ตามรอยเสด็จ คลองดำเนินสะดวก

ภาพโปสเตอร์ของตลาดน้ำคลองดำเนินสะดวก ที่คราคร่ำเต็มไปด้วยเรือพ่อค้าแม่ค้า บรรทุกผลหมากรากไม้มาเต็มลำ  เป็นสีสันให้ความรู้สึกฉูดฉาดคึกคักที่ใครๆ พอเห็นแล้ว ก็อยากมาสัมผัสเห็นของจริง   ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์การท่องเที่ยวประเทศไทยมาเป็นเวลานาน  และดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกให้มาเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก

แต่ในช่วง 2ปีมานี้ ในสถานการณ์โควิด 19 ดำเนินสะดวกมีแต่ความเงียบเหงา ไม่มีนักท่องเที่ยวย่างกราย  แต่ในวันนี้ ดำเนินสะดวกจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะมีการคลายล็อกดาวน์จากโควิด  ที่สำคัญยังมีการเปิดตัวการท่องเที่ยว” วิถีคลอง วิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน” ซึ่งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.) ร่วมมือกับชุมชน ซึ่งนาวาอากาศเอก อธิคม คงมี ผอ.อพท.เล่าว่า สืบเนื่องจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีโอกาสไปล่องเรือไฟฟ้า ชุมชนริมคลองเมืองอาเมียงส์ ประเทศฝรั่งเศส  แล้วเกิดความประทับใจ  จนปิ๊งไอเดียว่า ไทยเราน่าจะมีการบริหารจัดการท่องเที่ยวทางน้ำแบบนี้บ้าง



จากความประทับใจของนายกฯ ได้นำปสู่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2561 ซึ่งให้อพท.และกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันเป็นเจ้าภาพเฟ้นหาคลองต้นแบบการท่องเที่ยววิถีคลอง ในช่วงนั้นมีการเสนอชื่อของตลาดน้ำในประเทศไทยหลายแห่งเข้ามาให้เลือก แต่ปรากฎว่าคลองดำเนินสะดวก ได้รับการคัดเลือกให้เป็นคลองท่องเที่ยวต้นแบบ  ที่จะผนวกกับความยั่งยืน   ยังนำไปสู่ ความร่วมมือการผลักดันให้มีการใช้เรือพลังงานไฟฟ้า แทนเรือหางยาว พานักท่องเที่ยวชมสองฝั่งคลอง  ซึ่งมีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) หรือตัวย่อ PEA อพท,.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย,  องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อ ดำเนินสะดวก ส่วนราชการของจังหวัดราชบุรี ร่วมมือกันจัดหาเรือพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีพลังงานหลักจากแผงโซลาร์เซลล์ บนหลังคาเรือ คอยจ่ายกระแสไฟให้เครื่องเรือ

เรือพลังงานไฟฟ้านี้ จะเป็นตัวเปลี่ยนสภาพการท่องเที่ยวแบบเดิมของคลองดำเนินสะวดก ให้กลายเป็นวิถีใหม่ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  และทำให้นักท่องเที่ยวซึมซับความเป็นธรรมชาติของวิถีคลองได้ดีกว่าเดิม เพราะสามารถลดระดับเสียงได้มากกว่าเรือหางยาวได้หลายสิบเท่า  เสียงเครื่องเรือที่วิ่งเบาแผ่วๆราวเสียงกระซิบ ทำให้คนในเรือสามารถพูดคุยกันได้รู้เรื่อง ไม่ต้องตะเบ็งเสียงแข่งกับเสียงเรือ

เรือหางยาวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

เรื่องเสียงเรือหางยาวนี้ สร้างปัญหาให้กับชาวคลองดำเนินสะดวกยาวนานไม่ต่ำกว่า 30 ปี  หรือนับตั้งแต่การท่องเที่ยวคลองบูมก็ว่าได้  นอกจากเสียงแล้ว เรือที่แล่นเร็วยังสร้างคลื่นที่รุนแรงสร้างความเสียหายแก่ตลิ่งและเขื่อนของชาวบ้านอีกด้วย  จนมีการร้องเรียนกับกรมเจ้าท่า ทำให้กรมเจ้าท่าจำกัดความเร็วของเรือแต่เรื่องเสียงยังไม่สามารถจัดการได้  อีกทั้งควันที่เกิดจากเครื่องเรือที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดาๆ ซึ่งมีการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์  ยังทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ อย่างที่เราเรียกกันว่า PM2.5 จำนวนมหาศาล คิดดูว่า ดำเนินสะดวกมีเรือหางยาวพานักท่องเที่ยวล่องคลองไม่ต่ำกว่า   500-600 ลำ  จะสร้างมลพิษทางอากาศมากขนาดไหน ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข

