WHO แต่งตั้ง 'ดร.นพ. ไพโรจน์ เสาน่วม' ร่วมเป็นคณะทำงานอิสระ การป้องกันโรคไม่ติดต่อ องค์การอนามัยโลก

เว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก (www.who.int) รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศแต่งตั้ง ดร.นพ. ไพโรจน์ เสาน่วม แพทย์ไทย ให้เป็นหนึ่งใน 20 ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในคณะ Strategic and Technical Advisory Group on Noncommunicable Diseases (STAG NCD) ทำหน้าที่ให้ความเห็นเชิงวิชาการ วางกลยุทธ์ และนวัตกรรมแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เพื่อนำไปจัดทำเป็นนโยบายและกลยุทธ์ในการป้องกันความเสี่ยงในระดับโลก ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญต่อการเพิ่มบทบาทของแพทย์ไทยในเวทีสุขภาพโลก และช่วยเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหา NCDsได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติในตำแหน่งคณะกรรมการดังกล่าวของดร.นพ. ไพโรจน์ จะอยู่ภายใต้ความเป็นอิสระตามนโยบายด้านความเป็นกลางขององค์การอนามัยโลก เพื่อป้องกันปัญหาการถูกแทรกแซงการดำเนินงาน

ทั้งนี้ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ถือเป็นแพทย์นักบริหารและนักวิชาการที่ร่วมงานขับเคลื่อนนโยบายป้องกันโรคไม่ติดต่อทั้งในประเทศและระดับสากล เช่น การส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย (Physical activity) ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดการบริโภคยาสูบ ควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น โดยสำเร็จการศึกษา แพทยศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาเอกด้านเวชศาสตร์ชุมชน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นยังได้รับอนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา และแขนงสาขาเวชศาสตร์วิถีชีวิต จากแพทยสภา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.

'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ

เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"

8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้