“เรือกอแระ” เป็นเรือคู่กายของชาวประมงพื้นถิ่นในแถบพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง คือ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และในบางพื้นที่ของสงขลา นครศรีธรรมราช ไล่ไปจนถึงแหลมมลายู ที่ยังคงพบเห็นการทำประมงด้วยเรือกอและ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ส่วนตัวเรือกอและนั้น ก็มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนเรือภาคอื่นๆในประเทศ เพราะมีความสวยงามด้วยสีสันที่ฉูดฉาด มีการวาดลวดลายทั้งไทย มลายู และชวา มีรูปลักษณ์ที่ปราดเปรียว คล่องแคล่ว ฝ่าคลื่นทะเลได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันการประมงได้พัฒนาให้มีความทันสมัยเป็นเรือพาณิชย์ หรือเรือเครื่องยนต์ ทำให้การใช้เรือกออาจจะพบเห็นได้ในบางพื้นที่ของจังหวัดในภาคใต้ อย่างในนราธิวาส นับเป็นอีกจังหวัดที่ยังมีการใช้เรือกอและในการทำประมงอยู่ค่อนข้างมาก และถือเป็นแหล่งอู่ต่อเรือและเขียนลวดลายที่สำคัญในแถบภาคใต้ ที่ยังคงมีผู้สืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการต่อเรือกอและมาจวบจนปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทางกระทรวงวัฒนธรรม ได้มีนโยบายในการนำทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความหลากหลายทางด้านอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา ประเพณี วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมาขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ซึ่งจ.นราธิวาสมีความหลากหลายทางด้านอัตลักษณ์ ประกอบกับมีการเชื่อมโยงประเพณีวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
โดยทางจังหวัดนราธิวาส โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดงานเทศกาลเรือกอและศิลปสีและลวดลาย ภายใต้โครงการพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนอัตลักษณ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นและขับเคลื่อน Soft Power ในจ.นราธิวาส โดยเชื่อมโยงประเพณีวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดนราธิวาส (หลังเก่า) ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
สำหรับกิจกรรมภายในเทศกาลเรือกอและฯ ประกอบด้วย นิทรรศการเรือกอและ การสาธิตวาดลวดลายเรือกอและ การทำเรือกอและจำลอง ผลิตภัณฑ์จากเรือกอและ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น การแสดงดิเกร์ฮูลู การแสดงมโนราห์ การแสดงซีละฯลฯ เดินช้อปิมตลาดนัดวัฒนธรรม จำหน่ายอาหารพื้นบ้านและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทย (CPOT) จากอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี เป็นต้น
นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า เทศกาลเรือกอและ ศิลปะ สี และลวดลาย นับเป็นการจัดกิจกรรมครั้งที่ 3 ภายใต้โครงการพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ต่อเนื่องจากงานเทศกาลริเวร่าท้าลมร้อน : Shade of Pattani จังหวัดปัตตานี และเทศกาลฟื้นย่านชุมชนโบราณเมืองเบตง จังหวัดยะลา เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์และสร้างภาพลักษณ์ของจังหวัดนราธิวาสควบคู่กับการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางประเพณีวัฒนธรรม เพิ่มรายได้แก่คนในพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบนพื้นฐาน ตลอดจนการยอมรับความหลากหลายทางประเพณีวัฒนธรรม นำไปสู่ความมั่นคงในพื้นที่