ชาวบ้านยังใช้เรือแจวที่ไม่ค่อยเห็นกันแล้ว

คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองที่รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริให้ขุดขึ้นเมื่อพ.ศ.2409 โดยมีพระราชประสงค์ให้เป็นคลองเชื่อมระหว่างกรุงเทพ ถึงสมุทรสาครและราชบุรี  ให้การเดินทางสะดวกขึ้น คลองดำเนินสะดวกนี้ จึงได้หล่อเลี้ยงผู้คนมาเป็นเวลากว่า 150ปี  

วิถีการค้าขายชาวดำเนินสะดวก


 วิสาห์ พูลศิริวัฒน์  รองผู้ว่าราชการจ.ราชบุรี บอกว่า คลองดำเนินสะดวก เป็นวิถีวัฒนธรรม ของชาวไทย ชาวจีน ที่อยู่ร่วมกันมีวัดไทย ศาลเจ้า โบสถ์คริสต์ในชุมชน  ซึ่งการท่องเที่ยววิถีคลองวิถีไทยฯ มีจุดต่างจากการท่องเที่ยวตลาดน้ำฯ ตรงที่ต้องการให้นักท่องเที่ยวได้ใช้เวลาอยู่กับวิถีชีวิตคลองให้มากขึ้น   ได้เห็นความผูกพันธ์สายน้ำกับคนที่นี่ ที่มีมายาวนาน   ดังนั้น กิจกรรมที่จะจัดก็คือ การตักบาตรบนเรือตั้งแต่เข้า การล่องเรือไปตามคลองต่างๆ  และถ้ามีการใช้เรือไฟฟ้า ที่เงียบมากกว่าเรือหางยาวหลายเท่า

เรือแล่นผ่านคุ้งน้ำอันร่มรืนของคลองดำเนินสะดวก

“จริง ๆ คลองดำเนินสะดวก ยาวถึง 32กม.มีการเชื่อมโยงกับคลองย่อยต่างๆ ที่สามารถล่องเรือถึงกันได้หมด  เราสามารถแวะตามจุดต่างๆ เพื่อพักรับประทานอาหาร ที่นี่เรามีข้าวตาแห้งที่อร่อยมาก เป็นเอกลักษณ์ของดำเนินสะดวก มีมะพร้าวน้ำหอมที่ได้ GI มีผัก ผลไม้อื่นๆ จากสวน ของชาวคลองดำเนินสะดวก เช่น ส้มโอ ชมพู่ ฝรั่ง ที่ส่งออกไปขายต่างประเทศ  “

ตักบาตรทางเรือในช่วงเข้า โปรแกรมที่ชุมชนจัดเตรียมไว้ให้นักท่องเที่ยว ให้สัมผัสวิถีชาวคลอง

รองผู้ว่าฯ บอกอีกว่า การท่องเที่ยววัฒนธรรมวิถีคลอง จะมีทุกวันเสาร์ -อาทิตย์ การตักบาตรทางน้ำ จะมีทุกยามเช้า(ทุกวันเสาร์เวลา 8.00)   ณ ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก ไปสุด ท่าเรือเจริญสุขโข   คนไหนสนใจติดต่อจองเรือล่วงหน้า โดยดูรายละเอียดได้ทางเฟซบุ๊ก เพจ เทศบาลตำบลดำเนินสะดวก

 มาถึงไฮไลต์สำคัญ  “ท่องเที่ยว วิถีคลอง วิถีไทย   ตามรอยเสด็จ ” ที่มีจุดที่ท่องเที่ยว  4จุดคือ วัดโชติทายการาม  บ้านมหาดเล็กเจ็กฮวด ตลาดน้ำเหล่าตั้กลัก และสวนเกษตรแม่ท่องหยิบ

ก๋วยเตี๋ยวเรือนำมาเสริฟ ริมท่าน้ำวัด วัดโขติทายการาม

หลังจากกินอาหารกลางวันที่ ทางเจ้าภาพจัดเตรียม ยกขบวนเรือก๋วยเตี๋ยวหมู เรือข้าวแห้ง เรือก๋วยจั๊บ เรือข้าวหมูแดง หมูกรอบ   มาไว้ริมท่าวัดโชติทายการาม ตบท้ายด้วยมะพร้าวน้ำหอม กันจนอิ่มหนำสำราญ ก็ถึงเวลาล่องเรือไปตามคลองดำเนินสะดวก ซึ่งวันนั้นยังต้องพึ่งพาเรือหางยาวเสียงดัง เพราะเพิ่งเปิดตัวโครงการเรือไฟฟ้า

