วิถีถิ่น วิถีไทย จัดใหญ่ที่โคราช กระตุ้นเศรษฐกิจอีสาน

เริ่มแล้วสำหรับงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย“เศรษฐกิจวัฒนธรรมอีสานสร้างสรรค์”ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิด พร้อมด้วย นายวิจิตร กิจวิรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา วัฒนธรรมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนหน่วยงานรัฐ เอกชน เครือข่ายวัฒนธรรม เข้าร่วมเมื่อค่ำวานนี้

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายนำวัฒนธรรมไทยมาสืบสาน รักษา และต่อยอดไปสู่มิติใหม่ๆให้เกิดการสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของไทยเพื่อสนับสนุนมิติทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมและขับเคลื่อน Soft Power การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยมุ่งยกระดับมหกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นระดับชาติเพื่อเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวของคนไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม รวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สร้างอาชีพและรายได้สู่ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ ดังนั้น วธ.จึงจัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา ภาคเหนือที่จังหวัดพิษณุโลก ภาคกลางและภาคตะวันออกที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทยทั้ง 3 ภูมิภาคจัดไปแล้วระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “เศรษฐกิจวัฒนธรรมอีสานสร้างสรรค์” วันที่ 5-9 กันยายน 2567 ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

ปลัด วธ. กล่าวอีกว่า สำหรับงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “เศรษฐกิจวัฒนธรรมอีสานสร้างสรรค์” มีกิจกรรม ได้แก่ การแสดงศิลปวัฒนธรรมโดยศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน เด็กและเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยการแสดงของเด็ก เยาวชนจังหวัดนครราชสีมา การแสดงเพลงโคราช ชุดเพลงโคราชปราชญ์วิถีถิ่นโดยคณะบุญสม กำปัง การแสดงแคนยาว คณะวงเงินแคนยาว บ้านขี้เหล็กใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ การแสดงหมอลำกลอนโดยชมรมหมอลำกลอนฟ้อนอีสานหลานย่าโม จังหวัดนครราชสีมา การแสดงมินิคอนเสิร์ตลูกทุ่งอีสาน ตัส ชนะชัย หนิงๆคำพะนาง จังหวัดกาฬสินธุ์ การแสดงหมอลำประยุกต์ โดยนางราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร ศิลปินแห่งชาติ การแสดงขับร้องเพลงเต๋า ภูศิลป์ การแสดงหมอลำ คณะขวัญใจแฟนแฟน แมน จักรพันธ์ จังหวัดขอนแก่น การแสดงโปงลางโดยคณะวงโปงลางเมืองแสนล้านช้าง จังหวัดร้อยเอ็ด

ขณะเดียวกันมีการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด พระรามราชสุริยวงศ์ โดยวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมาและวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด การแสดงหมอลำโดยนางฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ การแสดงกันตรึมโดยสมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ การแสดงเพลงโคราชโดยนายกำปั่น นิธิวรไพบูลย์ (กำปั่น บ้านแท่น) ศิลปินแห่งชาติและสมาคมเพลงโคราช จังหวัดนครราชสีมา การแสดงโปงลางสายแนนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา การแสดงวงดนตรีลูกทุ่ง โรงเรียนเทศบาล 4 เพาะชำ จังหวัดนครราชสีมา การแสดงลิเก คณะกล้วยหอมบรรจงศิลป์ จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์ นอกจากนี้ มีกิจกรรมการพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “จอมพล คนกันเอ๋ง” Graffiti on Street Street Art and Food และ Lighting & Sound และการแสดงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ บริเวณถนนจอมพล การจำหน่ายอาหาร ของดีโคราช การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด

“งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทยทั้ง 4 ภูมิภาค ทำให้คนไทยแต่ละภาคได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีและเสริมพลังความเข้มแข็งของสถาบันหลักของชาติ ช่วยกระจายรายได้สู่ชุมชนและท้องถิ่น สนับสนุน ภูมิปัญญาพื้นบ้านให้มีพื้นที่ในการนำเสนอคุณค่าของงานศิลปวัฒนธรรมของไทย เพิ่มบทบาทของหน่วยงานทางวัฒนธรรมในพื้นที่ในการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่นให้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวาง ทำให้เด็ก เยาวชนคนรุ่นใหม่และประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้และร่วมสืบสานอนุรักษ์ไว้ นำทุนทางวัฒนธรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมและเศรษฐกิจ และเสริมฐานรากวัฒนธรรมของท้องถิ่น ” นางยุพา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี

จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567  โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล

7 ศิลปินรางวัล'ศิลปาธร' ต้นแบบคนรุ่นใหม่

ศิลปินศิลปาธรล้วนเป็นศิลปินร่วมสมัยรุ่นกลางที่ทุ่มเทพลังความคิด สติปัญญา และจิตใจมุ่งมั่น สร้างผลงานศิลปะร่วมสมัยที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น ปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)ยกย่องเชิดชูเกียรติให้แก่ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัล’ศิลปาธร’ จำนวน  7 สาขา

เปิดงาน'ไทยฟรุ้ง ปรุงไทย' ดึงชุมชนร่วมรักษามรดกภูมิปัญญา

ยิ่งใหญ่กับการเปิดงาน“ไทยฟุ้ง ปรุงไทย” (Thai Taste Thai Fest 2024)  โดย นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน พร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรม

วธ.สั่งวางมาตรการลดเสี่ยงโบราณสถานตลอดฤดูฝน

13 ก.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย รู้สึกห่วงใยชาวจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมากที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด

'นิรันดร์กัลป์'ธีมศิลปะ ภูเก็ตเบียนนาเล่

มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale , Phuket 2025  เปิดตัวผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ นายอริญชย์ รุ่งแจ้ง  และ Mr. David The  พร้อมภัณฑารักษ์ นางสาวมาริสา พันธรักษ์ราชเดช และ Ms. Hera Chan ณ HOUSE OF TIN BARON อำเภอเมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต ตอกย้ำความพร้อมจัด Thailand Biennale ครั้งที่ 4

วธ.ตั้งศูนย์ประสานงานโบราณสถานน้ำท่วม

24 ส.ค. 2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้รา