บัตรทอง นำร่องแจกชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง เปิดลงทะเบียนผ่านแอพ"เป๋าตัง"ขอชุดตรวจร้านขายยาใกล้บ้านได้

1 ก.ค.2566- นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมด้วย นพ.ไพบูลย์ เพ็ญสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัด เขต 7 ขอนแก่น, นพ.วัชระ เอี่ยมรัศมีกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพนมไพร /รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยผู้บริหารจากธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมเปิดโครงการนำร่องดึงร้านยา คลินิกการพยาบาลฯ ร่วมกระจายชุดเก็บสิ่งส่งตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง ดูแลหญิงไทยให้ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก ใน 4 จังหวัด เขต 7 ขอนแก่น ณ โรงพยาบาลพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด

นพ.จเด็จ กล่าวว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเอชพีวี รวมถึงมีการคัดกรองโรคและการรักษาที่มีประสิทธิผล แต่กลับยังเป็นโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตของผู้หญิงไทยจำนวนมาก ปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ราว 6,000 คนต่อปี และเสียชีวิตกว่า 2,000 รายต่อปี ทั้งนี้เพื่อดูแลหญิงไทยให้ห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูก ที่ผ่านมา สปสช. จึงได้มีการจัดสิทธิประโยชน์ดูแล นอกจากบริการฉีดวัคซีนเอชพีวีในกับเด็กนักเรียนหญิง ชั้น ป.5 ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังได้เพื่อเพิ่มบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่มีประสิทธิภาพให้กับหญิงไทยอายุ 30-59 ปี หรืออายุ 15-29 ปี ที่มีความเสี่ยง

โดยในปี 2563 บอร์ด สปสช. ได้อนุมัติให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA testing (เอชพีวี ดีเอ็นเอ เทส) ที่มีความแม่ยำสูง เป็นสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตรวจทุกๆ 5 ปี เพื่อทดแทนการตรวจด้วยวิธีแปปสเมียร์ (Pap smear) หรือ วีไอเอ (VIA) แต่ด้วยความไม่สะดวกในการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองที่หน่วยบริการ รวมถึงพฤติกรรมเขินอายที่จะเข้ารับบริการฯ บอร์ด สปสช.จึงได้อนุมัติให้ชุดเก็บสิ่งส่งตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง “HPV DNA Self Collection” (เอชพีวี ดีเอ็น เซล คอลเลคชัน) เป็นสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อเป็นทางเลือกในการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาหลายพื้นที่ได้เริ่มให้บริการแล้วการให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง self care จะมีผลในการลดความแออัดในการให้บริการของโรงพยาบาล ทั้งยังเป็นต้นแบบในการสร้างเสรืมสุขภาพและป้องกันโรค ที่ประชาชนและชุมชน จะมีส่วนร่วม เป็นต้นแบบในการจัดระบบบริการในโรคมะเร็งอื่น หรือโรคอื่นๆ ต่อไป

ด้าน นพ.ไพบูลย์ กล่าวว่า พื้นที่เขต 7 ขอนแก่น ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการเชิงรุก ปี 2565 เป็นพื้นที่มีผลงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด คือ 40,000 ราย โดยมีการกระจายชุดเก็บสิ่งส่งตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเองผ่านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่เป็นรูปแบบโมเดล 1 และในปี 2566 นี้ ได้มีการเพิ่มจุดการกระจายชุดเก็บสิ่งส่งตรวจมะเร็งปาดมดลูกด้วยตนเอง ที่นวัตกรรมหน่วยบริการปฐมภูมิด้วย อาทิ ร้านยา -(ชื่อ)ล้านยากองสุข

และคลินิกการพยาบาลมณฑิราคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เป็นต้น เป็นรูปแบบโมเดล 2 โดยมีเครือข่ายร้านยา เขต 7 ขอนแก่น เข้าร่วมแล้ว 98 แห่ง และคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น 21 แห่ง รวมเป็น 119 แห่ง นอกจากมาร่วมให้บริการแล้ว ยังเป็นเครือข่ายเชิญชวนสตรีกลุ่มเป้าหมายมาตรวจคัดกรอง พร้อมได้ประสานงานกับไปรษณีย์ไทย เพื่อให้ส่งเก็บสิ่งส่งตรวจมาตรวจทางห้องปฏิบัติการที่โรงพยาบาลช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการคัดกรองด้วย

นอกจากนี้ได้จับมือกับธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดให้หญิงไทยที่มีสิทธิรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” เพื่อขอรับชุดเก็บสิ่งส่งตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองได้ ทั้งที่ร้านยาและคลินิกการพยาบาลฯ ที่อยู่ใกล้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน

นพ.วัชระ กล่าวว่า รพ.พนมไพร ให้ความสำคัญต่อบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด รวมถึงการให้บริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการตรวจด้วยวิธีแปสเมียร์จนถึงการด้วยด้วยวิธีเอชพีวี ดีเอ็นเอ เทส ภายใต้สิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาตินี้ โดยในส่วนของบริการชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง ปี 2566 รพ.พนมไพร ได้ขยายบริการชุดเก็บสิ่งส่งตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองที่ร้านยาในจังหวัด จำนวน 22 แห่ง และคลินิกการพยาบาลฯ ในพื้นที่ด้วย ตามโมเดลที่ 2

สำหรับรูปแบบการรับบริการ กรณีการลงทะเบียนผ่านแอปเป๋าตัง เพียงแค่เข้าสู่เมนูกระเป๋าสุขภาพ เลือกสิทธิสุขภาพดีป้องกันโรค เลือกบริการเฉพาะกลุ่มสตรี และเลือกรับชุดตรวจ HPV Self sampling โดยเลือกหน่วยบริการที่รับชุดตรวจ เมื่อไปรับชุดตรวจฯ ที่หน่วยบริการพร้อมรับคำแนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจแล้ว ให้ทำการเก็บสิ่งส่งตรวจ ซึ่งนอกจากนำสิ่งส่งตรวจมาคืนที่ร้านยาแล้ว ยังสามารถส่งสิ่งส่งตรวจโดยไปรษณีย์มาที่โรงพยาบาลพนมไพรได้โดยตรง ที่เป็น Center Lab ในการตรวจ

ทั้งนี้ ภายหลังการตรวจทาง รพ.พนมไพร จะดำเนินการแจ้งผลตรวจให้ทราบผู้รับการคัดกรองรับทราบ กรณีที่ไม่พบความผิดปกติก็จะเก็บข้อมูลสู่ระบบและนัดให้ทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 5 ปี แต่ในกรณีพบความผิดปกติ จะมีการติดตามเพื่อนำเข้าสู่ระบบการตรวจและรักษาพยาบาล ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ สั่ง 'สปสช.-สปส.' ร่วมยกระดับหลักประกันสุขภาพ

นายกฯ สั่งการเดินหน้าบูรณาการการทำงาน สปสช.- สปส. ร่วมมือการทำงาน เริ่ม 1 เม.ย.2567 ยกระดับหลักประกันสุขภาพตรวจสุขภาพเพิ่มเติมตามกลุ่มช่วงอายุ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

สปสช.ยังค้างจ่ายเงินโรงเรียนแพทย์ร่วม 1,000 ล้านบาท แจงยิบติดค้างรพ.ละเท่าไหร่

รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ประธานคณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) กล่าวถึงกรณี รองเลขาฯ สปสช.ชี้แจงค้างจ่ายเงินโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ ที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ รวม 369 ล้านบาท ว่าเกิดจากการเรียกเก็บค่าชดเชย ที่ติดรหัส C และติดรหัส DENY นั้น ไม่ครบถ้วน