นับตั้งแต่โลกตกอยู่ในภาวะโลกร้อน และก้าวมาสู่ภาวะโลกเดือด ภาคอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ต่างถูกจับตามองว่าเป็นต้นตอการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจะมีการปรับตัวอย่างไร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือทำการผลิตโดยที่ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนหรือทำให้ก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ได้ในที่สุด
เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทย ก็กำลังตื่นตัวกับการปรับทุกภาคส่วนของการผลิตเข้าสู่โหมด”ความยั่งยืน -เศรษฐกิจหมุนเวียน”อย่างรอบด้าน แต่ในกลุ่มที่เป็นนิคมอุตสาหกรรมเจ้าใหญ่อย่าง บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ดินนิคมอุตสาหกรรมและที่ดินสร้างโรงงาน รวมถึงโรงงานและคลังสินค้าสำเร็จรูป พร้อมด้วยบริการด้านอสังหาริมทรัพย์อย่างครบวงจร ในอาณาจักรที่กินพื้้นที่กว่า71,800 ไร่ อันประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมถึง 12แห่ง มีโรงงานอุตสาหกรรมกว่า1พันแห่ง
หลักๆของอาณาจักรนิคมอุตสาหกรรมของ WHA ส่วนใหญ่ เป็นนิคมอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท (ระยอง) และ นิคม อุตสาหกรรมนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 และ 2 รวมถึง นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 4 แห่ง เป็นนิคมสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย บริษัทยานยนต์ชั้นนำหลายบริษัทต่างมาลงทุน ณ นิคมแห่งนี้ ได้แก่ ฟอร์ด มาสด้า เกรท วอลล์ มอเตอร์ ซูซูกิ เอสเอไอซีมอเตอร์เพื่อผลิตรถยนต์เอ็มจีสัญชาติอังกฤษ บีวายดี และฉางอัน รวมทั้งผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์กว่าอีก 331 รายจากทั่วโลกด้วย นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) ที่เป็นสถานที่ตั้งสำคัญของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
เป็นเวลากว่า 3ปีที่ นับว่า WHA มีความตื่นตัวในการปรับภาคการผลิตในอาณาจักร ไปสู่ โมเดลการทำธุรกิจบนความยั่งยืน หรือแนวคิดการทำธุรกิจที่มีแนวคิด ESG (Environmental Social Governance ) และเอาจริงเอาจัง อย่างไม่หยุดนิ่ง ไม่ใช่เพียงแค่เป็นการทำตามเทรนด์หรือกระแสที่มาแบบฉาบฉวย แต่ดำเนินการในวิถี “ความยั่งยืน” ที่เน้นการสร้างมาตรฐานและบรรทัดฐาน ในความเติบโตที่ครอบคลุม ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆกับการปฎิรูปองค์กร โดยเริ่มวางโรดแมปในปี 2564 หัวใจหลักการเปลี่ยนแปลงก็คือ การพัฒนา ด้านเทคโนโลยีให้แข็งแกร่ง เพื่อก่อเกิดความเติบโตทั้งในด้านธุรกิจและความยั่งยืนในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะการควบคุมต้นทุนให้อยู่ในเป้าหมายที่ต้องการ
ปจงวิช พงษ์ศิวาภัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าจากพื้นฐานของ WHA มี 4 Business Hub ซึ่งก็คือ ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงานและธุรกิจดิจิทัล เราหวังให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ควบคู่ไปกับการ ทรานส์ฟอร์มองค์กรและเตรียมความพร้อมให้บุคลากร จนถึงปัจจุบัน เรามุ่งใช้เทคโนโลยี AI และ Data Analytics มาใช้ทั้งในการยกระดับการดำเนินงานในทุก ๆ ด้าน ปรับองค์กรเป็น InnovationWorkplace เปลี่ยนระบบต่างๆ ภายในองค์กรด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ปี2023 เราตั้งเป้าจะเป็น Data Driven Organization และในปี 2024 ปรับการใช้ AI ให้เข้ากับธุรกิจเป็นองค์กร AI Transformation เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน
“ฝ้่งนิคมอุตฯทั้ง12แห่งของเรามี Unified Operation Center เป็นการมอนิเตอร์ การใช้น้ำ ใช้ไฟ บางโรงงานปล่อยมลพิษ ออกมา ขณะที่เรามีสัญญากับรัฐว่าต้องมีการควบคุม ทั้งคุณภาพอากาศ และน้ำเสีย ออกจากโรงงานต่างๆ ซึ่งเรามีการบำบัด ก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะ เราจะมีการวัดค่าเป็นออนไลน์ เป็นแล็ป ยูนิไฟน์ โอเปอร์ชั่น เซ็นเตอร์ สามารถมอนิเตอร์ส่วนนี้จากส่วนกลางของWHA ซึ่งเราจะมีการดูแลตลอด 24ชั่วโมง “ปจงวิช กล่าว
เทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง ได้ถูกนำมาใช้ในเรื่องการสร้างความยั่งยืนอย่างเต็มพิกัด ตัวอย่างเทคโนโลยีที่น่าสนใจ และถูกนำมาใช้ใน 12 นิคมอุตสาหกรรมที่ ในเรื่องการดูแล ระบบน้ำ ระบบไฟ แต่ที่น่าสนใจและมีความโดดเด่นอย่างมากนั้นก็คือ การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการดำเนินการของ บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP ที่นำเทคโนโลยีการจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืน มาใช้ทำให้สามารถลดการใช้น้ำดิบจากธรรมชาติโดยการนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ หรือที่เรียกว่า Reclamation Water ได้นำแนวทางการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพของโครงการ Clean Water For Planet ที่ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเหมาะกับการดำเนินงานในนิคมอุตสาหกรรม อาศัยกระบวนการทางธรรมชาติ โดยใช้พืชและแบคทีเรียที่มีความสามารถในการดูดซับของเสียที่ออกจากโรงงานและน้ำที่ผ่านกระบวนบำบัดแล้วนำกลับมาใช้ภายในโรงงานได้อีก
ทำให้ในปี2566สามารถลดการใช้น้ำธรรมชาติลง 7ล้านลบ.เมตร หรือเท่ากับการใช้น้ำอุปโภคบริโภคกว่า 200,000 คน ในปี2567 ลดการใช้น้ำธรรมชาติได้ 10ล้าน ลบ.เมตร หรือเท่ากับการใช้น้ำ220,000 ครัวเรือนและในปี2570 ตั้งเป้าที่จะลดปริมาณการใช้น้ำดิบให้ได้ 30 ล้าน ลบ.เมตร
ยังมีการนำเทคโนโลยี การใช้น้ำที่เก็บรวบรวมได้จาก IoT ต่างๆ รวมถึงระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Meter) ที่ใช้เทคโนโลยี Optical Character Recognition (OCR) ในการเก็บข้อมูลการใช้น้ำจากมิเตอร์ที่มีอยู่เดิม วิธีนี้ช่วยให้สามารถติดตามการใช้น้ำ ตรวจสอบท่อรั่วซึมและจุดที่สิ้นเปลืองน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการใช้ AIวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของโรงงานบำบัดน้ำและระบบส่งต่างๆ
นอกจากนี้ ยังมีการใช้ประโยชน์จากพลังงานน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ โดยใช้แรงดันน้ำส่วนเกินในระบบมาผลิตไฟฟ้าผ่านกังหันน้ำขนาดเล็ก (Hydro Turbine) และเสริมด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์ พร้อมทั้งแบตเตอรี่ที่ช่วยกักเก็บพลังงานส่วนเกินไว้ใช้ในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงแดด สำหรับเป็นพลังงานในกระบวนการบำบัดน้ำรวมถึงระบบจำหน่าย
การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์โรงงานที่อยู่ใน12 นิคมอุตสาหกรรมของWHA ณัฐพรรษ ตันบุญเอก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัทดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เรามีบริการติดโซลาร์เซลล์ให้กับลูกค้าปัจจุบันมีถึง 70 ไซต์ทั่วประเทศ ซึ่งจะมีข้อมูลจากระบบโซลาร์เหล่านี้เข้ามา ตลอดเวลา โดยWHA ได้นำเทคโนโลยีเอไอ เข้ามามอนิเตอร์ บริหารจัดการ เนื่องจาก การติดตั้งโซลาร์ เราต้องการให้สามารถผลิตพลังงานให้มากที่สุดอยู่แล้ว เพื่อให้ระบบโดยรวมสามารถลดคาร์บอนให้ได้มากที่สุด แม้ว่าผลของการลดใช้ไฟจะไม่ได้ชัดเจนมาก แต่โดยเจตนาคือ การเปลี่ยนแหล่งที่มาของพลังงาน จากซอสซิลมาเป็นพลังงานสะอาด ซึ่งขณะนี้ เราใช้พื้นที่หลังคาโรงงานในนิคมที่มีประมาณ 3ล้านตารางเมตร หรือผลที่ได้คือโซลาร์ที่ติดตั้งสามารถผลิตไฟได้ 300 เมกะวัตต์ ไม่นับบ่อน้ำต่างๆที่ใช้ช่วยผลิตไฟฟ้า รวมทั้งพื้นที่เหลืออยู่มาติดตั้งโซลาร์เพิ่มมากขึ้นหรือหากต่อไปมีอนุญาติอาจจะมีการซื้อขายไฟ
