุ่น PM2.5 และวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา  เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา


นอกจากนี้ TBCSD ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นธุรกิจเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ยังได้มีการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ และลดผลกระทบในทุกด้าน อันเป็นการแสดงถึงพลังจากการรวมตัวขององค์กรภาคธุรกิจในการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน  ในทุกมิติทั้งด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม

ดร.ปิ่นส้กก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

ในงานได้เชิญตัวแทนจากภาครัฐ นักวิชาการ องค์กรและภาคธุรกิจมาแสดงความคิดเห็นแนวทางแก้ปัญหาปัญหาPM2.5  เริ่มจาก ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี  อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า  ปัญหาPM2.5 มีมายาวนาน ทำให้ตั้งแต่ปี 2562  ปัญหาถูกยกขึ้นเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องแก้ไข  ทำให้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จำนวนวันของการเกิดฝุ่นและจำนวนHot Spot การเกิดจุดความร้อนดีขึ้น  แต่ปีนี้คาดการณ์ว่าสถานการณ์จะแย่ลง ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากโควิด ทำให้คนมีกิจกรรมมากมาย ทั้งเดินทาง ท่องเที่ยว   ส่วนการเกิดฮอต สปอต  หรือไฟป่า มีปัจจัยมาจากสภาพภูมิอากาศของปีนี้  ที่ฝนตกน้อย เพราะเข้าสู่ภาวะเอลณิโญ ทำให้มีระยะเวลาอากาศหนาวยาวนานขึ้น  นอกจากนี้ ยังมีการเผานอกพื้นที่ป่า ที่กระจายตัวมากกว่าปกติ ทำให้คาดว่าปัญหาฝุ่นPM2.5 ในปีนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน  

ในการรับมือแก้ปัญหา ดร.ปิ่้นสักก์ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐเตรียมการแผนปีนี้ จะทำให้ชัดกว่าปีที่แล้ว โดยโฟกัสที่แหล่งกำเนิดไฟ  และแหล่งกำเนิดฝุ่น เพราะพฤติกรรมของปัญหามีความต่างกันในแต่ละพื้นที่ ไม่สามารถใช้มาตรการเดียวแก้ปัญหาทั้งประเทศได้ อย่างในเมืองป้ญหามาจากการจราจรและรถยนต์เป็นหลัก   หรือมาจากการเผาในพื้นที่โล่ง รอบๆกรุงเทพ    หรือมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนปัญหาไฟจากป่า มีทั้งที่มาจากธรรมชาติ และมีคนจุดเผา อีกทั้งยังมีการเผาในภาคการเกษตร อ้อย ข้าว ข้าวโพด  แผนปีนี้ จึงตั้งเป้าที่ลดแหล่งกำเนิดไฟให้ได้ และมีการบูรณาการหน่วยงานเกี่วยวข้องให้ทำงานร่วมกัน  หลายส่วน ทั้งศูนย์ปฎิบัติการ Single command ที่ปฎิบัติการร่วมกันระดับจังหวัด ศูนย์ปฎบัติการส่วนหน้า ของทส. เป็นต้น

รวมทั้ง ความร่วมมือกับภาคเอกชนแก้ปัญหา โดยที่ผ่านมาทางกรมได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับภาคเอกชนอาทิ สภาอุตสาหกรรม  เพื่อหาทางคุมปัญหาฝุ่นที่แหล่งกำเนิด  ที่สำคัญคือ  มีการติดต่อกับบริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อย่างบริษัท  บางจาก และบริษัท ปตท. ให้นำน้ำมันที่เป็นมาตรฐานยูโร  5  เข้ามาขายก่อนในเขตเมืองเพื่อลดปัญหาPM2.5จากรถยนต์  และยังบูรณาการร่วมกับจังหวัดต่าง ๆ  เพื่อให้สามารถคาดการณ์ปริมาณฝุ่นล่วงหน้าได้   รวมทั้งพยายามทำข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีการเผา  เนื่องจากส่วนหนึ่งไทยได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดน   ซึ่งที่ผ่านมานายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. ได้ประชุมร่วมกับ 5ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อยกระดับความร่วมมือลดการเผา และหวังลดจุดความร้อนให้ได้  20-30%   รวมทั้งคุยกับพื้นที่ต่างๆในประเทศ แต่ปรากฎว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะการเผาและปริมาณฝุ่นไม่ลด โดยปีนีพบว่า 17จังหวัดภาคเหนือ มีจุดความร้อน ที่มาจากป่าเพิ่มขึ้น 90%  

