ศาลฎีกาฯ ยกฟ้อง 'ขุนค้อน-อุดมเดช' คดีสับร่าง รธน.

20 ก.ย.2565 - เมื่อ 19 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ ที อม. 1/2563 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 20/2565 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เป็นโจทก์ ฟ้อง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภาจำเลยที่ 1 และนายอุดมเดช รัตนเสถียร จําเลยที่ 2

คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรและเป็นประธาน รัฐสภาโดยตำแหน่ง จำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใช้อำนาจหน้าที่กระทำการที่มิชอบด้วย รัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยจำเลยที่ 2 สับเปลี่ยนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของสมาชิก วุฒิสภาที่เสนอต่อประธานรัฐสภา โดยไม่มีสมาชิกรัฐสภาลงชื่อรับรอง ซึ่งร่างฉบับใหม่ที่นำมาสับเปลี่ยน มีการ เพิ่มเนื้อหาแตกต่างจากร่างเดิมในหลักการที่เป็นสาระสำคัญ คือผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาซึ่งสมาชิก ภาพสิ้นสุดลง สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้เลยโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 2 ปี

และ จำเลยที่ 1 รู้เห็นให้มีการสับเปลี่ยนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา โดยไม่ ตรวจสอบและสั่งการให้แก้ไขให้ถูกต้อง และจงใจนับกำหนดเวลาแปรญัตติย้อนหลัง ทำให้เหลือระยะเวลาให้ สมาชิกรัฐสภาเสนอคำแปรญัตติเพียง 1 วัน อันเป็นการขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 291 ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 และมาตรา 198

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ

ประการแรกว่า การสับเปลี่ยนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา จำเลย ทั้งสองมีความผิดหรือไม่ สำหรับจำเลยที่ 2 ผู้ดำเนินการนำร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนร่างเดิม ปรากฏตามบันทึก วิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างเดิมว่า วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภาให้สามารถดำรงตำแหน่ง ติดต่อกันเกินกว่า 1 วาระได้เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า เป็นกรณี ที่กําหนดให้สมาชิกวุฒิสภาที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงสามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ติดต่อกันเลย โดยไม่ต้องเว้นวรรค เพียงแต่ร่างเดิมมิได้ระบุว่าแก้ไขตรงมาตราใดที่มีข้อความตามนัยให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ติดต่อกันได้ อันเป็นการบกพร่องในการร่างของร่างเดิม เมื่อร่างฉบับใหม่ระบุแก้ไขตรงมาตรา 116 วรรคสอง ก็เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้ตรงกับที่สมาชิกรัฐสภาที่ร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ก่อนยื่นญัตติ ตามที่ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน

จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล วิป รัฐบาล)แจ้งแก่คณะกรรมการพรรคร่วมรัฐบาลให้ทราบถึงข้อบกพร่องและได้แก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามที่ได้ หารือและที่ได้แถลงข่าวกันไว้แล้วให้ช่วยแจ้งสมาชิกรัฐสภาทราบด้วยและขอแก้ไขให้เป็นไปตามที่ได้หารือกันไว้ อันเป็นการกระทำโดยเปิดเผย และในการประชุมสภาวาระที่หนึ่งซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้เสนอญัตติอภิปรายหลักการ และเหตุผลตามความในร่างฉบับใหม่ ไม่มีสมาชิกที่ร่วมลงชื่อเสนอญัตติตามร่างเดิมทักท้วง เชื่อว่าจำเลยที่ 2 เพียงต้องการแก้ไขร่างเดิมเพื่อให้มีเนื้อความถูกต้องตรงกับความประสงค์ของสมาชิกที่ลงชื่อเสนอมาเท่านั้น หา ใช่มีเจตนาแก้ไขตามความประสงค์ส่วนตัว อีกทั้งจำเลยที่ 2 มิได้ใช้อิทธิพลหรืออำนาจครอบงำสั่งการใดๆบังคับ

เจ้าหน้าที่ของรัฐสภาให้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนได้ พร้อมทั้งคืนร่างเดิมแก่ฝ่ายจำเลยที่ 2ไป มีเหตุผลให้จำเลยที่ 2 เข้าใจว่าเป็นกรณีสามารถทำได้ตามปกติ ส่วนจำเลยที่ 1 ได้สอบถามนิติกรเจ้าของ เรื่องรายงานว่า ตรวจสอบแล้วเห็นว่าแก้ไขได้ และร่างที่นำมาเปลี่ยนมิได้ขัดกับหลักการที่เสนอไว้แต่เดิม สามารถทำได้ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2553 ข้อ 36โดยมีข้าราชการประจำรัฐสภาและอดีต ข้าราชการประจำรัฐสภาซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานจริงให้ถ้อยคำตรงกันว่า ตราบใดที่ประธานรัฐสภายังมิได้สั่งบรรจุ เข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ผู้เสนอญัตติย่อมแก้ไขเพิ่มเติมได้เสมอ ส่วนวิธีการแก้ไขเพิ่มเติม ไม่มี กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ใด แต่มีแนวทางที่เคยปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนานหลายปีว่า การแก้ไข เพิ่มเติมทำได้ 5 แนวทาง

รวมทั้งการนำร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนร่างเดิมซึ่งมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่เคยปฏิบัติ สืบทอดกันมา และจำเลยที่ 1 ได้เรียกผู้อำนวยการสำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไป สอบถามแล้วยืนยันว่าสามารถทำได้ นับว่ามีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อได้ว่าทำได้ หากจำเลยที่ 1 ไม่เชื่อว่าทำได้ หรือเชื่อว่าทำไม่ได้จำเลยที่ 1 ก็ให้ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไปดำเนินการเสนอร่างเข้ามาใหม่ โดยให้สมาชิกรัฐสภาร่วม ลงชื่อเสนอญัตติเข้ามาใหม่ก็ทำได้โดยง่ายเพราะจำเลยทั้งสองสังกัดพรรคการเมืองเดียวกันและผู้ร่วมลงชื่อ เสนอญัตติส่วนใหญ่ก็สังกัดพรรคการเมืองเดียวกันกับจำเลยทั้งสอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาและ เจตนาพิเศษ การกระทำของจำเลยทั้งจึงไม่เป็นความผิดตามคำฟ้องข้อ 3.1

ประการที่สอง การที่จำเลยที่ 1 นำร่างฉบับใหม่ที่จำเลยที่ 2 เสนอบรรจุเข้าระเบียบวาระการ ประชุมรัฐสภาเป็นความผิดหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 กระทำเช่นนั้นเป็นผลต่อเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 เชื่อว่าผู้เสนอญัตติสามารถแก้ไขญัตติได้หากประธานรัฐสภายังไม่ได้สั่งอนุญาตให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการ ประชุมรัฐสภา จึงเป็นการสั่งไปโดยถือว่าได้มีการแก้ไขญัตติเดิมเป็นร่างฉบับใหม่เพียงฉบับเดียวแล้วนั่นเอง จึง ฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 1 มีเจตนาและเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาชิกที่ร่วมพิจารณาญัตติ ฟังไม่ได้ ว่าการกระทําของจําเลยที่ 1 เป็นความผิดตามคำฟ้องข้อ 3.2

ประการที่สาม จําเลยที่ 1 จงใจนับกำหนดเวลาแปรญัตติย้อนหลัง ทำให้เหลือระยะเวลาให้สมาชิก รัฐสภาเสนอคำแปรญัตติเพียง 1 วัน เป็นการกระทำความผิดอาญาตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า เมื่อที่ประชุมรัฐสภา ลงมติให้รับหลักการในวาระที่หนึ่งเมื่อวันที่ 4 เม.ย.2556 และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2553 ข้อ 96 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขั้นคณะกรรมาธิการ สมาชิกรัฐสภาผู้ใด เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ก็ให้เสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธาน คณะกรรมาธิการภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติม เว้นแต่รัฐสภาจะได้กำหนดเวลาแปรญัตติสำหรับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไว้เป็นอย่างอื่น มีผู้ เสนอให้กำหนดเวลาเสนอคำแปรญัตติภายใน 60 วัน

แต่เมื่อที่ประชุมรัฐสภายังไม่ได้มีการลงมติ ถือว่ารัฐสภา ไม่ได้กำหนดเวลาเสนอคำแปรญัตติไว้เป็นอย่างอื่น การที่จำเลยที่ 1 เรียกประชุมรัฐสภาอีกครั้งเมื่อวันที่ 18 เม.ย.56 และที่ประชุมรัฐสภาลงมติให้กำหนดเวลาเสนอคำแปรญัตติภายใน 15 วัน จำเลยที่ 1 วินิจฉัย ให้นับแต่วันรับหลักการตามข้อบังคับข้างต้น เชื่อว่าจำเลยที่ 1 ตีความโดยจำเลยที่ 1 เชื่อเช่นนั้นจริง การจะ เป็นความอาญาตามฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงให้รับฟังด้วยว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่าง ใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ และมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือมิฉะนั้นก็มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

ปรากฏว่าสมาชิก รัฐสภายื่นหรือเสนอคำแปรญัตติทันภายในกำหนด 202 คน คงมีเพียงนาย น.ที่ยื่นคำแปรญัตติไม่ทัน แม้อาจ ได้รับความเสียหายอยู่บ้าง แต่จำเลยที่ 1 ก็ให้โอกาสนาย น. ได้อภิปรายในวาระที่สอง ความเสียหายที่หากมีก็ ไม่มากนัก พยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาและเจตนาพิเศษดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทําความผิด ตามคําฟ้องข้อ 3.3 พิพากษายกฟ้อง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เรืองไกร' ส่งหนังสือด่วนที่สุด เร่ง ป.ป.ช. ฟันจริยธรรม 44 สส.

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า วันนี้ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดทางไปรษณีย์ EMS เพื่อขอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

'ชาญชัย' ชี้ช่อง 'ป.ป.ช.' ยกหลักฐานใหม่ อุทธรณ์ยกฟ้อง 'ยิ่งลักษณ์'

'ชาญชัย' รอคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับเต็ม ยกฟ้อง 'ยิ่งลักษณ์' คดีจัดโรดโชว์ 240 ล้าน แนะ ป.ป.ช. ตั้งหลักยื่นอุทธรณ์ พร้อมชี้ช่องหลักฐานใหม่

'สนธิญา-ธีรยุทธ' ร้อง ป.ป.ช. ฟันจริยธรรมร้ายแรง 44 สส. ก้าวไกล

'สนธิญา-ธีรยุทธ' ร้อง ป.ป.ช. เอาผิดจริยธรรมร้ายแรง 44 สส.ก้าวไกล เสนอแก้ ม.112 'นักร้องร้อยล้าน' หวังตัดสิทธิการเมืองตลอดชีวิต ขู่จากนี้จะเดินหน้าเก็บข้อมูล ใครขัดคำสั่งศาล รธน.

'ศิริกัญญา' ลั่น 44 สส. ไม่หวั่น พร้อมสู้คดี ชี้มีเวลาปั้นแกนนำรุ่นใหม่

'ศิริกัญญา' ลั่น 44 สส. ก้าวไกล พร้อมสู้คดีจริยธรรม ปมลงชื่อแก้ ม.112 ยันไม่กังวล ชี้มีเวลาวางตัวแกนนํารุ่นใหม่ หากถูกศาลฟัน เชื่อส่งต่ออุดมการณ์พรรคได้