
20 มิ.ย. 2566- นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายรณภพ ปัทมะดิษ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ดร.ปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และ ก.พ. เพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข
นพ.โอภาสกล่าวว่า ปัจจุบันภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพิ่มขึ้นมาก ทั้งจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุ การให้บริการผู้ป่วยยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายยาเสพติด ที่กำหนดให้การบำบัดดูแลผู้ติดยาเสพติดเป็นบทบาทหน้าที่หลักของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีมากถึง 1 ล้านคน การถ่ายโอน รพ.สต. ที่พบปัญหาว่าบางแห่งยังไม่สามารถจัดบริการตามที่ประชาชนคาดหวังได้ ทำให้กลับมารับบริการที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้น รวมทั้งประชาชนก็มีความคาดหวังต่อรับบริการสาธารณสุขมากขึ้น ทั้งความครอบคลุมด้านสถานที่ คุณภาพ และห้วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งแม้กระทรวงจะเพิ่มบุคลากรสาธารณสุขมากขึ้น แต่ยังไม่ทันกับภาระงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่าต้องมีการวางแนวทางปฏิบัติ วิธีการและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อมาแก้ไขปัญหา
นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ที่ประชุมในวันนี้มีความก้าวหน้าสำคัญ คือ 1.เห็นชอบที่จะมีการเพิ่มตำแหน่งข้าราชการแต่ละวิชาชีพให้ได้ตามกรอบขั้นสูงที่กำหนด ภายในปี 2569 เช่น แพทย์ปัจจุบันมี 24,649 คน เพิ่มเป็น 35,578 คน พยาบาลปัจจุบันมี 116,038 คน เพิ่มเป็น 175,923 คน เป็นต้น 2.การดูแลเรื่องความก้าวหน้าในวิชาชีพ เช่น วิชาชีพพยาบาล ที่ไม่สามารถขึ้นเป็นระดับชำนาญการพิเศษได้เนื่องจากไม่ตรงตามข้อกำหนดในระเบียบ จะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันเพื่อดูเกณฑ์ที่ติดขัดว่าผ่อนปรนได้หรือไม่ 3.การจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอ โดยเฉพาะแพทย์ รวมทั้งจะเสนอแพทยสภาในการศึกษาต่อแพทย์ประจำบ้าน ให้เพิ่มการฝึกอบรมในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 48 แห่งของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นสถานฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านมากขึ้น เพื่อคงอัตรากำลังแพทย์ไว้ในพื้นที่ และเสนอ ก.พ. ไม่นับเป็นการลาศึกษาต่อ เนื่องจากเป็นการไปฝึกปฏิบัติงานในอีกหน่วยบริการหนึ่ง เพื่อให้ไม่เป็นข้อจำกัดในการเลื่อนขั้นเลื่อนระดับ
4.การจัดสรรแพทย์เพิ่มพูนทักษะ (แพทย์ใช้ทุนปี 1) ให้เพียงพอกับภาระงาน ซึ่งปัจจุบันกระทรวงฯ ได้รับจัดสรรไม่ถึง 70% จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ (Consortium) ขอรับการจัดสรรเพิ่มเป็น 85% และ 5.โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) พบว่าแพทย์คงอยู่ในระบบมากถึง 90% ดังนั้นจะขยายการผลิตให้ได้แพทย์ภาพรวมแต่ละปีประมาณ 2 พันคน ตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง 2 เรื่องนี้จะมีการเสนอกับแพทยสภาต่อไป โดยหลังจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข และ ก.พ. จะมีการตั้งคณะกรรมการในระดับปฏิบัติการ เพื่อร่วมกันทำงานในการแก้ไขปัญหา ข้อติดขัดต่างๆ ให้มีความคืบหน้าภายใน 30 วัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' แจงการระบาด 'โควิด' ช่วงเทศกาลสงกรานต์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 การระบาดในช่วงสงกรานต์
'สมศักดิ์' เปิดงานประชุมเบาหวานโลก ชี้สถานการณ์ NCDs น่าห่วง คาดปี 2588 ทั่วโลกอาจป่วยสูงถึง 800 ล้านคน
ที่ไบเทค บางนา นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่ากรกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชา
เล็งแก้ระเบียบกระทรวงสธ. เปิดทางให้หมอพื้นบ้านรับค่านวดรักษาได้
“สมศักดิ์” เล็งแก้ระเบียบกระทรวง เปิดทางให้หมอพื้นบ้านรับค่านวดรักษาได้ ชูนวดไทยเป็น 1 ในซอฟต์พาวเว
'อดีตเลขาฯแพทยสภา' กระตุกรุ่นน้อง จะได้รับการยอมรับจากสังคม อยู่ที่ผลสอบ 'ทักษิณ'
อดีตเลขาธิการแพทยสภา ได้กล่าว แสดงความเชื่อมั่นต่อ คณะกรรมการแพทยสภาชุดปัจจุบัน ว่า จะทำหน้าที่พิจารณาจริยธรรมของสมาชิกแพทย์ อย่างเที่ยงธรรม และยังคงทำหน้าที่ คุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน
เตือนระวังโรคหลอดเลือดสมองคร่าชีวิตคนไทยสูงอันดับ 2
รบ.เตือนประชาชนระวัง 'โรคหลอดเลือดสมอง' คร่าชีวิตคนไทยสูงกว่า 39,086 คน เป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็ง แนะมุ่งสร้างศักยภาพชุมชนเป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพ ด้วยแนวทางป้องกันดีกว่ารักษา
กมธ.สาธารณสุขเดือด! รุมสับประกันสังคม
'กมธ. สาธารณสุข' รุมสับ 'ประกันสังคม' ได้งบประมาณมากกว่า-รายจ่ายต่อหัวสูงกว่า 500 บาท แต่สิทธิประโยชน์ต่ำกว่า 'บัตรทอง' จี้โอนให้ 'สปสช.' ดูแลระบบประกันสุขภาพทั้งหมด