แม้จะมีความตื่นตัวแก้ปัญหา PM2.5 มาหลายปี นอกจากการยกให้เป็นวาระแห่งชาติ รัฐยังมีมาตรการและทุ่มงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาถือว่ายังไม่สำเร็จ  เป็นเพราะเหตุใดนั้น ดร.ปิ่นสักก์ บอกว่า เพราะเรายังแก้ปัญหาไม่เพียงพอ  ที่ผ่านมาเราไปแก้ที่"แหล่งกำเนิด"เท่านั้น แต่ยังไม่ได้ลงไปแก้ที่"รากของแหล่งกำเนิด" เช่น ปริมาณรถเก่าที่ยังมีจำนวนมาก ทำอย่างไจจะจูงใจให้คนเลิกใช้  ซึ่งประเด็นเหล่านี้  จะมีตัวมาตรการเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  โดยรองนายก พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานที่ประชุม เพื่อขับเคลื่อนแก้ปัญหาที่รากให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยมองว่าจะต้องปรับปรุงระบบงบประมาณ โครงสร้างกฎหมาย ทำอย่างไรถึงจะให้ระบบเส้นเลือดจากงบประมาณแก้ปัญหา สามารถหล่อเลี้ยงไหลเวียนคล่องขึ้นใปถึงระดับตำบลได้ หรือเป็นการให้ความสำคัญกับท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น

" การลงไปแก้ที่รากของแหล่งกำเนิดฝุ่น ที่จะมีการคุยกันคือ  เช่น รถเก่าต้องมีมาตรการทางภาษี เพื่อช่วยให้คนจนเปลี่ยนรถ ในเมืองจะมีมาตรการจำกัดปริมาณรถหรือไม่ หรือมีมาตรการบ่งชี้่ ว่าฝุ่นมาจากไหน หรือมาจากใคร เพื่อให้การจัดการง่ายขึ้น โดยเฉพาะในระดับจังหวัด หรือภาคการเกษตร พวกชีวมวล นำไปใช้ประโยชน์ผลิตไฟฟ้า ซึ่งภาคเอกชนน่าจะมีส่วนช่วยส่วนนี้ได้  เราได้คุยกับภาคธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ ที่จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าเกษตร แต่เราจะมีมาตรการได้ไหม ในการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของสินค้าเกษตรว่ามีการเผา หรือทำให้เกิดฝุ่นพิษหรือไม่ โดยอาจมีมาตรการเพิ่มแรงจูงใจ หากปลูกโดยไม่เผา เหมือนที่สิงคโปร์ใช้กับสินค้านำเข้าจากอินโดนีเซีย ซึ่งมาตรการ เหล่านี้ อาจเป็นได้ทั้งทางลบหรือทางบวกได้ทั้งนั้น แต่ทั้งหมดเพื่อควบคุมการเผา และการเกิดฝุ่นพิษ  รวมทั้งต้องสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน ที่สำคัญระบบราชการก็ต้องเข้มแข็งมากกว่านี้ด้วยช่นกัน"อธิบดีกรมควบคุมมลพิษกล่าว

นายกิตติพันธุ์ จันทาศรี ผอ.กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร  กล่าวว่า การเผาแม้จะมีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่การเกษตร  แต่กรมฯก็มีโครงการส่งเสริมการหยุดเผา ซึ่งพบว่ามีพื้นที่ที่มีการเผา ภาคเหนิอ 17 จังหวัด ภาคกลาง  10 จังหวัด  ภาคตะวันออก 8 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20จังหวัด  โดยเฉพาะภาคอีสาน ที่มีพื้นปลูกอ้อยมาก ซึ่งpm 2.5 ส่วนหนึ่งมาจากการเผาอ้อย  ภาคตะวันตกมี 7 จังหวัด มีแค่ 14จังหวัด ภาคใต้ และสมุทรสงครามรวมเป็น 15 จังหวัด เท่านั้นที่ไม่มีปัญหาการเผา