ข้าวแห้งอาหารขึ้นชื่อ
หอนาฬิกาที่วัดโชติทายการาม

 วัดโขติทายการาม สร้างขึ้นพ.ศ.2417 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นทางเรือ และเสด็จขึ้นประทับ เสวยพระกระยาหาร ณ ศาลาท่านี้การเปรียญหลังปัจจุบันของวัดแห่งนี้   ภายในวัดยังมี  หลวงพ่อลพบุรีราเมศร์ พระพุทธรูปศิลาแลง สร้างระหว่างสมัยสุโขทัย-ลพบุรี อายุ 800-1,000 ปี เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวดำเนินสะดวกมักมาขอพรให้สมหวังในเรื่องต่าง ๆ และมีพิพิธภัณฑ์ของวัด ที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุต่าง ๆ ไว้

ลุงเปี๊ยกทายาทรุ่นที่ 4 ของเจ๊กฮวด บ้านที่ ร.ทรงเคยเสด็จ



จุดต่อมา  บ้านเจ๊กฮวด (เล่า ฮวด เส็ง) เป็นเรือนทรงไทยริมคลองดำเนินสะดวก อายุ 100 กว่าปี เป็นส่วนหนึ่งในตำนานเสด็จพระพาสต้นของในหลวงร. 5 ทรงแวะที่บ้านเจ็กฮวด  โดยที่ตอนแรกเจ็กฮวดไม่รู้ว่าทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และเจ็กฮวดได้จัดสำรับอาหารที่ขาวบ้านรับประทานให้ทรงเสวย  เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก ต่อมาทรงยกให้เจ๊กฮวด เป็น”มหาดเล็กนอกวัง” และเป็น”เพื่อนต้น”

จำลองสำรับอาหารที่ ร.5 ทรงเสวยที่บ้านเจ๊กฮวด


ลุงเปี๊ยก ศิริชัย น้อยประเสริฐ ทายาทรุ่นที่ 4  ของเจ๊กฮวด และได้ครอบครองดูแลรักษาบ้านหลังนี้ เล่าว่า ป้าลุงเปี๊ยกเล่าให้ฟังว่า วันที่เสด็จมาที่บ้าน ยายผึ้งแม่ของเจ็กฮวดกำลังจะรับประทานอาหาร ก็เลยทูลเชิญให้เสวยด้วย อาหารที่จัดสำรับก็เป็นอาหารบ้านๆ มี ปลาตะเพียนต้มเค็ม หัวไขโปวผัดไข่ ผัดหอยกระพง น้ำพริกมะขาม กับผักสด  ทรงโปรดปลาต้มเต็มมาก ต่อมาเจ็กฮวด ได้ทำถวายส่งให้ในวังเรื่อยๆ

“เจ็กฮวด”มหาดเล็กนอกวัง “เพื่อนต้น” ของ ร.5



ต่อมาทรงพระราชทานป้าย ขนาดใหญ่สีดำ ตัวหนังสือสีทอง มีทั้งภาษาไทย จีน และอังกฤษว่า “เล้า ฮวด เส็ง” ซึ่งมีความหมายว่า ขอให้ตระกูลเล้าฮวดมีความสุข ป้ายนั้เป็น1ใน 7 ป้าย ในประเทศไทยที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทาน

แผ่นป้ายที ร.5 ทรงพระราชทานให้เจ็กฮวด เป็น 1 ใน7 ป้ายที่มีในประเทศไทย

ออกจากบ้านเจ็กฮวด เรือเทียบท่ายัง “ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก” ซึ่งเป็นตลาดน้ำดั้งเดิมแห่งแรกของจังหวัดราชบุรี นับเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตตาม วิถีริมคลองดั้งเดิม จังหวะที่ไปถึง พอดีกับมีการนำมะพร้าวอ่อน ที่ผูกโยงกันเป็นสายมาขึ้นท่า มะพร้าวอ่อนพวกนี้ได้ล่องมาจากสวนที่เป็นที่ตาบอด เรือและรถยนต์เข้าไม่ถึง ลอยมาตามน้ำ จนมาถึงท่าที่ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก  ซึ่งมีคนงานเด็กหนุ่ม ๆ4 คน รอขนขึ้นจากน้ำ โดยเด็กพวกนี้โดดลงไปในน้ำ  ยกมะพร้าวขึ้นจากคลอง  ส่งให้คนบนท่า โยนใส่ท้ายรถกระบะรถ ซึ่งวิธีการนี้ภาพวิถีขีวิคดั้งเดิมของขาวสวนมะพร้าวดำเนินสะดวก