“ไฟจากโซลาร์ที่เราขายให้ลูกค้า เซฟคาร์บอนได้มากกว่าไฟที่จัดหาจากส่วนกลาง ที่เราจัดให้ลูกค้า ตรงนี้มูลค่ามูลค่าเศรษฐกิจของลูกค้า “ณัฐพรรษ กล่าว
Mobilix หรือเป็นระบบกรีนโลจิสติกส์ครบวงจรจาก WHA สามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้จำนวนมาก ณัฐพรรษ กล่าวว่า Mobilix จะเป็นตัวช่วยลดคาร์บอน และค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพมาก หากมีการใช้งานรถบรรทุก 1,000 คัน ใน 1 ปี ถ้ามีการวิ่งแบบปกติจะลดคาร์บอนได้เท่ากับการดูดซับจากต้นไม้ที่โตเต็มที่ ได้ถึง 1.6 ล้านต้นซึ่งจะสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้
” ลูกค้าปลายทางของเราอยากทำมาก ยิ่งบอกว่า ทำแบบนี้ จะลดคาร์บอนได้ แต่ยังคงมีค่าใช้จ่ายเท่าเดิม ยิ่งทำให้เขาอยากทำกรีนโลจิสติกส์มากขึ้น “ณัฐพรรษกล่าว
ภาพรวมของการเปลี่ยนองค์กรมุ่งสู่ความยั่งยืน ไปพร้อมๆกับพลิกโฉมกระบวนการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ทำได้อย่างสอดคล้องกัน ไกรลักขณ์ อัศวฉัตรโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ก่อนที่ WHA จะเริ่มต้นทำโปรเจคต์ต่างๆ จะมองถึงกลยุทธ์ก่อนเสมอเรามองภาพมหภาคก่อนว่าเทรนด์โลกคืออะไรซึ่งจะทำให้เรามองเห็นทั้งเทรนด์และโอกาส ซึ่งตอนนี้มี Global tension ระหว่างฝั่งตะวันตกและจีน ทำให้เกิด 3 สิ่งที่น่าสนใจก็คือ Geopolitics ซึ่งมีผลประโยชน์กับธุรกิจเรา เรื่องของ Sustainability ที่เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสนใจ และ เทคโนโลยี ที่สามารถทำให้สิ่งที่ทำอยู่มีประสิทธิภาพดีขึ้น และยังสร้างสิ่งใหม่ๆได้ด้วย ทั้งนี้ WHA มีการวางเป้าหมายเรื่อง Sustain ให้เป็น 100%circularity ในปีเดียวกันกับภาครัฐ เพราะเรื่องความยั่งยืน เป็นสิ่งที่สำคัญมากทั้งในปัจจุบัน และยิ่งในอนาคตนโยบายต่างๆ ในเวลานี้ มีการเน้นย้ำเรื่อง ESG มากขึ้น มีแรงจูงใจให้ทำมากมาย แต่ต่อไปหากใครไม่ทำ จะถูกลงโทษ ทุกคนจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้
” ในแง่ WHA เองเราได้สัมผัสกับลูกค้าต่างชาติทั่วโลกโดยเฉพาะลูกค้ารายใหญ่ๆ เดินเข้ามาปุ๊บ จะมาซื้อที่ดินจากเราถามเราก่อน เราใช้พลังงานจากอะไร ทำให้เรามีการวางเป้าพลังงาน ต้องการที่จะNet Zero ในปี 2050 เช่นเดียวกับมาตรฐานโลกขณะนี้ “ไกรลักชณ์ กล่าว
กระบวนการดำเนินการ ไปสู่ความยั่งยืน ไกรลักขณ์ กล่าวว่า เราพยายามใช้ทุกอย่างจากทรัพยากรเดิมๆที่เรามีและใช้อยู่ แต่นำสิ่งที่ใช้แล้วกลับมาย้อนใช้ใหม่มากที่สุดเริ่มตั้งแต่การดีไซน์ผลิตภัณฑ์ ทำอย่างไรให้ผลผลิตเหล่านั้น ใช้ได้คุ้มค่าและยาวนานที่สุด โดยเรามีการใช้แพลตฟอร์มมาช่วยส่วนนี้ค่อนข้างเยอะ และในแง่ ช่วยทำให้สิ่งที่ผลิตมาใช้ประโยชน์มากที่สุด และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่
” ยกตัวอย่าง Mobilixที่จะมีอายุการใช้งานแบตเตอรีที่จะต้องเปลี่ยนใหม่ซึ่งแบตเตอรี่เหล่านั้นไม่สามารถใช้กับรถยนต์ได้แต่ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนอื่นได้ ทาง WHAก็ได้นำเอาแบตเตอรี่เหล่านั้นไปใช้ในธุรกิจของ WHAUP ใช้งานนับเป็น Second life นำกลับมาใช้ในธุรกิจไฟฟ้า เป็นEnergy Storage หรือใช้กักเก็บพลังงานได้”
นอกจากนี้ WHA ยังมีการวางแผน WHA Circular Innovationปรับใช้กับกระบวนการ ที่ทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจนิคมฯ อสังหาริมทรัพย์ การใช้พลังงาน ว่าสามารถทำอะไร ในแง่นำคอนเซ็ปต์ ของการหมุนเวียนมาใช้ ใน2แนวทาง คือ กระบวนการที่ทำอยู่สามารถทำให้มันดีขึ้น และทำให้มีความยั่งยืนขึ้นได้หรือไม่ พัฒนาธุรกิจให้มีความหมุนเวียนการใช้ทรัพยากร และการพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืน อาทิ P2P Energy Trading แพลตฟอร์มการซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งทำให้ผู้ใช้ไฟ กับคนจัดจำหน่ายไฟมาเจอกัน แล้วมีการซื้อขาย จะลดต้นทุนพลังงาน สามารถลดต้นทุนค่าไฟได้และส่งเสริม การดูดดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศหรือ FDI ซึ่งเขาจะพิจารณาประเทศไทยว่ามีความน่าสนใจแค่ไหน ทั้งในเรื่องภูมิศาสตร์ โครงสร้างพื้นฐ่าน ความสามารถในการเชื่อมโยงกับตลาดต่างๆทั่วโลก และในเรื่องของต้นทุน ในการลงทุน ซึ่งเราทำแพลตฟอร์มการซื้อขายคาร์บอนเครดิตไว้รองรับ ลูกค้าของเราสามารถเทรดคาร์บอน บนแพลตฟอร์มนี้ได้ สิ่งเหล่านี้ เป็นที่เราทำให้เกิดการแข่งขัน
“จะเห็นว่าการทำธุรกิจให้ยั่งยืน บางอย่างทำได้เลยบางอย่างต้องคิดก่อนเพื่อทำในอนาคต ซึ่งในวันนี้เรามีมากกว่า 40โครงการภายใน WHA Group อย่างเรื่องไฟฟ้าก็มีการปรับใช้ไปเล้วกว่าครึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมต่อไปทางเดินรอบๆ ภายในนิคมอุตสาหกรรม จะเป็นวัสดุหมุนเวียนสำหรับเรื่องน้ำเรามีการนำเอาน้ำเสียมาผ่านกระบวนการจนสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง เป็น Green Material ทางเดินรอบๆจะเป็นวัสดุหมุนเวียน วัสดุเหลือใช้จากโปรเจ็กก่อนๆ จะไม่มีการนำวัสดุใหม่ๆมาใช้ เป็นกรีน ลดการใช้น้ำจากธรรมชาติ”
การมุ่งสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมในวันนี้ของWHA ไกรลักขณ์ ยืนยันอีกว่าไม่ใช่ทำตามกระแสเทรนด์โลก เพราะเราทำมานานแล้ว แต่วันนี้ด้วยเทรนด์ESG ทำให้เราดีใจว่า อดีตที่มีอุปสรรค การทำเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็คือ มักจะทำด้วยกฎบังคับ และมองว่าการทำสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสิ้นเปลือง แต่วันนี้ ถ้าเราทำเรื่องเหล่านี้เพื่อดูและสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นการสร้างความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นลูกหลานของเรา.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
IRPC ชูนวัตกรรมขับเคลื่อนองค์กรมุ่งเติบโตอย่างยั่งยืน
IRPC คาดการณ์แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นช่วงฤดูหนาว เช่นเดียวกับกลุ่มปิโตรเคมีที่ความต้องการปรับตัวดีขึ้นจากการเตรียมผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ช่วงเทศกาลปลายปี
4 CEO ชั้นนำ เปิดแนวคิดฝ่าความท้าทายอนาคตที่ยั่งยืน บนเวที SX2024
ความพยายามของประชาคมโลกที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs 2030 (Sustainable Development Goals) ในอีก 6 ปีข้างหน้า
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม
ปตท. พร้อมส่งเสริมทักษะนวัตกรรมในชุมชนสู่ความยั่งยืนด้านพลังงานจัดพิธีมอบ ใบประกาศนียบัตร หลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน รุ่นที่ 10
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดและมอบประกาศนียบัตร ผู้สำเร็จหลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน (พพช.)