 ในแง่สถิติการเผาในพื้นที่เกษตร 3ปีย้อนหลัง หรือตั้งแต่ปี 2564-2566 ในปี 65 พบว่าจุดฮอตสปอตพื้นที่การเกษตร ลดลงจากปี64 อัตรา 32 % แต่ถ้าเทียบจากม.ค.ปี66 การเผาเพิ่้มขึ้นจากปี 65  จำนวน 20% และถ้าเทียบจากเดือนก.พ.ปี 66 ที่ผ่านมา กับชวงเดียวกันของปี65  พบว่าการเผาเพิ่มขึ้น  66% ทั้งที่เมื่อปี65 ลดลงจากปี 64 ถึง 60%
"แม้ที่ผ่านมาเราพยายามสร้างการรับรู้ให้เกษตรกร เห็นข้อดีข้อเสียของการเผา กับ การไม่เผา ถ้าเผาเป็นการทำลายโครงสร้างดิน ทำให้สภาพดินไม่ดี ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น  ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น และเรายังแนะเศษวัสดุ ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น  สร้างเครือข่าย ใช้วัสดุการเกษตร และปีนี้เรารณรงค์หยุดเผา 5จุด แม้ว่าน้อย แต่ก็เป็นไปตามงบประมาณ ที่ได้รับ" นายกิตติพันธุ์ กล่าว

ดร.วิษณุ   อรรถวานิช  อาจารย์เศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์  นำเสนอ ผลจากการทำวิจัย เรื่อง "ต้นทุนของสังคมไทยจากมลพิษทางอากาศและแนวทางแก่ไขด้วยความร่วมมือจากภาคธุรกิจไทย "ว่าการเกิดฝุ่นพิษ มองในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือความสูญเสียหลายด้าน  ทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาปัญหาสุขภาพ สูญเสียโอกาสในการทำงาน ทั้งคนป่วยและคนดูแล สูญเสียร่างกายที่แข็งแรงจากการสะสมมลพิษ สูญเสียค่าใช้จ่ายซื้อหน้ากากอนามัย หรือเครื่องฟอกอากาศ และสูญเสียความสุข แม้จะวัดได้ยาก แต่สังเกตุได้ว่า ะในวันที่อากาศไม่ดีคนจะไม่มีความสุข  

ดร.วิษณุ   อรรถวานิช  อาจารย์เศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสต(ซ้าย)

ทั้งนี้ ผลวิจัยที่ใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงสิ่งแวดล้อม ประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินออกมา พบว่า เฉพาะในมิติครัวเรือนไทย ในปี 62 มีมูลค่าความเสียหายจากPM 2.5 จำนวน 2.173 ล้านล้านบาท/ปี  หรือประมาณ 9% ของจีดีพี  แบ่งตามจังหวัดที่มีฝุ่นพิษสูง กรุงเทพ ฯ 463,330 ล้านบาท/ปี ชลบุรี 802,119 ล้านบาท /ปี นครราชสีมา 70,356 ล้านบาท/ปี ขอนแก่น 56,466 ล้านบาท /ปี

ผลกระทบเชิงธุรกิจ ในแง่ผลิตภาพของพนักงาน หลายคนคิดว่าคนที่ทำงานนอกอาคารคือคนที่จะได้รับผลกระทบจากPM2.5 มาก แต่จริงๆแล้ว งานวิจัยพบว่าคนทำงานในออฟฟิสได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยพบว่า PM2.5 ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เทียบกับในวันที่อากาศดี มีผลวิจัยยืนยันว่าคนทำงานจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาฝุ่นยังเกี่ยวข้องกับการลาออกของพนักงาน   หรือการบริโภคของคน ในวันที่ฝุ่นเยอะการบริโภคจขงอคนจะลดลง  คนจะออกนอกบ้านไปจับจ่ายใช้สอยน้อยลง  สิ่งเหล่านี้ จึงกระทบในเชิงธุรกิจ หรือแม้แต่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ถ้าอยู่ในทำเลที่มีค่าฝุ่นมาก ทั้งราคาขายและราคาเช่าจะไม่สามารถปรับขึ้นได้


