ฉากทัศน์สังคมไทย ตีโจทย์ดึง'คนด้อยโอกาส-สูงวัย'สร้างอนาคต

สังคมไทยเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำมาโดยตลอด การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในสังคม ประชาชนในชุมชนต่างๆ เข้ามามีบทบาทพัฒนาชุมชนตัวเอง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ตลอดจนการให้โอกาสและสร้างความเข้มแข็งคนยากจนและคนด้อยโอกาสนั้นสำคัญ

เพื่อระดมสมองร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้น สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนจัดงานเสวนา “ฉากทัศน์อนาคตสังคมไทย” ในโอกาสครบ 50 ปี  ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สนับสนุนโดยไทยเบฟ โอกาสนี้  อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ปาฐกานำ โดยกล่าวว่า ทุกสังคมในประเทศทั่วโลกมีปัญหาแย่งชิงระหว่างคน มีการใช้คำว่าชาติมาแบ่งแยก รักชาติจนคนอื่นไม่มีที่อยู่หรือเปล่า หรือคนที่คิดเหมือนกันรักชาติ คนที่คิดต่างกันเป็นศัตรู นี่คือ สิ่งที่น่ากลัว การจินตนาการเป็นสิ่งที่ดี แต่ทุกวันนี้เป็นจินตนาการในทางเสื่อมทราม กล่าวร้ายซึ่งกันและกัน ฉากทัศน์ในสังคมไทยคล้ายฉากทัศน์ในสังคมอื่น แต่ที่แปลกสังคมไทยเป็นสังคมที่เสื่อมมาเรื่อยด้วยคนไทยด้วยกันเอง ความหูเบา อิจฉาริษยา อาฆาตพยาบาท อยากสืบทอดอำนาจ หวงแหนสิ่งที่มีอยู่ไม่คิดแบ่งปันให้ผู้อื่น เป็นปฏิกิริยาที่มีความหมายลบต่อสังคม อยากมีประชาธิปไตยต้องเข้าใจประชาธิปไตยคืออะไร  ปัญหาคอร์รัปชั่นฉ้อโกงทุกรัฐบาลมีความตั้งใจ แต่ไม่พอ ต้องอาศัยความคิดที่ดี ความรอบคอบ ประสิทธิภาพในการบริหารงาน พูดน้อยทำมาก เราไม่มีสิ่งเหล่านี้นานแล้ว

“ ทุกสังคมจะมีฉากทัศน์ที่ดีได้ ไม่ใช่ความมั่งคั่ง ประเทศมีคนร่ำรวยที่สุด แต่สังคมมีความสุขหรือเปล่า มีความเสมอภาคทางความสุขหรือไม่ ทุกชั้นวรรณะมีความสุขอย่างพอเพียง ทุกวันนี้นำคำว่า พอเพียง ไปพูดตลกโปกฮา ทั้งที่ความหมายแท้จริงลึกซึ้งมาก และไม่ได้กีดกันความร่ำรวย หากขาดความเลื่อมใสและศรัทธาใน 3 สถาบัน สังคมไทยจะไปทิศทางไหน ทุกสังคมถ้ามีแต่ความผิดหวัง ไม่ไว้ใจกันจะป็นสังคมที่ไม่มีความสุข ทุกวันนี้เห็นผิดเป็นชอบ เห็นชั่วเป็นดี ชอบโกหก มีแต่พวกหิวแสง เด็กและเยาวชนไปอยู่ต่างประเทศ ทั้งที่อนาคตของประเทศไทย คือ เยาวชน “ อานันท์ กล่าว

อดีตนายกฯ กล่าวสังคมไทยเผชิญความเหลื่อมล้ำ ความไม่เสมอภาค ตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย กระทั่งการทำงาน สังคมไทยไม่เหลียวแลความเหลื่อมล้ำทางโอกาส ซึ่งไม่มียาสำเร็จรูปหรือคาถาเป่าให้หมดไป แต่ต้องเริ่มจากแก้ปัญหาให้ตรงจุด เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาต่อไป ตัวอย่างมีชัย วีระไวทยะ ริเริ่มการคุมกำเนิดประชากรในอดีต  ลดการเกิด ช่วยให้สังคมมีคุณภาพขึ้น   ส่งเสริมด้านการศึกษา การใช้ถุงยางอนามัย นอกจากบุคคล สมาคม  ยังมีภาคเอกชนที่ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย ความสดใสของฉากทัศน์อนาคตสังคมไทยขึ้นอยู่กับการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ขึ้นกับความร่วมมือกัน  โดยเฉพาะกลุ่มเด็กขาดโอกาส  หากมีความหวังทำให้คนรุ่นใหม่ที่อยากไปอยู่ต่างประเทศ คิดซ้ำ ทำให้เขาเกิดใหม่ในเมืองไทย แต่นี่คือโจทย์ของสังคมไทย

ด้าน มีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน กล่าวว่า  ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา สมาคมพัฒนาพัฒนาประชากรและชุมชนมีความมุ่งมั่นพัฒนาสังคมมิติต่างๆ ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับสังคมไทยบนหลักการคิดนอกกรอบ ไม่รับคำปฏิเสธของผู้อื่น แต่ควรตั้งคำถามใหม่ สร้างพันธมิตร เน้นความยั่งยืน ไม่ใช่ไฟไหม้ฟาง  เริ่มตั้งแต่ลดการเกิดด้วยการวางแผนครอบครัว ปัญหาเมื่อ 50 ปีที่แล้ว คนไทยมีลูกดก บางครอบครัวมีลูก 7 คน  คนส่วนหนึ่งเห็นว่าควรแก้ไข หลังจากที่มีนโยบายด้านการวางแผนครอบครว กระทรวงสาธารณสุข เริ่มดำเนินการโดยให้แพทย์เป็นผู้จ่ายยาเม็ดคุมกำเนิด แต่ส่ามารถให้บริการได้เพียง 20%  สมาคมฯ เสนอให้ร้านชำในหมู่บ้านเป็นผู้ขายยาเม็ดคุมกำเนิด และถุงยางอนามัย ร้านเสริมสวยและร้านตัดเสื้อในหมู่บ้านเป็นผู้ให้บริการอุปกรณ์คุมกำเนิด เพิ่มความสะดวกเกิดอาสาสมัครวางแผนครอบครัวครัวชุมชนเป็นต้นแบบของอาสาสมัครสาธารณสุชประจำหมู่บ้าน (อสม.)  ร้านชำร่วมขายอุปกรณ์คุมกำเนิดในราคาที่ถูกกว่า  อบรมครู 320,000 คน เพื่อร่วมเป็นอาสาสมัคร  แข่งขันการเป่าลูกโป่งด้วยถุงยาง อย่าอาย จาก พ.ศ. 2517  จำนวนบุตรต่อครอบครัว  7 คน อัตราการเพิ่มประชากรต่อปี 3.3%  มาเป็น พ.ศ.  2558  จำนวนลูก 1.2 คน  อัตราการเพิ่มเหลือ 0.4%

ลดการตายจากโรคเอดส์  นายกสมาคมฯ บอกมีการเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคเอดส์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ รวมถึงภาคเอกชนให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง อบรมให้ความรู้โรคเอดส์ในสถาบันอุดมศึกษา ในโรงเรียน  ส่งผลให้ผู้คิดเชื้อรายใหม่ลดลง สามารถป้องกันไม่ให้คนติดเชื้อและเสียชีวิตได้ มิติลดความยากจนด้วยการสร้างอาชีพและรายได้จับมือภาคธุรกิจเอกชน  การทำธุรกิจโดยใช้เงินกู้จากธนาคารพัฒนาหมู่บ้าน เปลี่ยนอาชีพเกษตรกร จากการปลูกพืชที่ทำรายได้ต่ำเป็นการปลูกต้นไม้ที่มีรายได้สูง 

ส่วนการลดความเขลา เน้นสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนมีชัยพัฒนา เป็นโรงเรียนต้นแบบที่ถูกนำแนวคิดและรูปแบบไปใช้ในโรงเรียนต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน และยังได้ลดความเห็นแก่ตัว  ด้วยการปลูกฝังการมีจิตสาธารณะ การรู้จักแบ่งปันและความซื่อสัตย์  มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ส่งเสริมความเสมอภาค เป็นโรงเรียนที่มีสีสัน  มีแปลงปลูกผัก ใช้พื้นที่น้อย แรงน้อย น้ำน้อย เป้าหมายของโรงเรียนเป็นศูนย์กลางพัฒนาชีวิตและรายได้ของชุมชนบริเวณรอบโรงเรียน

ใน 50 ปีที่สอง มีชัย กล่าวว่า การขับเคลื่อนจะให้ความสำคัญในโครงการพัฒนาผ่านวัดที่มีกว่า 40,000 แห่ง  โรงพยาบาลประจำอำเภอ 700 กว่าแห่ง และ รพ.สต.  4,000 แห่ง รวมถึงโรงเรียน 30,000 แห่ง  สร้างอนาคตใหม่จากการศึกษา สร้างอาชีพ สร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับผู้สูงอายุ

“ การรณรงค์คุมกำเนิดของรัฐไม่มีความจำเป็น เป็นเรื่องของการวางแผนชีวิตแต่ละครอบครัว อยากมีลูกกี่คนก็เป็นเรื่องของเขา สิ่งที่รัฐต้องส่งเสริม คือ ทำให้แม่และลูกมีชีวิตที่ดีขึ้น  ประชากรเกิดน้อยไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นข้อเท็จจริง จะเกิดมากเกิดน้อยไม่ได้สำคัญ  ประชากรเยอะ ไม่มีคุณภาพ ประเทศก็แย่ ประชากรน้อย ถ้าดูแลได้ก็ไม่มีปัญหา  หรือเกิดน้อย แล้วปล่อยให้แก่แยะ ต้องมีการนำผู้สูงอายุ 15 ล้านคน กลับเข้ามาสู่ระบบการผลิตในชุมชนในชนบท  ให้บทบาท ให้ความสุข จะทำให้สังคมดีขึ้น ไม่ใช่อายุ 60 ปี ตัดทิ้งไป ต้องปรับเป็นอายุ 75 ปี  อีกปัญหาที่รัฐต้องช่วยแก้ปัญหา คือ แม่วัยใส  สร้างศูนย์เลี้ยงเด็กในหมู่บ้านให้ครอบคลุม ทำให้วัยรุ่นสามารถดูแลตัวเองและลูกได้ ป้องกันไม่ให้ตั้งท้องซ้ำ “ มีชัย กล่าว

ด้าน  ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่  บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน นำโดยอาจารย์มีชัย วีระไวทยะ วางรากฐานไว้กว่า 50 ปี ผ่านโครงการต่างๆ เป็นรูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งมิติประชากรและชุมชน คุณภาพชีวิต การศึกษา ความมีคุณธรรม เติมเต็มให้กับสังคมไทย ตนมองว่า  การแก้ปัญหาต้องมองที่ต้นเหตุ และสร้างพลังบวก เดินไปในทางที่ถูกต้อง ไทยเบฟสนับสนุนการด้านการศึกษา การเพิ่มโอกาสทางศิลปะและกีฬา เป็นอีกแนวทางสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำ เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ หากพูดถึงฉากทัศน์อนาคตของสังคมไทย ไทยเบฟทำงานในมิติเศรษฐกิจฐานราก ขับเคลื่อนวิสาหกิจเพื่อสังคม ผ่านบริษัทประชารัฐรักสามัคคีทั่วประเทศไทย เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกัน เราร้อยเรียงบุคคลต่างๆ ทุกสาขาอาชีพมาจับไม้จับมือรวมพลังทำงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น  คนยุคปัจจุบันต้องนำทางและต้องทำทางให้คนรุ่นหลังได้เดินต่อไป

“ ฉากทัศน์อนาคตสังคมไทยจากภาคธุรกิจเอกชน อยากเห็นเยาวชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเติบโตมาแบบเข้าใจศาสตร์และเห็นคุณค่าของเงิน รู้จักการออม และการลงทุนเป็นประโยชน์ต่อชีวิต ฝึกทักษะรู้จักคุณค่าของเงิน  มีวินัยทางการเงิน ส่วนวัยเกษียณต้องมีการเตรียมพร้อมและวางแผนในอนาคต ปรัชญาพอเพียงของในหลวง ร.9 เป็นแนวทางในการใช้ชีวิตและการเงิน มีการประมาณตน ลดปัญหาหนี้สิน ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ รวมถึงฝึกฝนทักษะความเป็นคนดี “ ฐาปน แสดงทัศนะในเวที 50 ปี ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เสียงเตือนของธรรมชาติ คือ สัญญาณที่โลกแสดงออกมา ถึงเวลาที่มนุษยชาติ ต้องเอาใจใส่รักษ์โลก

ปัจจุบัน “โลก” ของเราเต็มไปด้วยวิกฤตการณ์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากมาย ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่ ครั้งแรก และไม่ใช่ครั้งเดียว เพราะแต่ละปีที่ผ่านมาได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งอย่างต่อเนื่อง

ร่วมขับเคลื่อนเพื่อเมืองที่ยั่งยืน กับ “SX TALK SERIES ครั้งที่ 2” “เมืองของทุกคน : คุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน”

หลายคนถามหาคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ว่าจะเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สุขภาพ การศึกษา การขนส่ง ที่อยู่อาศัย ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

SARRAN-บ้านสุริยาศัย รังสรรค์จิวเวลรีสุดพิเศษ

สร้างสีสันให้วงการแฟชั่นและอาหาร เมื่อ “SARRAN” แบรนด์เครื่องประดับดังระดับโลก จับมือกับร้านอาหาร”บ้านสุริยาศัย”สร้างสรรค์แคมเปญใหม่โดนใจสายแฟชั่น ในงานเปิดสตูดิโอแห่งใหม่ของแบรนด์ SARRAN และเป็นการย้ายบ้านหลังใหม่อย่างเป็นทางการ ณ ริเวอร์ซิตี้ แบงค็อก 23 เมื่อวันก่อน

ไทยอวด'วิญญาณข้ามสมุทร' งานเวนิส เบียนนาเล่

เริ่มแล้วนิทรรศการ “The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร” ผลงานศิลปะที่จะแสดงศักยภาพศิลปินไทยและอาเซียนบนเวทีระดับโลก งานนี้ มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)  ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญจากภาครัฐ

เทศกาลสร้างสรรค์'3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน'

งานเฟสติวัลในย่านเก่าเป็นอีกกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างแรงกระเพื่อมให้มหานครมีมิติร่วมสมัยควบคู่ไปกับการดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม สีสันความสนุกที่เคลือบด้วยสาระและคุณค่าของย่านกะดีจีนจะเกิดขึ้นในงานเทศกาล ” 3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน”