'สาธิต' แจงไม่อยากหวนกลับสูตรหาร 100 ด้วยวิธีสภาล่ม ชี้กระทบความน่าเชื่อถือ

“สาธิต” ย้ำไม่อยากรีเทิร์นหาร 100 ด้วยวิธีสภาล่ม เหตุกระทบเครดิตสภา รับอยากให้ไหลตามกระบวนการ ลั่น ปชป.เข้าประชุมแน่ หากครบองค์ พร้อมโหวตผ่านวาระ 3

9 ส.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่..) พ.ศ. ... ให้สัมภาษณ์กระแสข่าวหลายฝ่ายอยากให้ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พิจารณาไม่ทันกรอบ 180 วัน ในวันที่ 15 ส.ค. โดยจะใช้วิธีไม่เข้าร่วมประชุมรัฐสภาในวันที่ 10 ส.ค. ว่า หากพิจารณาไม่ทันกรอบ 180 วัน จะต้องกลับไปใช้ร่างเดิมที่คำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100 หรือถ้าการพิจารณาเดินหน้าไปแล้วไม่ผ่านวาระ 3 จะต้องเสนอกฎหมายกันใหม่ เท่ากับทุกคนคงต้องการให้พ้น 180 วัน แต่ในฐานะ กมธ.รู้สึกเสียดายสิ่งที่เราร่วมทำกันมาเพื่อให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใสขึ้น เช่น การให้รายงานผลการเลือกตั้งเข้าระบบออนไลน์ แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านมาแล้วรัฐสภามีทางเลือกเช่นนั้นก็ต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่ ส่วนการจะกลับมาร่างเดิมโดยใช้วิธีไหนนั้น เป็นเรื่องที่ประชุมรัฐสภาจะร่วมกันตัดสินใจ แต่ละพรรคจะว่าอย่างไร แต่ ปชป.จะเข้าร่วมประชุม และหากองค์ประชุมครบ ปชป.จะลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 อย่างแน่นอน

ผู้สื่อข่าวถามว่า สิ่งที่เกิดขึ้นอาจทำให้ถูกมองว่านักการเมืองแก้กติกาเพื่อตัวเอง นายสาธิต กล่าวว่า เป็นสิทธิที่จะมองได้ แต่หากเป็นไปตามที่ตนพูดตั้งแต่ต้นที่เข้ามาเป็นประธาน กมธ.ทำกฎหมายนี้ พิจารณาแบบตรงๆ จะไม่เกิดปัญหา แต่ปัญหาเกิดขึ้นช่วงที่มีมติให้เสียงข้างน้อยชนะเสียงข้างมาก สุดท้ายต้องกลับมาแก้ไขให้เป็นไปตามหลักการหาร 100 ที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่แก้มา แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐสภา

เมื่อถามว่า ส่วนตัวคิดว่าแนวทางไหนคือทางออกที่ดีที่สุดเกี่ยวกับประเด็นสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสาธิต กล่าวว่า ตนอยากให้กฎหมายฉบับนี้เสร็จไปตามที่ กมธ.เสียงข้างน้อยมีความเห็น และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นว่าสิ่งที่ถูกต้องเป็นอย่างไร แล้วนำกลับมาแก้ไขในรัฐสภาใหม่ กระบวนการอาจจะยาวแต่ได้ความสมบูรณ์ของหลักการที่ถูกต้องและวิธีที่ กมธ.ได้ร่วมกันพิจารณา แต่น่าเสียดายที่ไม่เกิดช่องทางนี้ อย่างไรก็ดี ตนเคารพมติของทุกพรรคการเมือง เพราะทุกมติของพรรคการเมืองต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ขณะที่ ส.ว.นั้นนอกเหนือจากสิ่งที่ตนจะวิพากษ์วิจารณ์ เพราะที่มาแตกต่างกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 20: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'เผ่าภูมิ' ปัดนายกฯ ส่งสัญญาณนั่งเก้าอี้รัฐมนตรี

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวได้เดินทางมารับเอกสารกรอกแบบฟอร์มตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี เรียบร้อยแล้ว ว่า ตนไม่ให้คอมเมนท์ ยืนยันว่าขณะ

อดีตบิ๊กข่าวกรองเตือนสติ! อย่าหลับตาพูดลืมตาดูสถานการณ์โลกด้วย

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

'หมอชัย' สยบข่าวเปลี่ยนตัวโฆษกรัฐบาล ยันนายกฯไม่ส่งสัญญาณ

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงโฆษกรัฐบาล ว่า ไม่มีนะ ตนไม่เคยได้ยินข่าว และขอย้ำว่าไม่มีตนกองเชียร์ไม่เยอะ

'เศรษฐา' แพลมโผครม.นิ่งแล้ว ไม่มีแกว่ง อุบตอบเก้าอี้หดเหลือแค่ตำแหน่งนายกฯ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ระบุว่าส่งรายชื่อบุคคลที่จะมาเป็นรัฐมนตรีถึงนายกฯ โดยนายกฯย้อนถามว่า “หรือครับ ไม่ทราบ”

'เศรษฐา' ยันถกแกนนำพรรคร่วม ไม่ได้ส่งสัญญาณปรับครม. ถ้าเกิดขึ้นก็รู้เอง

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงการเรียกแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามาหารือที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบฯ ได้มีการส่งสัญญาณปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือไม่ ว่า ไม่มี ไม่ได้พูดคุย เมื่อถามว่า นอกจากพูดคุยเรื่องดิจิทัลวอลเล็ตแล้วมีเรื่องอะไรบ้าง