แนวทางแก้ปัญหา ดร.วิษณุ เสนอเว่า  ในภาคยานยนต์ พบว่าเรามีรถยนต์เก่าเยอะมาก โดยรถยนต์  7 ที่นั่ง ที่มีอายุ   10  ปีหรืออายุ 20 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่สัดส่วนและปริมาณ  โดยเฉพาะรถบรรทุกอายุ 20ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด ทางแก้ต้องแก้ที่โครงสร้างภาษี ปัจจุบันรถยิ่งเก่า ยิ่งเสียภาษีถูกลง สวนทางกับต่างประเทศถ้ารถยิ่งเก่ายิ่งถูกเก็บภาษีแพง  อีกทั้ง จะต้องมีมาตรการเข้มงวดเรื่องรถเก่าให้มากขึ้น ทำอย่างไร  ถึงจะระบายรถเก่าให้มากที่สุด

ในด้านมาตรการภารเกษตร  ถือว่า อ้อยเป็นผลิตผลเกษตร  ที่มีมาตรการแก้ปัญหาฝุ่นที่ชัดเจนที่สุด โดยครม.มีมติ ใช้งบแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แต่ในข้าว หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  กลับไม่มีมาตรการที่เจาะจงเป็นรูปธรรมในการลดการเผา จึงต้องมีมาตรการเข้าไปในพืชสองชนิดนี้ด้วย อาจเป็นแรงจูงใจ  แปลงเงินที่รัฐอุดหนุนกโดยการประกันรายได้ภาคเกษตรปีละแสนล้าน แต่คาดว่าจะมีเงินเจียดเพื่อลดฝุ่นเพียงประมาณ  100 ล้าน หรือแค่พันล้านเท่านั้น เปลี่ยนรูปแบบการให้เงินช่วยหลือเยียวยาแบบให้เปล่า มาเป็นการให้แบบมีเงื่อนไข ต้องลดการเผาลง หรือนำเงินส่วนนี้มาช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อลดการเผา ก็จะเป็นอีกแนวทางที่แก้ปัญหาได้

"อย่าลืมว่ามาตรการขอความร่วมมือที่ผ่านมา ไม่ได้ผล เพราะการปรับตัวทุกอย่างมีต้นทุนทั้งในด้านการเงิน และองค์ความรู้ คิดว่าเกษตรกรจะปรับตัวจากการปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น มันไม่ง่ายเลย เราต้องให้เงินช่วยเหลือก่อนอย่างน้อย  2-3 ปี เพื่อไม่ให้เขาเผา แต่ถ้ายังเผาอีก ก็จะต้องถูกปรับ"ดร.วิษณุ กล่าว

การแกัที่ภาคการเกษตรยังไม่หมด ดร.วิษณุ เสนออีกว่า  ระหว่างทางให้เงินช่วยแบบมีเงื่อนไขแบบลดการเผา จะต้องส่งเสริมเกษตรกรในเรื่องการเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตร   เช่น อาจทำโครงการเช่าเครื่องจักรกระจายตัวไปทั่วประเทศ  เพื่อให้เกษตรกรจะได้เข้าถึงเครื่องจักรได้ง่ายขึ้น และลดต้นทุนส่วนนี้  เพราะบางครั้งแม้เกษตรกรไม่อยากเผา แต่พอไม่มีเครื่องจักร ก็จำเป็นต้องใช้วิธีการเผาแก้ปัญหา  รวมท้้ง ต้องส่งเสริมให้ใช้เศษวัสดุไปทำประโยชน์อื่นๆ  ส่วนนี้น่าจะให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุน  เพราะถ้าเราสามารถทำให้เศษวัสดุภารเกษตรมีคุณค่า มีราคา ก็คงไม่มีใครอยากเผาเงิน

อีกประเด็นที่สำคัญมากคือ ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ ประเทศไทยส่งออกเมล็ดข้าวโพดไปพม่าเยอะมาก และหลังจากเรามีวาระฝุ่นแห่งชาติ ก็มีการย้ายการปลูกไปที่พม่า ทำให้เราต้องก็นำเข้าเมล็ดข้าวโพดจากพม่าเยอะมากขึ้นทุกปี ในปี 65มีมูลค่าถึง 1.4   หมื่นล้านบาท  ซึ่งเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นมาตลอด  แต่ขณะเดียวกัน มลพิษก็เวียนกลับมาหาเรา เพราะการเผาของประเทศเพื่อนบ้านที่ปลูกข้าวโพด ซึ่งเราจึงต้องหาทางแก้ปัญหาส่วนนี้ด้วยเช่นกัน รวมทั้ง มาตรการเกี่ยวกับอ้อย ที่ไม่ลดการเผา ทั้งที่มีมติครม. ใช้เงินงบประมาณแก้ปัญหา และงบฯเพิ่มขึ้นตลอดโดยปี 66 เพิ่มอีก 5 พันล้านบาท แต่ปรากฎว่าการเผากลับเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่ามาตรการที่ใช้อาจไมได้ผล  นอกจากนี้ ในภาคป่าไม้ ต้องทำเช่นเดียวก้บภาคเกษตร คือ ให้เงินช่วยเหลือ แบบมีเงื่อนไข เพื่อให้เกษตรกรมีปรับตัว พร้อมกับต้องให้องค์ความรู้ในการปรับตัวในเวลาเดียวกันด้วย


"การแก้ปัญหาต้องไม่ใช่บอกขอความร่วมมือ  ไม่ใช่บอกว่าห้ามเผา ถ้าทำแบบนี้ จะทำให้เกิดความบาดหมางกับชาวบ้านมากขึ้น   เพราะวิถีของขาวบ้าน ต้องเริ่มจากไม้อ่อน ทำความเข่้าใจ  แต่ถ้าไม่ได้ผลก็ต้องใช้ไม้แข็ง ที่สำคัญใช้มาตรการจูงใจเชิงเศรษฐศาสตร์ให้มากขึ้น  หรือที่เรียกว่าการให้ค่าตอบแทนเชิงระบบนิเวศคนเมืองได้ประโยชน์จากคนที่ดูและระบบนิเวศ แต่คนดูแลได้อะไร จึงต้องมีค่าตอบแทน ให้ค่าเสียโอกาส  เพื่อให้win win ท้ั้งคู่ "

ในภาคอุตสาหกรรม ดร.วิษณุ เสนอว่า ต้องมีการติดตั้งเครื่องตรวจวัดมลพิษที่ปลายปล่องทุกโรงงาน ปัจจุบันมีเพียง  800 โรงที่ติด แต่จริงๆโรงงานอีกเป็นหมื่นโรง ส่วนใหญ่โรงจนาดกลาง ขนาดเล็ก เข้าไม่ถึงการตรวจวัด ในต่างประเทศ มีทำเนียบการปลดปล่อยและการวัดมลพิษ ทุกชุมชนต้องเข้าถึงข้อมูลโรงงานในละแวกที่อยู่อาศัยตัวเองได้  

จักรวาล เพิ่มญาณวรรธนะ   จากไออาร์พีซี ยืนยันว่าประเทศไทยจะมีการใช้น้ำมันมาตรฐาน EURO-5 ในวันที่ 1 ม.ค.2567 เพื่อลดปัญหาPM2.5 

จักรวาล เพิ่มญาณวรรธนะ  ผู้ชำนาญการฝ่ายแผนกกลยุทธิ์และความยั่งยืน บริษัท ไออาร์พีซี  จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในแง่ธุรกิจของไออาร์พีซี ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ แต่ในวันที่  1 มกราคม  2567 ผลิตภัณฑ์ของไออาร์พีซี ในส่วนที่เป็นน้ำมัน จะเปลี่ยนเป็นมาตรฐานยูโร 5 ทั้งหมด เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยในภาคโรงกลั่นเราได้วางแผนเป็นเวลา 15 เดือน เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรกลในการกลั่นน้ำมันให้ได้คุณภาพยูโร 5 โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อปลายเดือนธันวาคมปี 65 และคาดว่าจะเสร็จปลายปีนี้  นอกจากนี้ ในส่วนผลิตภัณฑ์ที่เป็นปิโตรเคมีของไออาร์พีซี ก็จะเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคาร์บอนต่ำ  เพื่อเป็นไปตาม นโยบายการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ในปี 2065 ปรับคาร์บอนเป็นกลางในปี 2050  เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศ ส่งมอบอากาศที่บริสุทธิ์ให้แก่สังคม

ชูโชค ศิวะคุณากร

นายชูโชค ศิวะคุณากร Head of Environmental Social Governance and Business Stakeholder Engagement บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า SCG ในฐานะของตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ตระหนักถึงปัญหาในจุดนี้ โดยในปัจจุบันผลกระทบที่เกิดจากอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ได้แก่ ของเสียที่เกิดจากกระบวนการทำงาน เช่น วัสดุเหลือใช้จากงานก่อสร้าง หรือ ช่องว่างเกี่ยวกับมาตรฐานการก่อสร้าง โดยเฉพาะในกลุ่มกลาง – เล็ก ซึ่งในส่วนนี้ SCG มองว่าการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และ ดิจิทัล ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง จะสามารถช่วยบรรเทา หรือ ลดปัญหาของเสียดังกล่าวได้ เช่น เลือกการก่อสร้าง , การทำงานแบบ Modularity  การทำชิ้นส่วนงานในระบบปิด จะช่วยลดของเสียส่วนเกินและลดปัญหาฝุ่น ลดระยะเวลา และ คุณภาพของงาน, การนำ BIM เข้ามาช่วยในการเชื่อมโยงการทำงานตลอดกระบวนการ, การนำนวัตกรรม 3D Printing มาใช้เพื่อลดเศษวัสดุ และ สุดท้าย คือ การยกระดับความรู้ ความสามารถของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกส่วนในกระบวนการก่อสร้าง ซึ่งนอกจากจะได้ร่วมยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยแล้ว เรายังสามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและดูแลโลกของเราได้อีกด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันปลอดแหก! ดร.ปลอดฯ ออกตัวไม่ได้ตำหนิทหาร ชี้เครื่องบิน U-2 ควรเข้าสำรวจภูมิอากาศ 10 ปีที่แล้ว

เรื่องนี้ควรจะได้เริ่มเมื่อ 10กว่าปีที่แล้ว  ก็ดันปอดแหก มองการณ์ใกล้ วิสัยทัศน์ไม่มี แต่ก็ยังดีมาเกิดตอนนี้ คงต้องขอบใจรมต.กลาโหม (พลเรือน)

'พัชรวาท' บอก ค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่ง คืนวานมาจากประเทศเพื่อนบ้าน

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางด้วยรถกอล์ฟ จากตึกบัญชาการมาประชุม

มาแล้ว! ‘ผู้เชี่ยวชาญไฟป่า’ สอน ‘พิธา’ พูดธนาคารน้ำ-เหยี่ยวไฟ ดับไฟป่าการ์ตูนไปนิด

ผมน่ะเชี่ยวชาญเรื่องไฟป่ากว่าคุณพิธาแน่นอน คุณพิธาพูดเรื่อง Timeline ของการเกิดไฟป่าในประเทศไทย พูดเรื่องการหาน้ำ หาคนมาดับไฟป่า

จุ้น! เมินประกาศฉุกเฉินฝุ่นพิษเชียงใหม่ ศอกกลับ 'พิธา' รัฐบาลมีงบฯมากองให้ทำงานแล้ว

นายกฯ ยัน ยังไม่ประกาศเชียงใหม่เป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ฝุ่น PM 2.5 ย้ำรัฐบาลอนุมัติงบประมาณ แก้ปัญหา ไม่ย่อท้อ พยายามทำต่อไป