‘หมอธีระวัฒน์’ ยกรายงานญี่ปุ่น ประเมินผลวัคซีนโควิดกับการเกิดมะเร็ง

23 ก.ย..2567-ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง “วัคซีนโควิดกับการเกิดมะเร็ง” ระบุว่า รายงานจนกระทั่งถึงปลายเดือนเมษายน 2024 ตอกย้ำความเชื่อมโยงของวัคซีน mRNA กับอัตรา ตายสูงขึ้นอย่างผิดปกติ (statistically significant increases) ของมะเร็งทุกชนิดโดยเฉพาะในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen- related cancers) ตามหลังการระดมฉีดเข็มสาม

รายงานจากประเทศญี่ปุ่นในวันที่แปดเมษายน 2024 ในวารสาร Cureus ในเครือเนเจอร์ โดยที่เป็นการรายงาน ประเมินผลกระทบของการระบาดโควิดในประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้เป็นการวิเคราะห์อัตราการตายของมะเร็ง 20 ชนิดในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ข้อมูลของทางการที่เกี่ยวข้องกับการตาย การติดเชื้อโควิดและการฉีดวัคซีนโควิด โดยเป็น การปรับตัวแปรในช่วงอายุต่างๆ (age adjusted mortality)

ผลที่ได้ถือเป็นการค้นพบ ที่น่าตกใจ ในช่วงหนึ่งปีแรกของการระบาดโควิด ไม่พบการตายที่เกิดจากมะเร็งที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ (excess cancer deaths) แต่การตาย กลับเพิ่มขึ้นโดยแปรตามการฉีดวัคซีนโควิด

ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการฉีดวัคซีนสูงที่สุด และในปี 2024 กำลังระดมการฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่เจ็ด https://www.cureus.com/…/196275-increased-age-adjusted… การระดมฉีดทั้งประเทศญี่ปุ่นเริ่มในปี 2021 และ เริ่มเห็นตัวเลขของการตายจากมะเร็งเพิ่มขึ้นคู่ขนานไปกับการฉีดฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สอง

หลังจากที่มีการฉีดเข็มที่สามในปี 2022 พบว่ามีการตายจากมะเร็งที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติ ในมะเร็งทุกชนิดและโดยเฉพาะกับมะเร็งที่ไวหรือตอบสนองต่อ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่เรียกว่า estrogen and estrogen receptor alpha( ERalpha)-sensitive cancers โดยรวมทั้งมะเร็งรังไข่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ต่อมลูกหมาก มะเร็งริมฝีปาก ช่องปาก ช่องลำคอ มะเร็งตับอ่อนและมะเร็งเต้านม

สำหรับมะเร็งเต้านมนั้นในช่วงระยะเวลาปี 2020 พบการตายจากมะเร็งเต้านมลดลง แต่แล้วเปลี่ยนมาเป็นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในปี 2022 พร้อมกับการระดมฉีดทั่วประเทศของวัคซีนเข็มที่สาม มะเร็งตับอ่อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นคงที่ก่อนหน้าระบาดโควิดและมะเร็งอีกห้าชนิดมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามมะเร็งหกชนิดยังมีการตายเพิ่มกว่าที่คาดการณ์ไว้ในในปี 2021 ในปี 2022 หรือในช่วงระยะเวลาทั้งสองปี

ยิ่งไปกว่านั้น มะเร็งสี่ชนิดซึ่งมีการตายสูงอยู่แล้ว ได้แก่มะเร็งปอด ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งตับ ซึ่งมีการตายลดลงก่อนปี 2020 แต่เมื่อเริ่มมีการใช้วัคซีนนั้นอัตราการตายกลับไม่ลดลงมากดังก่อนมีการระบาด

อัตราตาย ของมะเร็งที่พุ่งขึ้นทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าการระบาดของโควิดในช่วงระหว่างปี 2010 ถึง 2019 ในประเทศญี่ปุ่น พบว่าการตายจากมะเร็งมีแนวโน้มลดลงในทุกอายุ ยกเว้นที่อายุ90 หรือสูงกว่า 90ปี

และแม้แต่ในปี 2020 ช่วงที่ยังไม่มีการระดมฉีดวัคซีนและมีการระบาดของโควิดแล้ว อัตราการตายจากมะเร็งก็ยังลดลงในช่วงแทบทุกอายุยกเว้นช่วงอายุ 75 ถึง 79 ปี ในปี 2021 เริ่มเห็นแนวโน้มในอัตราการตายของมะเร็งที่สูงขึ้นและสูงขึ้นต่อเนื่องจนกระทั่งถึงในปี 2022 ในช่วงทุกอายุ ในปี 2021 มีอัตราตายเพิ่มขึ้นจากทุกสาเหตุอย่างมีนัยสำคัญ 2.1% และ 1.1% สำหรับการตายที่เกิดจากมะเร็ง ในปี 2022 การตายจากทุกสาเหตุกระโดดขึ้นเป็น 9.6% และสำหรับมะเร็งสูงขึ้นเป็น 2.1%

การศึกษานี้ได้แยกแยะตามอายุและพบว่าจำนวนการตายจากมะเร็งทุกชนิดจะสูงสุดในช่วงอายุ 80 ถึง 84 ปีซึ่งประชากรในกลุ่มนี้มากกว่า 90% ได้รับวัคซีนสามเข็ม และวัคซีนที่ได้รับนั้นเกือบ 100% เป็น mRNA และเป็นไฟเซอร์ 78% โมเดนา 22%

คณะผู้รายงานยังได้เพ่งเล็งประเด็นของการตายจากมะเร็งดังกล่าวที่ อาจจะมาจากสาเหตุที่มีการคัดกรองมะเร็งน้อยลง และ การเข้าถึงการรักษาได้จำกัดในช่วงที่มีการล็อคดาวน์ แต่อย่างไรก็ตาม คณะผู้รายงานระบุว่า ไม่สามารถอธิบายการกระโดดขึ้นของการตายโดยเฉพาะในมะเร็งหกชนิดในปี 2022 ซึ่งไม่มีข้อจำกัดในการคัดกรองมะเร็งและการรักษาแล้ว และมะเร็งที่มีอัตราตายสูงขึ้นจะตกอยู่ในกลุ่มที่เป็น ERalpha-sensitive ทั้งนี้สามารถอธิบายได้จากกลไกหลายอย่างของวัคซีน mRNA ซึ่ง อยู่ในอนุภาคนาโนไขมัน มากกว่าที่จะอธิบายจากการติดเชื้อโควิดหรือการที่มีการรักษาลดลงในช่วงล็อกดาวน์

นักวิทยาศาสตร์วิจัยอาวุโส ของ MIT  Stephanie Seneff ได้ให้ความเห็นว่ารายงานดังกล่าวชี้ชัดเจนในข้อมูลทางระบาดวิทยาซึ่งสามารถเชื่อมโยงอัตราตายที่สูงขึ้นของมะเร็งหลายชนิดและการที่ได้รับวัคซีนหลายเข็ม ทั้งนี้โดยที่ได้เคยให้ความเห็น ก่อนหน้านี้แล้วโดยยึดถือพื้นฐานกลไกทางวิทยาศาสตร์ทางด้านระบบภูมิคุ้มกันว่าวัคซีนควรจะมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง

โดยที่วัคซีนนั้นทำให้ระบบการตรวจตราเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดมะเร็งนั้นถดถอยลงโดยเฉพาะในระบบ ที่เรียกว่า innate immunity และความบกพร่องห่วงโซ่ ในระบบภูมิคุ้มกัน ที่นำไปถึงการติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้นและมีโรคภูมิคุ้มกันแปรปรวนทำร้ายตัวเองมากขึ้นและทำให้มะเร็งมีการเติบโตแพร่กระจายได้เร็ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมศักดิ์' เตรียมบินไปญี่ปุ่น ตรวจงาน 'ไทยแลนด์ พาวิลเลี่ยน เอ็กซ์โป 2025' หลังเกิดเรื่องฉาว ยันพร้อมปรับปรุง

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์การจัด “ไทยแลนด์ พาวิลเลี่ยน เอ็กซ์โป 2025” ที่โอซ

'หมอยง' ไขข้อโต้แย้ง 'วัคซีนไข้หวัดใหญ่' กับ Hippocratic Oath

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ข้อโต้แย้งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับ Hippocratic Oath

เช็กเลย! อาหารอะไรบ้าง 'ช่วยชีวิต' หรือ 'ทำลายสุขภาพ'

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ประธานศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านการแพทย์บูรณาการและสาธารณสุข และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อาหารเพื่อตนเองและชีวิตอื่น

'หมอยง' แจงการระบาด 'โควิด' ช่วงเทศกาลสงกรานต์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 การระบาดในช่วงสงกรานต์