
12 พ.ค.2568- ศ.ดร.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “โควิด 19 หลากหลายสายพันธุ์ จึงยากที่จะป้องกันการติดเชื้อด้วยวัคซีน และ imprint immunity หรือภูมิคุ้มกันที่จำไว้เดิม จะเป็นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม” ระบุว่า โควิดไวรัส เป็นไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมและ เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมอย่างมากและรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด แพร่กระจายเชื้อได้ง่ายขึ้น แต่ลดความรุนแรงของโรคลงตามกฎเกณฑ์ของวิวัฒนาการ
ระบบภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีน หรือการติดเชื้อ จะยังคงความเดิมของสายพันธุ์เดิม หรือจำไว้เดิม เมื่อได้รับสายพันธุ์ใหม่ หรือฉีดวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ ภูมิคุ้มกันจะไปกระตุ้นความจำเดิม imprint immunity ได้ดีกว่าสายพันธุ์ใหม่ ทั้งที่เราต้องการให้กระตุ้นสายพันธุ์ใหม่ไม่ใช่สายพันธุ์เดิม
จึงเป็นเหตุผลที่ การฉีดวัคซีนซ้ำๆ หรือการติดเชื้อซ้ำมาอีก ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นสายพันธุ์เดิมมากกว่าสายพันธุ์ใหม่ จึงทำให้ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ได้น้อยลง โดยเฉพาะจากวัคซีน
อย่างไรก็ตามการติดเชื้อหรือวัคซีนที่เคยฉีด ร่างกายจะมีหน่วยความจำระดับเซลล์ ต่อตัวไวรัสโดยเฉพาะการทำลายไวรัสในระดับเซลล์ โดยภูมิที่สร้างความจำไว้ให้กับเซลล์ โดยเฉพาะที่เกิดจากการติดเชื้อ และหรือวัคซีน ทำให้การกำจัดไวรัสหลังการติดเชื้อ ได้ดีและเร็วขึ้น จึงเป็นการลดความรุนแรงของโรคลง
ประชากรส่วนใหญ่เคยติดเชื้อแล้ว หน่วยความจำระดับเซลล์ จึงมีความจำที่ดีมากต่อไวรัสโควิดไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด ทำให้การติดเชื้อครั้งที่ 2 หรือครั้งหลังๆ ความรุนแรงจะลดลงตามลำดับ
มีผู้ป่วยรายหนึ่งติดเชื้อแล้วถึง 7 ครั้ง จากการทำงานในหน่วยโควิด และโรคทางเดินหายใจ จึงมีการติดเชื้อซ้ำได้บ่อย และ เห็นได้ชัดเจน การติดเชื้อครั้งแรกรุนแรงที่สุด และการติดเชื้อครั้งหลังๆ แทบจะไม่รู้เลยว่าเป็นโควิด 19 และจากการศึกษาของเรา การติดเชื้อครั้งที่ 2 จำนวนหลายร้อยคน เห็นได้ชัดเจนว่าความรุนแรงลดลง
ในเด็ก หลายคนเคยกลัวว่า เมื่อติดเชื้อโควิดจะทำให้เกิด ความรุนแรงคล้ายหัดญี่ปุ่น (Kawasaki disease) เรียกว่า MIS-C แต่กลับพบว่าเมื่อเข้าสู่ยุคของโอมิครอน อัตราการเกิด MIS-C ได้ลดลงอย่างมาก และอย่างไรก็ตามที่จริง MIS-C ก็พบได้ตั้งแต่ยุคก่อนที่จะมีโควิดเสียอีก
ดังนั้นในระบบของภูมิคุ้มกัน ทำให้ในปัจจุบัน บริษัทวัคซีนโควิด 19 จำนวนมากได้เลิกผลิตวัคซีนแล้ว ที่รู้ยังคงเหลืออยู่ 2 บริษัท ที่เป็น mRNA อยู่ 1 บริษัท และ protein subunit อีกหนึ่งบริษัท แต่การนำเข้าวัคซีนมาในประเทศไทยมีเพียงบริษัทเดียว และมีราคาแพงมาก ซึ่งหาฉีดได้ยากมาก เพราะโรงพยาบาลต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่เอาเข้าโรงพยาบาล เพราะการเก็บรักษาค่อนข้างยาก ดังนั้นความจำเป็นในการฉีดวัคซีนในประเทศไทย จึงมีน้อยมากมาก และเชื่อว่าต่อไปก็คงจะหาวัคซีนในประเทศไทยไม่ได้
โควิด 19 ในปัจจุบันถึงแม้จะพบผู้ป่วยได้มาก แต่ส่วนใหญ่อาการจะน้อยลง และดูแลรักษาเช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจ เมื่อไม่มีอาการก็ไปโรงเรียนได้ไปทำงานได้ ไม่มีการกำหนดว่าจะต้องหยุดกี่วัน
สิ่งสำคัญขนาดนี้คือการป้องกันทางด้านสุขอนามัย ด้วยการล้างมือ ใช้แอลกอฮอล์ ถ้าป่วยให้ใส่หน้ากากอนามัย เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค และการให้ความรู้กับเด็กนักเรียนในการป้องกันโรคทางเดินหายใจ รวมทั้งโรคมือเท้าปากไปพร้อมๆกัน จึงมีความสำคัญมากกว่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
น่าห่วง! อาจารย์หมอจุฬาฯ เผยโควิด-19 รอบ 4 สัปดาห์ เสียชีวิตมากถึง 116 ราย
ในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนคนเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มีมากถึง 116 ราย สูงกว่าไข้หวัดใหญ่ 29 เท่า
น่าห่วง! โควิด-19 พุ่ง ยอดผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิต ทำลายสถิติรายสัปดาห์ของปีนี้อีกครั้ง
ตัวเลขโควิด-19 สัปดาห์ที่ 22 (25-31 พ.ค. 2568) อัปเดต 05.20 น.จาก delayed report ตอนนี้เพิ่มจาก 65,846 ราย ตาย 3 ราย ไปเป็น 73,065 ราย ตาย 6 ราย
"วราวุธ" ห่วงใย พี่น้องกลุ่มเปราะบาง กำชับ พม.ทุกจังหวัด เข้ม มาตรการป้องกัน โควิด-19
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝน มีแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่
น่าห่วง! อาจารย์หมอจุฬาฯ ระบุโควิด-19 สัปดาห์ที่ผ่านมา มากกว่าไข้หวัดใหญ่ 10 เท่า
แม้ตัวเลขขณะนี้ เคสสัปดาห์ที่ 21 (18-24 พ.ค.) จะอยู่ที่ 53,597 ราย ตาย 5 ราย แต่ติดตามต่อไป delayed report อาจทำให้สูงขึ้นกว่านี้ได้อีกมาก
เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง BDMS ส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน เปิดตัวแคมเปญ “BDMS PREVENTIVE VACCINE” มอบสิทธิ์ฉีดวัคซีนราคาพิเศษ สำหรับลูกค้าประกันสุขภาพ
เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมมือกับ BDMS เดินหน้าส่งเสริมการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืนให้คนไทย เปิดตัว
อัปเดต’โควิด’ ช่วง 11-17 พ.ค. ติดเชื้อ 31,688 รายเสียชีวิต 2 ราย วัยทำงาน-มหาลัย นำโด่ง
หากสังเกตจากอีกฐานข้อมูล ที่จำนวนผู้ป่วยสงสัยรายใหม่ประจำสัปดาห์ที่ 20 จะพบว่าตัวเลขสูงถึง 36,258 ราย ซึ่งสูงกว่าจำนวนในรายงานสรุปซึ่งน่าจะเป็น confirmed cases