โรดแมฟ’ย่านปทุมวัน’ เข้มงวดปล่อยก๊าซ

เมื่อนึกถึง “ย่านปทุมวัน” คนกรุงคุ้นเคยกันดี เพราะเป็นศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ เป็นย่านกิน เที่ยว ช้อปปิ้งยอดฮิต มีศูนย์การค้าชั้นนำ  โรงแรม สถาบันการศึกษาครบครัน พร้อมระบบขนส่งสาธารณะรองรับแสนสะดวกสบาย ย่านนี้คึกคักด้วยผู้คนทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ถือเป็นอีกพื้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเลยทีเดียว ขณะเดียวกันด้วยความหนาแน่นของธุรกิจการค้าในพื้นที่นำมาสู่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจราจรบนท้องถนนที่หนาแน่นสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เวลานี้มีการผสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนพัฒนาย่านปทุมวันต่อยอดเพื่อประกาศเป็นย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะ โดยกลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีก เจ้าของและผู้บริหาร สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่  ที่จะนำทัพพันธมิตรทุกภาคส่วนในการเชื่อมธุรกิจไปสู่ผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อม สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติร่วมกันอันเป็นการดำเนินธุรกิจตาม Global Standard ซึ่งเป็นมาตรฐานในระดับสากล และเตรียมพร้อมประกาศลงนามความร่วมมือเรื่องความยั่งยืนกับแบรนด์ระดับโลกในต้นปี 2567  เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2593

นราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า  ในการดำเนินธุรกิจของสยามพิวรรธน์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของย่านปทุมวัน หรือที่ทุกคนเรียกว่า “ย่านสยาม” มากว่า 60 ปี และยังเป็นห้างเอกชนรายแรกที่ได้ผลักดันและพัฒนาย่านแห่งนี้แข็งแรงผลักดันสู่การเป็นศูนย์กลางย่านการค้าปลีกระดับโลก โดยได้คำนึงถึงสิ่งที่สำคัญคือ คุณภาพชีวิตของผู้คนที่เดินทางเข้ามาที่ย่านนี้ ซึ่งการพัฒนาที่เกิดขึ้นไม่ได้กระจุกอยู่เพียงธุรกิจของสยามพิวรรธน์ แต่ยังมีห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าต่างๆ โดยรอบ ภาครัฐ โรงเรียน สถาบันการศึกษาได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สร้างความแข็งแรงของธุรกิจในย่าน นำไปสู่การเดินทางเข้ามาของผู้คนที่สามารถหาความรู้ ประสบการณ์ใหม่ๆ และจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ  และหัวใจหลักที่สำคัญคือ สิ่งแวดล้อม

สำหรับการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม  นราทิพย์ กล่าวว่า ต้องเริ่มต้นจากการบริหารจัดการในพื้นที่ของสยามพิวรรธน์ก่อน แบ่งเป็น 2 เรื่องหลัก คือ พลังงาน ซึ่งมีเป้าหมายจะใช้พลังงานหมุนเวียน 30% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในในธุรกิจของสยามพิวรรธน์ ภายในปี 2569  โดยปัจจุบันได้มีการลดใช้พลังงาน อาทิ การเปลี่ยนหลอดไฟ LED การใช้ระบบ AI ในการควบคุมการทำงานของระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคาร

นอกจากนี้ มีการนำนวัตกรรมโซลาร์รูฟท็อปมาติดตั้งที่ไอคอนสยาม สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 1 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อ/ปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 550 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ต่อปี และติดตั้งที่สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ กว่า 20,000 ตารางเมตร ให้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้กว่าปีละ 4,800,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 4,300 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี  และกำลังพิจารณาการติดตั้งที่ในพื้นที่ของสยามพารากอนที่ก่อตั้งมากว่า 20 ปีให้ได้ในปีหน้า  

ส่วนการบริหารจัดการขยะเดินหน้าผ่านโครงการ Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste โดยการให้ความรู้การคัดแยกให้ถูกประเภท เพื่อส่งต่อขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ซ้ำได้ รวมถึงการจัดการเศษอาหาร อย่างในพื้นที่ฟู้ดคอร์ทได้มีการรวบรวมเศษอาหาร ซึ่งในแต่ละวันมีจำนวนมาก รวบรวมส่งต่อเพื่อไปเป็นอาหารสัตว์ จากจุดนี้ร้านค้าต่างๆ ที่เห็นความสำคัญได้มีการบริหารจัดการภายในร้านของตัวเองเพิ่มขึ้น โดยเปิดจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Waste (E-waste) บริเวณ NextTech สยามพารากอน  มีการตั้งเป้าไว้ว่าจะใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ 100% รวมถึงลดการฝังกลบขยะจากการดำเนินงานลง 50% ภายในปี 2573  

นอกจากนี้ สยามพิวรรธน์ได้ดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ eco-projects ทำศูนย์การค้าเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านความยั่งยืน จัดทำหนังสือเขียวสยามที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับสากล รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ตลอดจนข้อมูลเทรนด์ต่างๆ ในด้าน ECO และสร้าง Eco Community  ที่สื่อสารผ่านแบรนด์ ECOTOPIA  แหล่งรวบรวมไลฟ์สไตล์แบบอีโค่แห่งแรกและใหญ่ที่สุดในเอเชีย ณ Siam Discovery เพื่อขับเคลื่อน ชุมชนและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกระดับ 

