ช่างไทยสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.7

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 องค์ใหม่  ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอความร่วมมือกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ รับผิดชอบจัดสร้าง  โดยจะมีขนาด 4 เท่าของพระองค์จริง เพื่อประดิษฐานสัปปายะสภาสถาน อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ  น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  พร้อมด้วยผู้บริหาร วธ. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ ร. 7 ของสำนักช่างสิบหมู่ ที่สำนักช่างสิบหมู่ อ.ศาลายา จ.นครปฐม

สำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 องค์เดิม ออกแบบให้มีขนาด  1 เท่าครึ่งของพระองค์ ทรงเครื่องบรมราชสิตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย สวมพระชฎามหากฐินปักขนนกการเวก ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระหัตถ์วางเหนือพระเพลาทั้งสองข้าง จัดสร้างให้คล้ายกับเมื่อวันที่รัชกาลที่ 7 พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม  เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นกฎหมายสูงสุดฉบับที่ 20

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วธ. กล่าวว่า  สำนักช่างสิบหมู่ มีภารกิจสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์ มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ จากการติดตามการดำเนินงานการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริง 4 เท่า  ภาพรวมดำเนินการแล้วเสร็จ 40% ซึ่งการจัดสร้างนำองค์ความรู้งานช่างฝีมือโบราณมาสร้างสรรค์พระบรมราชานุสาวรีย์ นอกจากนี้ ติดตามความคืบหน้าการซ่อม สร้างงานศิลปกรรม เครื่องประกอบเตรียมการจัดริ้วขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ภาพรวมแล้วเสร็จ 80% แบ่งออกเป็นการซ่อมศิลปกรรมประกอบลำเรือพระราชพิธี   ได้แก่ เรือพระที่นั่ง 4 ลำ เรือในขบวนพยุหยาตรา และเครื่องประกอบ การจัดสร้างงานศิลปกรรมประกอบลำเรือและผ้าอาภรณ์ภัณฑ์ของเรือพระราชพิธี เขียนลายรดน้ำเรือรูปสัตว์ดำเนินการเสร็จแล้ว  ยังคงเหลือการจัดสร้างผ้าหลังคากัญญาเรือ เรือดั้ง 22 ลำ เรือแซง 7 ลำ ได้แก่ เรืออีเหลือง เรือแตงโม เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น และเรือตำรวจ 3 ลำ รวม 36 ลำ คืบหน้า 50% ขณะนี้อยู่ระหว่างการปักผ้าลายทองแผ่ลวด จะแล้วเสร็จต้นเดือน ต.ค.นี้ 

“ ตนได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากรนำองค์ความรู้งานช่างฝีมือโบราณสู่การต่อยอดระดับประเทศและนานาชาติ เช่น การจัดทำผลิตภัณฑ์และของที่ระลึกจากต้นทุนทางวัฒนธรรม รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนเพื่อพัฒนางานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์มรดกศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งเปิดพื้นที่การเรียนรู้และแสดงผลงานศิลปกรรมของสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติที่สำคัญ ช่วยสืบสาน สร้างสรรค์ และถ่ายทอดงานช่างศิลปกรรมไทยแขนงต่างๆ ต่อยอดภูมิปัญญาไทย “  รมว.ปุ๋ง กล่าว

นายภราดร เชิดชู ประติมากรเชี่ยวชาญ  กลุ่มประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ กล่าวว่า พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 7 มีขนาดความสูง 7.8 เมตร หรือขนาด 4 เท่าพระองค์  โดยขยายถอดแบบจากพระบรมราชานุสาวรีย์องค์เดิม  เพื่อให้มีความงดงาม สมพระเกียรติ เหมาะสมกับพื้นที่กว้างขวางและสถาปัตยกรรมที่มีขนาดใหญ่ของสัปปายะสภาสถาน การสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์องค์ใหม่ปั้นประติมากรรมต้นแบบด้วยดินเหนียว ซึ่งจะลงรายละเอียดพระพักตร์ ลวดลายฉลองพระองค์ได้ดี ถ้าสมัยครูบาอาจารย์จะปั้นด้วยปูนปลาสเตอร์ ข้อดีดูแลง่าย แต่จัดการและแก้ไขเพิ่มเติมยากกว่า การสร้างประติมากรรมต้นแบบใช้เวลามากในขั้นตอนลงรายละเอียด การสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ต้องใช้ศิลปะและงานช่างไทย เหล่าประติมากรและนายช่างศิลปกรรมช่วยกันดำเนินการ ตั้งแต่ขั้นตอนจัดทำต้นแบบประติมากรรม ทำโครงสร้างเหล็ก แผ่นไม้ น้ำหนักของดินเหนียวที่นำมาปั้น   ส่งต่องานแม่พิมพ์จัดทำแม่พิมพ์  ถอดพิมพ์ สู่งานเทคโนโลยีหล่อโลหะ แต่ละส่วนงานมีนายช่างผู้เชี่ยวชาญดำเนินการร่วมกัน

“ ขณะนี้การจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์อยู่ในขั้นตอนดำเนินการหล่อโลหะ ซึ่งคืบหน้าไปมาก เริ่มประกอบชิ้นส่วนในส่วนพระรูปของรัชกาลที่ 7 ทำคู่ขนานกับงานพิมพ์พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ต้นแบบเป็นปูนปลาสเตอร์    ทุกขั้นตอนต้องพิถิพิถันและระมัดระวัง เพื่อให้ทุกขั้นตอนจัดสร้างมีความสมบูรณ์ เนื่องด้วยพระบรมราชานุสาวรีย์มีขนาดใหญ่มาก คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2567 นี้ ในกรุงเทพฯ มีพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9 ที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9 สนามม้านางเลิ้ง ขนาด 4 เท่าพระองค์จริงเช่นกัน หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์  “นายภราดร  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านประติมากรรม กล่าวในท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.สั่งวางมาตรการลดเสี่ยงโบราณสถานตลอดฤดูฝน

13 ก.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย รู้สึกห่วงใยชาวจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมากที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด

มั่นใจวัดไชยวัฒนารามรอดน้ำท่วม

5 ก.ย.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร  กล่าวว่า จากการประชุมเตรียมแผนรับมือสถานการณ์น้ำร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวานนี้ ซึ่งกรมชลประทานได้แจ้งการปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เพื่อรองรับปริ

กำชับดูแลโบราณสถานลุ่มเจ้าพระยา หวั่นน้ำท่วม

28 ส.ค.2567 -น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รับน้ำภาคเหนือที่ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากหน่วยงานในสังกัด โดยกำชับดูแลพื้นที่โบราณสถานกับศาสนสถาน และพื้นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

วธ.ตั้งศูนย์ประสานงานโบราณสถานน้ำท่วม

24 ส.ค. 2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้รา

น้ำท่วมโบราณสถานเมืองน่าน

23 ส.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดน่าน เนื่องจากเมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้มีน้ำไหลเข้าท่วมหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเมือง ซึ่งมีวัดและโบราณสถานสำคัญหลายแห่ง เบื้องต้นพบว่า น้ำได้ไหลท่วมพื้นที่โบราณสถานวัดภูมินทร์

ทำแผนรับมือจุดเสี่ยงน้ำท่วมอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา

11 ส.ค.2567 - น.ส.สุดาวรรณ หวังศุกภิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามแผนบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยยังพื้นที่โบราณสถานริมแม่น้ำ