'Offix 'เอไอแก้ปัญหา'ออฟฟิสซินโดรม'มนุษย์เงินเดือน

การใช้ชีวิต ของหนุ่มสาววัยทำงาน โดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ที่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังได้

ด้วยเหตุนี้ นิสิตทีม Midnightdev Extended จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้คิดค้นนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อตรวจจับการนั่งผิดท่า ป้องกันต้นเหตุการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

นายธนกฤษ สายพันธ์ ตัวแทนกลุ่มนิสิตทีม Midnightdev Extended ผู้คิดค้นนวัตกรรม เปิดเผยว่า  การทำงานของนวัตกรรมนี้ เป็นแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งอยู่หน้าเดสก์ท็อปของคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เปิดใช้งาน แอพพลิเคชั่นก็จะคอยตรวจจับการนั่งของผู้ใช้ผ่านกล้อง เพื่อดูลักษณะการนั่งของผู้ใช้ว่านั่งถูกท่าหรือไม่ เพื่อเก็บข้อมูลและแจ้งเตือนการปรับท่านั่ง อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ในการพาทำกายบริหาร ซึ่งถ้าหากทำครบก็จะสามารถรับรางวัล และนำไปแลกเป็นส่วนลดสำหรับสินค้าและบริการต่างๆ ที่ร่วมกับทางแอพฯ อีกด้วย

โดยการทำงานของ เอไอตรวจจับการนั่งผิดท่า ทีมผู้คิดค้นได้นำข้อมูล เกี่ยวกับองศาการนั่งที่ถูกต้อง ตามหลักกายภาพ จากข้อมูลทางการแพทย์มาป้อนข้อมูลเข้าระบบ ซึ่งหากผู้ใช้นั่งผิดท่า ที่ส่งผลให้ปวดหลัง ก็จะมีการแต้งเตือนทันที ผลงานนี้จึงเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม ทำให้ช่วยป้องการปวดหลังได้

นายธนกฤษ สายพันธ์

ผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ทางทีมนิสิตผู้คิดค้นใช้ชื่อว่า Offix ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันคอยตรวจจับการนั่งผิดท่า และทำกายบริหารเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้จริง จนโดนใจคณะกรรมการได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขัน Digital Youth Network Thailand ภายใต้งาน HACKA THAILAND 2023 จัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

สมาชิกในทีมนิสิต จากหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีผลงานชนะเลิศ ประกอบด้วย นายธนกฤษ สายพันธ์, นายศุภโชค บุตรดีขันธ์, นายนนทพรรษ วงษ์กัณหา, นายรัชชานนท์ มุขแก้ว, นายเทพบดินทร์ ใจอินสม และนายทัศน์พล สวัสดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุฬาฯ ปักธงยุทธศาสตร์ปี 68 ดันสยาม-บรรทัดทอง สู่พื้นที่สร้างโอกาสให้คนไทยทุกคน

ถ้าใครมีโอกาสแวะมาเดิน Siam Square ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ อาจจะแปลกใจ ที่สยามสแควร์ไม่ใช่เป็นเพียงพื้นที่สำหรับนักช็อป หรือวัยรุ่นที่มาเปิดหมวกร้องเพลงเท่านั้น

จุฬาฯ จับมือกรม Climate Change และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน เปิดตัวหลักสูตร “TOP Green” หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้าน Sustainability

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทย และสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ UN Global Compact Network Thailand