“ จากการดำเนินธุรกิจที่เป็นต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมในย่านปทุมวันแล้ว เป้าหมายการขับเคลื่อนที่จะเกิดขึ้นปีหน้าเป็นการเดินหน้าพัฒนาย่านปทุมวันสู่ย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะ ภายใต้แนวคิด “SMART ECO-DISTRICT”  ภายใต้ความร่วมมือจากกรุงเทพมหานคร และศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC-CEUS) ในการศึกษาพื้นที่ย่านปทุมวันและชุมชนโดยรอบ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรักษาบทบาทการเป็นผู้นำย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย 

แผนการพัฒนาย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะในเบื้องต้น นราทิพย์ กล่าวว่า การพัฒนาย่านปทุมวันให้เป็นย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะ นราทิพย์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังร่วมศึกษาความเป็นไปได้ของขอบเขตการพัฒนาย่านปทุมวันกับทางศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง คาดว่าการพัฒนาย่านต้นแบบนี้จะอยู่ในระยะประมาณ 1 กิโลเมตร โดยจะทราบผลการศึกษาเบื้องต้นในอีก 3 เดือน หรือภายในต้นปี 2567 ว่าจะสามารถกำหนดขอบเขตการพัฒนาได้  

ด้าน รศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง  กล่าวว่า เมืองถือเป็นเครื่องจักรในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาเมืองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผ่านการร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งย่านปทุมวันเป็นอีกหนึ่งย่านหัวใจสำคัญของกรุงเทพฯ พื้นที่โฟกัสของย่านนี้จะเริ่มบริเวณสี่แยกปทุมวันในรัศมี 1 กิโลเมตร เทียบระยะที่สามารถเดินเท้าได้ โดยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ภาพจำความก้าวหน้าของย่านแห่งนี้ เรียกได้ว่า เป็นสัญลักษณ์ความก้าวแห่งหน้ายุคสมัย ทั้งเป็นพื้นที่ตั้งของศูนย์การค้า แหล่งรวมแฟชั่น เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆในทุกสัปดาห์ อีกทั้งยังมีการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะรองรับครบครัน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าบนดินเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน รถโดยสารสาธารณะ การขนส่งทางเรือ มีแหล่งเรียนรู้ต่างๆ จุดพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งมีทางเดินเชื่อมในระยะ 800 เมตร ที่คนสามารถเข้าถึงได้ มีแรงจูงใจให้คนใช้ตัวเลือกในการเดินทาง โดยไม่ต้องใช้รถยนต์ ลดการปล่อยก๊าซ  

“ ย่านปทุมวันถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะ สามารถเชื่อมระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตร่วมกันได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างร่วมกันศึกษาผังเมืองย่านปทุมวัน เพื่อวางแผนขยายผลมิติต่างๆ ในการพัฒนาต่อไป “ รศ.ดร.นิรมล กล่าวในท้าย ซึ่งแผนพัฒนาที่จะเกิดขึ้น จะมีมาตรการที่จะนำมาใช้ในพื้นที่ปทุมวัน เพื่อจะสร้างประโยชน์ในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมต่อประชากรในเขตเมือง ปกป้องสุขภาพของคน รวมถึงการให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการจัดการคุณภาพอากาศ  ทั้งยังช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศสอดรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัญเชิญ12พระพุทธรูปมงคลให้สักการะสงกรานต์

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธีเปิด “งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

จุดเช็กอินสุดอาร์ต เพิ่มสีสันสงกรานต์กรุงเทพฯ

ประเพณีสงกรานต์ไทยขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากองค์การยูเนสโก เป็นที่ยอมรับและใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ต้องการมาสัมผัสประเพณีไทยที่ผูกพันกับสายน้ำในทุกปี สำหรับปีนี้ทั่วไทยจัดกิจกรรมฉลองคึกคัก

โดนใจป๊อบอาร์ต The Lobster ศิลปะระดับโลก

ทั่วไทยเตรียมฉลองสงกรานต์ปี 2567 รัฐบาลประกาศจัดสงกรานต์ 21 วัน ตั้งแต่วันที่ 1-21 เมษายน 2567 เฉลิมฉลองที่ยูเนสโกขึ้นทะเบียน“สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

มอบโอกาสการศึกษา เติมเต็มศิลปะ รร.ตชด.

การส่งต่อโอกาสและความเท่าเทียมให้กับเยาวชนในพื้นที่ห่างไกลตามแนวชายแดนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะยังมีเด็กๆ จำนวนที่ขาดโอกาสเข้าถึงด้านการศึกษาและประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทย สำหรับโครงการเพื่อสังคม Citizen of Love by Siam Piwat

Royal Project Gastronomy Festival 2024 ช็อปผลผลิตจากยอดดอย ชมนิทรรศการ'กัญชง'

เนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปี มูลนิธิโครงการหลวง และเป็นปีมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 มูลนิธิโครงการหลวง ร่วมกับ ศูนย์การค้าสยามพารากอน และ กูร์เมต์ มาร์เก็ต