“เป็นการเชื่อมโยงประเพณีวัฒนธรรมไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจังเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมีโอกาสมาท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนใต้มากขึ้น เป็นมิติใหม่ในการพัฒนาและให้ความสำคัญต่ออัตลักษณ์และวิถีชีวิตของประชาชน เพื่อขับเคลื่อน Soft Power ในจ.นราธิวาส โดยเฉพาะ เรือกอและ เป็นเรือประมงภูมิปัญญาและเป็นศิลปะชายแดนใต้ที่มีอัตลักษณ์และสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานดินแดนปักษ์ใต้ มีลวดลายที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ สะท้อนวิถีความเป็นอยู่ร่วมในจังหวัดชายแดนใต้ นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์ซึ่งเป็นผลของวัฒนธรรมสัมพันธ์ที่มีคุณค่าสมควรอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง” ปลัด วธ.กล่าว
ด้านนายฐปนัท วงศ์ศานติบูรณ์ วัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมให้เข้มแข็งและสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของจ.นราธิวาส และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ยกระดับความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวและนักลงทุน ที่จะก่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน ซึ่งตลอดการจัดงานได้มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ที่สำคัญือการเขียนลวดลายเรือกอและจำลอง สะท้อวิถีขาวประมงและสัญลักษณ์ของชาวนราธิวาส
ฮำซัม ยูโซะ ช่างเขียนเรือกอและ หมู่บ้านทอน ต.โคกเตียน อ.เมือง จ.นราธิวาส เล่าว่า ครอบครัวเป็นช่างเขียนเรือกอและ เป็นสิ่งที่เราได้เห็นมาตั้งแต่เด็กทำให้เกิดความชื่นชอบและฝึกฝนในการเขียนเรือกอและเพื่อสืบทอดต่อจากพ่อ ซึ่งในหมู่บ้านปัจจุบันคนที่เป็นช่างเขียนเรือและช่างต่อเรือกอและเหลือน้อยแล้ว แต่คนในหมู่บ้านก็ยังมีการทำประมงด้วยเรือกอและอยู่บ้าง แต่ไม่เยอะเท่าเมื่อก่อน และมีเรือท้ายตัด ที่มีรูปร่างเล็กกว่ามีการวาดลวดลายลายเหมือนเรือกอเและเหมือนกัน ซึ่งการวาดเรือเทคนิคที่สำคัญก็คือ การเขียนลวดลายที่มีการผสมผสานของหลากหลายวัฒนธรรมทั้งลายไทย ลายมลายู และลายอินโดนีเซีย ซึ่งต้องใช้ความชำนาญในการลงสีเพราะเป็นการวาดครั้งเดียว ที่สำคัญคือการแต่งแต้มสีสันให้เด่นชัด ทำให้เรือมีมีความสวยงามแชะความโดดเด่น ซึ่งตนมีความตั้งใจที่จะอนุรักษ์และสืบทอด ส่งต่อ ภูมิปัญญานี้ให้กับคนรุ่นหลังต่อไปด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วิถีถิ่น วิถีไทย จัดใหญ่ที่โคราช กระตุ้นเศรษฐกิจอีสาน
เริ่มแล้วสำหรับงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย“เศรษฐกิจวัฒนธรรมอีสานสร้างสรรค์”ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
'นิรันดร์กัลป์'ธีมศิลปะ ภูเก็ตเบียนนาเล่
มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale , Phuket 2025 เปิดตัวผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ นายอริญชย์ รุ่งแจ้ง และ Mr. David The พร้อมภัณฑารักษ์ นางสาวมาริสา พันธรักษ์ราชเดช และ Ms. Hera Chan ณ HOUSE OF TIN BARON อำเภอเมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต ตอกย้ำความพร้อมจัด Thailand Biennale ครั้งที่ 4
ปลัด วธ. ย้ำ จนท.พิธีการศพฝึกฝนเพิ่มทักษะเพื่อประสิทธิภาพงาน
3 ก.ย.2567 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต และตรวจเยี่ยมห้องประสานงานขอพระราชทานเพลิงสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต โดย
วธ.ตั้งศูนย์ประสานงานโบราณสถานน้ำท่วม
24 ส.ค. 2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้รา
โพลวันแม่ปี 67 ลูกพร้อมใจกอด-บอกรัก
12 ส.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเด็ก เยาวชนและประชาชน ที่มีต่อ “วันแม่แห่งชาติ ปี 2567” จากกลุ่มตัวอย่างเด็ก เยาวชน แ
ทำแผนรับมือจุดเสี่ยงน้ำท่วมอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา
11 ส.ค.2567 - น.ส.สุดาวรรณ หวังศุกภิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามแผนบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยยังพื้นที่โบราณสถานริมแม่น้ำ