มะพร้าวอ่อนล่องมาจากท้องร่องในสวนที่เป็นที่ตาบอด เรือ รถเช้าไม่ถึง

ชมการขนมะพร้าวเสร็จ ก็เดินมาที่ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก ซึ่งเป็นห้องแถวไม้ริมน้ำยาวต่อเนื่องกว่า 500 เมตร ที่นี่ยังมีคนอยู่อาศัย เปิดเป็นร้านขายของ ซึ่งมีทั้งชอำ ของที่ระลึก งานศิลปะ อาหารการกิน  ร้านกาแฟโบราณ   แต่ผลจากโควิดทำให้ วันที่ไป ตลาดยังเงียบเหงามีเพียงไม่กี่ร้านที่เปิด  ซึ่งคิดว่าถ้าสถานการณ์เข้าที่เข้าทางแล้ว ตลาดแห่งนี้จะกลับมาคึกคักได้ตามปกติ

ทีมขนมะพร้าว ระหว่างรอรถ
วงโฟล์กซองแสดงสด ของเหล่าผู้อาวุโส ดำเนินสะดวกที่ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก

 สวนเกษตรแม่ทองหยิบ เป็นจุดสุดท้ายในหนึ่งวัน ของการทำความรู้จักวิถีคลองดำเนินสะดวก  ที่นี่จะได้เรียนรู้เรื่องเกษตรผสมผสานในพื้นที่  35 ไร่ ของแม่ทองหยิบที่ปัจจุบันอายุ 91 ปีแล้ว วันนั้นมีลูกชายของแม่ คือ พี่ไพศาล ศรีเอี่ยมกูล ที่พ่วงตำแหน่งประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนเกษตรแม่ทองหยิบ มาต้อนรับพร้อมกับบรรยายความเป็นมาของสวน ที่ปลูกผลไม้หลากหลายชนิด  พร้อมกับเสิร์ฟ เมนูของว่างที่เป็นผลผลิตจากสวน  มีทั้งถุงทอง ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน ส้มโอกลีบใหญ่ ละมุดปอกเปลือก จักอย่างสวยงามรสชาติหวานกรอบ ฝรั่งก็กรอบอร่อยด้วยเช่นกัน ดับร้อนด้วยน้ำเก็กฮวย และที่ขาดไม่ได้คือ มะพร้าวอ่อนที่น้ำหวานหอม เนื้อกำลังกินพอดี แช่เย็นไว้หลายชั่วโมง เสริฟเป็นเมนูสุดท้าย

ล่องเรือชมสวนผลไม้แม่ทองหยิบ


แถมด้วยกิจกรรมล่องเรือขมสวนของแม่ทองหยิบ เรือที่นั่งเป็นเรือพาย ล่องไปตามท้องร่องสวน จะได้เห็นผลหมากรากไม้ ของสวนแบบเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็น ชมพู่ มะพร้าว ส้มโอ อุโมงค์ไม้เลื้อย และพืช ผักสวนครัวต่าง ๆ ได้ลองลิ้มรสผลไม้สดจากต้น ชิมขนมไทยอร่อย ๆ หรือจะซื้อผลไม้ติดจากสวนติดไม้ติดมือกลับบ้านก็ได้ไม่ว่ากัน

แม่ทองหยิบวัย 91 ปี ต้อนรับแขกบนบ้าน

เรือพลังงานแสงอาทิตย์ต้นแบบท่องเที่ยวยั่งยืน

ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ยกระดับตลาดน้ำดำเนินสะดวก เป็นการท่องเที่ยวยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมี9หน่วยงานพันธมิตรผนึกกำลัง และมีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือPEA  เป็นกำลังหลักในการสนับสนุนด้วยการจัดทำเครื่องยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต้นแบบ ให้แก่เครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวคลองดำเนินสะดวกจำนวน 25ลำ  ในเวลา 5ปี

นายภาณุมาศ ลิ้มสุวรรณ รองผู้ว่าการ PEA เปิดว่า ล็อตแรกจะส่งมอบเรือต้นแบบเครื่องยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 5 ลำ ให้ชุมชน ได้ราวเดือนมกราคม 2565 โดยทั้งหมดจะเป็นชุมชนที่ อพท. เข้าไปพัฒนาและสนับสนุนให้เป็นต้นแบบเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำ “วิถีคลอง วิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน”  ได้แก่ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนวัดโชติทายการาม ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านมหาดเล็กเจ๊กฮวด วิสาหกิจชุมชนกลุ่มฟื้นฟูตลาดน้ำดำเนินสะดวกปากคลองลัดพลี วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวสวนเกษตรแม่ทองหยิบดำเนินสะดวก และชมรมคนรักษ์ตลาดน้ำดำเนินสะดวก (ผู้ประกอบการเรือนำเที่ยว)

รองผู้ว่าฯ กล่าวอีกว่า ในช่วงสถานการณ์ท่องเที่ยวปกติ ตลาดน้ำคลองดำเนินสะดวกจะมีเรือหางยาวท่องเที่ยวให้บริการต่อวันกว่า 700 ลำ และมีข้อมูลปี 2561 จากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 จังหวัดราชบุรี ที่ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ  และเทศบาลตำบลดำเนินสะดวกตรวจวัดฝุ่น PM2.5   บริเวณตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก ต้นทางเข้าคลองตลาดน้ำดำเนินสะดวก  พบว่ามีค่าPM2.5   สูงสุดถึง 87 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากค่าปกติที่กำหนดต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โครงการนี้  จึงถือเป็นส่วนหนึ่งที่ลดปัญหาดังกล่าวได้  หากเกิดการขยายผลทยอยปรับมาใช้เรือไฟฟ้าในบริเวณดังกล่าว    

” เรือพลังงานแสงอาทิตย์มีค่นทุนตกลำละ 2.5แสนบาท ไม่นับรวมตัวเรือ แต่เรือนี้มีค่าใช้จ่ายพลังงานถูกมากๆ  ถ้าชาร์จไฟบ้านตกประมาณ 50 บาทต่อวัน หรือถ้าวันไหนแดดดีๆ ก็จะสามารถใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ทั้งวัน เทียบกับค่าน้ำมันเรือที่ตกวันละ 400 บาท ถือว่าถูกมากและไม่ก่อมลพิษทางเสียง และทางอากาศอีกด้วย ซึ่งจะทำให้การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน  “

รองผู้ว่า ฯ ย้ำว่า เรือจำนวน 25 ลำดังกล่าว ยังเป็นแค่โครงการนำร่อง ที่คิดว่าจะจุดประกายให้ผู้ประกอบการเรือท่องเที่ยวดำเนินสะดวกอื่นๆ หันมาเปลี่ยนมาใช้เรือไฟฟ้ามากขึ้น  ส่วนการส่งมอบเรือต้นแบบให้กับใครนั้น เป็นเรื่องที่คนในขุมชนจะต้องตกลงกันเอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทศกาลสร้างสรรค์'3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน'

งานเฟสติวัลในย่านเก่าเป็นอีกกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างแรงกระเพื่อมให้มหานครมีมิติร่วมสมัยควบคู่ไปกับการดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม สีสันความสนุกที่เคลือบด้วยสาระและคุณค่าของย่านกะดีจีนจะเกิดขึ้นในงานเทศกาล ” 3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน”

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป

รมว.ท่องเที่ยวนำเอกชนไทยบุกตลาดอินเดียหวังโกยรายได้ 80,000 ล้านในปี 67

รมว.ท่องเที่ยวนำผู้ประกอบการเอกชนไทยร่วมงาน SATTE 2024 เร่งบูสต์ตลาดอินเดีย พร้อมตั้งเป้ารายได้ตลาดอินเดียกว่า 80,000 ล้านบาทในปี 2567

'ตรุษจีนเยาวราช'เฉลิมฉลองปีมังกรทอง

เทศกาลตรุษจีนถือเป็นงานปีใหม่ของชาวจีนทั่วโลก รวมถึงชาวไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทยด้วย ซึ่งได้มีการสืบสานประเพณีของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนจัดงานตรุษจีนเป็นประจำทุกปี ย่านเยาวราชถือเป็นพื้นที่สำคัญจัดงานตรุษจีน มาอย่างต่อเนื่อง เทศกาลตรุษจีนเยาวราชประจำปี 2567

เที่ยววัดมหาธาตุฯ จัดสมโภชใหญ่ข้ามปี

เริ่มแล้วสำหรับงานสมโภชพระอาราม 338 ปี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ตามรอยประวัติศาสตร์พระอารามหลวงแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์แห่ง 3 ยุค ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องกรุงธนบุรีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์  ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 2 มกราคม 2567