เปิดแผน'หอศิลป์แห่งชาติ' พัฒนาศิลปะร่วมสมัย เชื่อมเศรษฐกิจ

หอศิลป์แห่งชาติแห่งใหม่ที่ตั้งโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ข้างศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ย่านรัชดา เปิดพื้นที่สู่การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรรมของไทยและอาเซียนให้กับประชาขน มีโปรแกรมศิลปะ นิทรรศการที่นำผลงานศิลปะร่วมสมัยระดับมาสเตอร์พีซมาจัดแสดงเป็นระยะ

ศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมใจกลางเมือง

ความคืบหน้าโครงการพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ให้เป็นพื้นที่บริการทางวัฒนธรรมระดับนานาชาติ นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะรองโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า โครงการพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยเริ่มตั้งแต่ปี 2550 และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การสร้างสรรค์และการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนเปิดพื้นที่สำหรับจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยระดับชาติและนานาชาติ เป็นแหล่งนัดพบระหว่างศิลปินแขนงต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ได้เข้ามาใช้พื้นที่จัดแสดงผลงาน และเป็นพื้นที่สำหรับสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยหลากหลายรูปแบบระยะที่ 1 ประกอบด้วย การก่อสร้างอาคารที่ทำการ วธ. และอาคารหอศิลป์แห่งชาติ ระยะที่ 2 คือ โรงละคร Super Theatre โรงละครแบบ Black Box Theatre ห้องประชุมย่อย และห้อง Workshop ด้านวัฒนธรรม ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องประชุมสัมมนา และศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมและลานวัฒนธรรมกึ่งภายนอก

หอศิลป์แห่งชาติออกแบบโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์

สำหรับการการดำเนินการระยะที่ 1 ได้ก่อสร้างหอศิลป์แห่งชาติแล้วเสร็จเมื่อปี 2563 ตัวอาคาร 3 ชั้น ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 19,000 ตารางเมตร โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย มีการบริหารจัดการและจ้างตกแต่งภายในอาคาร พร้อมครุภัณฑ์ประจำอาคาร สิ่งอำนวยความสะดวกภายใน ในขณะเดียวกันได้ศึกษารูปแบบและแนวทางการบริหารงานหอศิลป์แห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเมื่อปี 2564 ได้ตกแต่งภายในอาคารหอศิลป์แห่งชาติ พร้อมครุภัณฑ์เครื่องมือ การออกแบบองค์ประกอบเรขศิลป์ต่างๆ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกแล้วเสร็จเมื่อพฤษภาคม ปี 2564 

จัดแสดงผลงานประติมากรรม “เรือรักของแม่” 

หลังจากปรับปรุงภูมิทัศน์ทั้งภายในและภายนอกอาคารแล้ว นางสาวฐิต์ณัฐ  กล่าวว่า ในช่วงปี 2565 วธ. ได้ใช้พื้นที่ทั้งจัดกิจกรรมด้านศิลปะหลากหลายรูปแบบ มีกิจกรรม “ดื่มกาแฟแลงานศิลป์” เพื่อสร้างการรับรู้ในเรื่องพื้นที่กิจกรรม และการเข้าถึงของประชาชนในพื้นที่หอศิลป์แห่งชาติ โดยเชิญศิลปินร่วมสมัย นายวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ผู้สร้างสรรค์ประติมากรรมสุนัข “ไอ้จุด” และ น.ส.ลูกปลิว จันทร์พุดซา ศิลปินผู้สร้างสรรค์ประติมากรรม “เรือรักของแม่” มาจัดแสดง ณ ลานกลางแจ้ง หอศิลป์ฯ  ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก

ประติมากรรมสุนัข”ไอ้จุด” จัดแสดงลานกลางแจ้งหอศิลป์แห่งชาติ

นอกจากนี้ มีการจัด “นิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้ของผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย”ผลงานสะสมปี พ.ศ. 2565 (2022 Acquisitions Office of Contemporary Art and Culture) ณ ห้องนิทรรศการ 4 ชั้น 1 จัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยกว่า 79 ชิ้น จาก 20 ชุดผลงาน ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินร่วมสมัย 16 คน  ที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ 16 คน เป็นที่สนใจของคนรักงานศิลปะที่ได้เห็นผลงานเหล่านี้ นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับหอศิลป์แห่งชาติ ณ ลานวัฒนธรรมสร้างสุข  จัดเทศกาลดนตรี Ministry of Culture Music Festival : Summer Hit Songs และกิจกรรมเรียนรู้ดูหอศิลป์ของกลุ่มเด็กและเยาวชนอีกด้วย

