'ถึงเวลาโกโก้ไทยไปไกลระดับโลก'เอสเอ็มอี-จุฬาฯช่วยกันผลักดัน

หลายปีที่ผ่านมาเกษตรกรไทยหันมาสนใจปลูกโกโก้กันมากขึ้นเพราะโก้โก้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงมีตลาดนำเข้าขนาดใหญ่มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และโกโก้ไทยมีรสชาติดีเป็นที่ต้องการของบริษัทผู้ผลิต อย่างไรก็ตาม ไทยยังผลิตโกโก้ได้น้อยและต้องนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ เพราะเกษตรกรไทยเไม่มีความรู้ในการเพาะปลูกมากนักพันธุ์ที่ปลูกยังไม่เหมาะสมกับพื้นที่  ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ  มีการขายกล้าพันธุ์แต่หาตลาดไม่ได้ ไม่มีคนรับซื้อผลผลิตจึงล้นตลาดและราคาตกต่ำ

เพราะความรู้ในการเพาะปลูกและการพัฒนาพันธุ์ให้เมล็ดขนาดใหญ่ เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างให้ โกโก้ไทยมีคุณภาพดี มีมาตรฐาน กลายเป็นที่ต้องการ และขายได้ราคาดีกาดโกโก้  ทำให้ บริษัท กาดโกโก้ บริษัทของคนไทย ที่มี ปณิธิ และณัฐญา ชุณหสวัสดิกุล สองสามีภรรยาเป็นเจ้าของ  ได้ผันตนเองจากนักกฎหมาย มาทำงานกับเกษตรกรปลูกโกโก้ด้วยใจรักอย่างจริงจังจัง ถึงขนาดเเข้ารับการอบรมเรียนรู้และสอบผ่านการเป็นผู้คัดเกรดตามมาตรฐาน Fine Cacao andChocolate Institute (FCCI) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นคนไทยสองคนแรกที่ได้รับการรับรองให้เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดโกโก้จากสถาบัน Fine Cacao and ChocolcatInstitute (a unit of Harvard University), San Francisco,U.S.A.นอกจากนี้ ทั้งสองคนยังได้ เรียนรู้และฝึกงานกับ Dr. Nat Bletter ที่ฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา หนึ่งในผู้เชี่ยวซาญด้านช็อกโกแลตระดับโลกรวมทั้งยังเคยเป็นผู้ตัดสินในการแข่งขันช็อกโกแลต สถาบัน Academy ofChocolate, London, U.K. 2019

บรรยากาศการสัมมนา


“เราสองคนที่กำลังมองหากิจกรรมหลังเกษียณ โดยความตั้งใจแรกอยากหาที่ดินทำการเกษตร และบังเอิญเจอเพื่อนบ้านเป็นเกษตรกรปลูกโกโก้ จึงสนใจอยากปลูกบ้าง และเริ่มคิดจะหัดทำ ช็อกโกแลตและหาความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปจากเมล็ดสดสูช็อกโกแลตอย่างจริงจัง “ปณิธ เล่าถึงแรงบันดาลใจในการพัฒนาโกโก้และช็อกโกแลตไทย

เมื่อเริ่มทำช็อกโกแลตอย่างจริงจัง พบว่า เมล็ดโกโก้ไทยมีรสชาติที่แตกต่างจากเมล็ดโกโก้จากประเทศอื่นในอุตสาหกรรม  craft chocolate และกาดโกโก้เป้นเจ้าแรกที่ได้ส่งเมล็ดโกโก้ไทยในรูปช็อกโกแลตเข้าประกวดระดับโลก เพื่อให้ตลาดโลก รับทราบว่าประเทศไทยก็ปลูกโกโก้เช่นกัน และการได้รับรางวัล Gold Award สำหรับโกโก้ที่ปลูกจากจังหวัดชุมพรและ ประจวบคีรีข้นธ์ Silver Award สำหรับโกโก้ที่ปลูกจากจังหวัด จันทบุรี และ Bronze Award สำหรับโกโก้ที่ปลูกจากจังหวัดเชียงใหม่ จากสถาบัน Agency for the Valorization of Agricultural Products (AVPA) ประเทศฝรั่งเศสนั้น เป็นเครื่อง ยืนยันว่าเมล็ดโกโก้ไทยมีอนาคตในตลาดโลกอย่างแน่นอน

ปณิธิ ชุณหสวัสดิกุล

หลังการทำงานกับเกษตรกรมาระยะหนึ่ง สองสามีภรรยา ก็ตระหนักดีว่า“หากช่วยให้เกษตรกรมีความรู้ในการเพาะปลูก ปลูกได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีจะทำให้เกษตรกรขายได้ราคาดี เพราะผู้รับซื้อต้องการ ส่วนบริษัทกาดโกโก้ก็ได้วัตถุดิบคุณภาพดี ทำให้เราสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี ได้มาตรฐานระดับโลก

“ผมเชื่อว่า หากเกษตรกรปลูกและขายเมล็ดโกโก้คุณภาพดีเกษตรกรจะสามารถพลิกชีวิตตัวเองได้อย่างแน่นอนเพราะเมล็ดโกโก้ที่ได้มาตรฐานจะขายได้ราคาที่สูงขึ้น” ปณิธิ บอกมุมมองของเขา

ด้วยวิสัยทัศน์ ให้ความรู้ที่ถูกต้องกับเกษตรกรพัฒนาเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพดีกาดโกโก้จึงร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน(ISTC) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางให้ความรู้กับเกษตรกรในการเพาะปลูกโกโก้ และมุ่งพัฒนาเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพเพื่อส่งต่อให้ผู้ผลิตนำไปผลิตเป็นสินค้าคุณภาพดีระดับโลก  
ปณิธิ กล่าวว่า บทบาทของบริษัท กาดโกโก้ ที่ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการก่อตั้ง ISTC นี้นับเป็นก้าวแรกของกาดโกโก้ที่จะเริ่มเส้นทางการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และเป็นระดับโลกมากขึ้น เพราะกาดโกโก้จะแน่ใจว่าวัตถุดิบในทั้งสายการผลิตจะเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาตรฐานเมื่อผ่านองค์ความรู้และความชำนาญของกาดโกโก้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของกาดโกโก้จึงเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพดี มาตรฐานโลก

 “เมื่อกาดโกโก้ทำงานกับ ISTCแล้วทำให้เรามั่นใจอย่างมากว่า ณ ตอนนี้ เราพร้อมแล้วที่จะก้าวไปสู่ระดับโลกในฐานะช็อกโกแลตไทยในฐานะช็อกโกแลตยอดนิยมระดับโลก”ปณิธิ กล่าวย้ำ

ปณิธิบอกอีกว่า การร่วมมือกับศูนย์ISTC ไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายแต่เป็นก้าวแรกของวิสัยทัศน์ของกาดโกโก้ที่จะนำพาบริษัทไปสู่ความยั่งยืนระดับโลก เพราะโกโก้เป็นพืชที่เหมาะกับความยั่งยืนอย่างมาก  สามารถใช้ประโยชน์ได้จนหมดทั้งต้น สอดคล้องกับหลักการ zero waste  นอกจากนี้ โกโก้เป็นไม้ยืนต้น  ในอนาคต”กาดโกโก้”จึงพร้อมผลักดันให้ต้นโกโก้เป็นพืชที่สามารถปลูกเป็นไม้ป่าทดแทนเพื่อขอรับ carbon credit ได้


นอกจากนี้ การผลิตช็อกโกแลตของกาดโกโก้ ยังเป็นไปในแนวทางรักษาไว้ซึ่งความยั่งยืนทุกขั้นตอนการผลิต โดยกาดโกโก้จะทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรทำให้ โกโก้ของบริษัท ไม่เป็นผลิตภัณธ์ที่มาจากพื้นที่รุกหรือถากถางป่า (deforestation)อย่างเด็ดขาด เพื่อสอดคล้องกับมาตรฐานของ European Green Dealและในอนาคตผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของกาดโกโก้จะยืนคู่กับการรักษาธรรมชาติโดยมีฉลากคาร์บอนที่ชัดเจน

ในความเป็น”กาดโกโก้” ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตเจ้าแรกของไทย เริ่มสาขาแรกที่ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 17 เป็น Thai Craft Chocolate Shop นอกจากนี้ กาดโกโก้ได้สนับสนุน การนำโกโก้ไปเป็นส่วนหนึ่งของอาหารคาว โดยสนับสนุนเชฟรุ่นใหม่ชาวไทยนำโกโก้ไทยไปแข่งขันที่ Bocuse d’Or ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเชฟทีมไทยได้รับรางวัลอันดับท๊อป 15 จึงตัดสินใจสนับสนุนเชฟรุ่นใหม่ด้วยการเปิดสาขาที่สองของ กาดโกโก้ คือ Kad Kokoa Cacao Bistro สุขุมวิท 31 และเพื่อตอบสนองแฟนๆ ช็อกโกแลตของกาโกโก้แถวห้าง Emporium และมีร้าน Kad Kokoa Chocolate Cafe สุขุมวิท 24 และโครงการ Velaa ถนนหลังสวน เร็วๆ นี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลช่วย SME ไทย เข้าถึงแหล่งเงินทุน ผ่านมหกรรมทรัพย์หลักประกันทางธุรกิจ

รัฐบาลบูรณาการความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับ SME ไทย ผ่านการจัดงานมหกรรมทรัพย์หลักประกันทางธุรกิจ

รมว.อุตฯ เร่งยกระดับโกโก้ไทย แปรรูปสู่สินค้าพรีเมียมระดับโลก

"พิมพ์ภัทรา" สั่งการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เร่งยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมโกโก้สู่การเป็นไทยโกโก้ฮับ (THAI COCOA HUB) ของอาเซียน

เริ่มแล้ววันนี้! บสย. ผนึก ออมสิน ช่วย SMEs รายย่อยแก้หนี้นอกระบบ

เริ่มแล้ววันนี้ ! บสย. ผนึก ธนาคารออมสิน พร้อมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล แก้หนี้นอกระบบ ช่วยผู้ค้ารายย่อยอาชีพอิสระกลุ่มหนี้นอกระบบ วงเงินค้ำสูงสุด 200,000 บาทต่อราย ระยะเวลาค้ำสูงสุด10 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียม 2 ปีแรก

เอสเอ็มอี หนุน “พิพัฒน์” ขึ้นค่าแรงตามระบบเศรษฐกิจและชวนผู้ประกอบการ upskill แรงงาน เพิ่มรายได้ทั่วประเทศ

วันที่ 30 ตุลาคม 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ นายแสงชัย ธีรกุลวานิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และคณะ ในโอกาสเข้าพบเพื่อแนะนำสมาพันธ์ฯ