ส่อเค้าคลื่นใต้น้ำ! ไพบูลย์โดดประชุม กมธ.แก้กฎหมายลูก

เริ่มประชุม กมธ.กฎหมายลูกนดัแรก จ่อถกปมกำหนดเบอร์ ส.ส.เขตและปาร์ตี้ลิสต์ สาธิตลั่นยึดพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ

09 มี.ค.2565 - ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่ …) พ.ศ…. ภายหลังจากได้ตำแหน่งประธานและตำแหน่งต่างๆ โดยมีนายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธาน กมธ.ทำหน้าที่เป็นประธานทั้งนี้ ไม่พบนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะ กมธ. เข้าร่วมประชุม

โดยนายสาธิตให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมถึงกรณีความเห็นไม่ตรงกันในการกำหนดเบอร์ระหว่าง ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ว่าในกฎหมายอาจมีประเด็นที่ถกเถียงกันมากและเห็นต่างกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ส่วนในกฎหมายเลือกตั้งความเห็นต่างในแง่ของบัตรสองใบเบอร์เดียวกันใน ส.ส.เขตหรือบัญชีรายชื่อหรือไม่ เรื่องนี้ต้องพูดคุยกัน และในบางร่างมีการเขียนไปในรายละเอียดว่าต้องสมัครเขตก่อน จึงอาจเป็นไปได้ว่าในเขตนั้น สมัครก่อนเพื่อให้รู้เบอร์เขตและให้บัญชีรายชื่อเหมือนกับเขตนั้น ซึ่งก็จะหมายความว่าทั้งบัตรทั้งเบอร์ในระบบบัญชีรายชื่อและเขตจะไม่เหมือนกันทุกเขต แล้วจะไปพิมพ์บัตรเลือกตั้งแบบไหน เพราะต้องไปสมัครก่อน ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในรายละเอียดของกฎหมาย ยังตอบไม่ได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าไปสู่การพิจารณาของ กมธ.

เมื่อถามถึงความกังวลว่าอาจมีผู้ยื่นต่อศาลให้พิจารณาร่างกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.อาจขัดรัฐธรรมนูญ นายสาธิต กล่าวว่า การพิจารณาเป็นไปตามกฎหมายก็ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ส่วนความเห็นในวาระ 3 เชื่อว่าถ้าเราผ่าน กมธ.แล้ว ที่ประชุมร่วมรัฐสภาก็คงมีความเห็นและให้ความเห็นชอบในการแก้ไขของกมธ. เพราะ กมธ.มาจากตัวแทนของทุกส่วน ทั้ง ส.ว. ฝ่ายค้าน และรัฐบาลจากทุกพรรคการเมือง แต่ในส่วนของรัฐสภาก็เป็นเรื่องของอนาคตที่จะต้องไปพิจารณาในที่ประชุมร่วมรัฐสภา

ถามอีกว่ามั่นใจหรือไม่ว่าจะสามารถประคองการประชุมและการจัดทำกฎหมายลูกให้เป็นไปได้ด้วยดี ประธานกมธ. กล่าวว่า ไม่ต้องประคอง เพราะประธานทำหน้าที่เพียงแค่ควบคุมการประชุม และคิดว่าแต่ละฝ่ายมีวุฒิภาวะ ส่วนการตกลงกันในแต่ละเนื้อหา แต่ละประเด็นที่เป็นเหตุผล เข้าใจว่าทุกฝ่ายอยากให้กฎหมายนี้เสร็จโดยเร็วและเข้าใจกลไกของ กมธ.ดี จึงไม่กังวลอะไร เพราะเวทีนี้มีข้อยุติและมีการลงมติในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ หากใครจะสงวนความเห็นก็เป็นสิทธิ แต่กลไกนี้ก็สามารถเดินหน้าได้อยู่แล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รทสช.' ลั่นเห็นด้วยกับแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลทุกประการ!

'รวมไทยสร้างชาติ' ย้ำจุดยืนเดิมที่มั่นคงแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 ยันการทำประชามติ 3 ครั้งใช้งบมาก แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยศาลและรัฐธรรมนูญ

พรรคร่วมรัฐบาลเคาะ 'ทำประชามติ' 3 รอบ เข้า ครม. อังคารนี้

'ภูมิธรรม' คอนเฟิร์มทำประชามติ 3 ครั้ง เพื่อความปลอดภัย ชง ครม. อังคารนี้ คาดทำรอบแรกเดือน ส.ค. ซัดกลุ่มจ้องเคลื่อนไหวห้ามปชช.ใช้สิทธิ์ ปัดหารือหัวหน้าพรรคร่วมเรื่องนิรโทษกรรม

ถึงคิว 'พปชร.' เป็นเจ้าภาพนัดกินข้าวพรรคร่วมฯ 'เศรษฐา' ขออย่าโยงปรับ ครม.

'เศรษฐา' บอก ถึงคิว พปชร. เป็นเจ้าภาพนัดกินข้าวพรรคร่วมรัฐบาล แต่ยังไม่ได้นัดมา ขออย่าโยงเอี่ยวปมปรับ ครม. ยันไม่มีปัญหาพรรคร่วมฯ พูดคุยกันดี เมินแรงกระเพื่อม ย้ำยึดผลงาน

'ธรรมนัส' เชื่อ 'บิ๊กป้อม' มีชื่อสำรอง หาก 'ไผ่ ลิกค์' คุณสมบัติไม่ผ่านเป็นรมต.

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) พรรคพลังประชารัฐ ได้เสนอชื่อต่อนายกรัฐมนตรีแล้วหรือไม่ กับโควตาที่ยังว่างอยู่ ว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรียังไม่ได้ส่งสัญญาณอะไร