พัฒนาพื้นที่ด้วยนิทรรศการผลงานศิลปะร่วมสมัย

เมื่อพูดถึงแผนการพัฒนาหอศิลป์แห่งชาติปี 2566 -2567 ผู้ช่วยปลัด วธ. กล่าวว่า วธ. ได้จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากรัฐบาลในการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ และแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมระดับชาติและนานาชาติอย่างเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น โดยมีแผนจัดกิจกรรม อาทิ พิธีเปิดหอศิลป์แห่งชาติ การจัดนิทรรศการผลงานศิลปะร่วมสมัยกว่า 6 นิทรรศการ การจัดแสดงผลงานศิลปะ Multimedia Art ผลงานจากศิลปินไทยและต่างประเทศ การเสวนาทางวิชาการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมประชาสัมพันธ์พื้นที่หอศิลป์แห่งชาติ เพื่อสร้างการรับรู้แก่ประชาชนทั้งในและต่างประเทศ 

หมุดหมายใหม่จัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย พร้อมภัณฑารักษ์ที่มีความรู้

ในขณะที่แผนพัฒนาบุคลากรรองรับหอศิลป์แห่งชาติ  รองโฆษก วธ. ระบุเตรียมจัดฝึกอบรมบุคลากร โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาถ่ายทอดความรู้ ได้แก่ ภัณฑารักษ์ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดแสดงผลงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการระดมทุน ผู้เชี่ยวชาญด้านการคิด Content และนิทรรศการศิลปะ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเสียง และ Acoustic Facility Manager เป็นต้น ซึ่งทุกกิจกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อพัฒนาหอศิลป์แห่งชาติให้พร้อมให้บริการอย่างสมบูรณ์แบบ และเปิดพื้นที่ให้กลุ่มศิลปินแขนงต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศได้เข้ามาใช้พื้นที่จัดแสดงผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้งานศิลปะ ได้สร้างสุนทรียศาสตร์ สร้างความรู้ สร้างจินตนาการ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน นำไปสู่การสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคม และเกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตามรอยสังเวชนียสถาน แดนพุทธภูมิอันศักดิ์สิทธิ์

เดินทางข้ามพรมแดนไปลุมพินี 1 ใน 4 สังเวชนียสถานที่เนปาล   พระภิกษุและผู้แสวงบุญเข้าสักการะภายในวิหารมายาเทวึ สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ  รอยพระบาทแรกของพระพุทธเจ้าประทับ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาตรัสรู้เป็นพระศาสดาของศาสนาพุทธ

ประชันเดี่ยวระนาดเอกครั้งประวัติศาสตร์ ค้นหาสุดยอดเยาวชนดนตรีไทยสู่มืออาชีพ ตามรอยขุนอิน 20 ปี โหมโรง

19 มี.ค.2567 - เวลา 14.00 น .กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับอาจารย์ขุนอิน ณรงค์ โตสง่า หรือ “ขุนอิน โหมโรง” ผู้บริหาร บริษัทขุนอิน โชว์ จำกัด และ KK Riverside Resort ที่พักพูลวิลล่า แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

พลังศรัทธาชาวใต้ สักการะพระบรมสารีริกธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจากสาธารณรัฐอินเดียอัญเชิญประดิษฐานชั่วคราวภายในวิหารมณฑป ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล หรือที่ชาวกระบี่เรียกว่า “วัดบางโทง” ด้วยริ้วขบวนอัญเชิญอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา

‘เสริมศักดิ์’บูรณาการ 33 หน่วยงาน เคาะ 10 แนวทางจัดมหาสงกรานต์ 67 “มหาสงกรานต์เย็นทั่วหล้าทั่วไทย สู่ความภูมิใจระดับโลก” เน้นอัตลักษณ์ประเพณีสงกรานต์มรดกโลก

11 มี.ค. 2567 เวลา 14.00 น. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พาณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบูรณาการกำหนดแนวทางการจัดงานสงกรานต์ พุทธศักราช 2567 โดยมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร

‘เบิร์ด ธงไชย’ ซึ้ง! เผยความในใจผูกพันหอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรม จัดคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด 130 รอบ

ความรู้สึกเหมือนได้กลับมาบ้านหลังใหญ่อันอบอุ่นและสถานที่ที่คุ้นเคย เพราะชื่อของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดอยู่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยมายาวนานกว่า 16 ปี

วธ. เผย 'ในหลวง' เสด็จฯสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุจากอินเดีย 26 ก.พ.นี้

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) พร้อมด้วย H.E. Mr. Nagesh Singh เอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย และนายสุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 พร้อมนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดวธ.