เอาอยู่! 'เทพปลอด' ชง 5 แนวทางรับมือ 'พายุโนรู'

27 ก.ย. 2565 - นายปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานด้านนโยบายปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า รัฐบาลต้องเตรียมการรับมือกับพายุโนรูที่จะสร้างความรุนแรงและความเสียหายให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยข้อมูลที่รัฐบาลควรรู้ ได้แก่ 1.พายุโนรูจะเป็นพายุโซนร้อนที่ใหญ่ที่สุดลูกหนึ่ง นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยเคยประสบมา 2.ขนาดของพายุลูกนี้ ครอบคลุมเนื้อที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง รวมพื้นที่ทั้งหมดครึ่งหนึ่งของประเทศ หรือมากกว่า 250,000 ตารางกิโลเมตร 3.ด้วยขนาดของพายุที่ครอบคลุมเนื้อที่ขนาดใหญ่ จะกระทบกับพี่น้องประชาชน 30-35 ล้านคน

4.พายุโนรูจะอยู่ในประเทศไทย 3-5 วัน โดยจะทำให้ฝนตกหนัก 100-300 มิลลิเมตรหรือมากกว่าในบางพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณฝนที่สูงมาก 5.ปริมาณฝนดังกล่าวจะเพิ่มน้ำท่า 100,000 ลูกบาศก์เมตร หรือเท่ากับปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล 10 เขื่อน 6.แม้เขื่อนขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ จะมีความสามารถรับน้ำได้อีก 10,000 ลูกบาศก์เมตร และระบบน้ำในภาคเหนือ รับน้ำได้อีก 10,000 ลูกบาศก์เมตร แต่ขณะนี้พื้นที่ภาคกลางอิ่มตัวแล้ว ไม่มีความสามารถซึมน้ำได้อีก ดังนั้นปริมาณน้ำฝน 100,000 มิลลิเมตร จะมีน้ำเหลือ ไหลลงสู่ภาคกลาง 70,000-80,000 ลูกบาศก์เมตร และบางพื้นที่น้ำจะไหล่บ่าลงมา ในลักษณะหน้ากระดาน

7.พายุลูกนี้ เป็นพายุลูกที่ 16 แต่เป็นพายุที่ให้น้ำมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อผสมความชื้นในทะเลจีนตอนใต้ และมีร่องมรสุมในพาดผ่านตรงกลาง มีหน้าที่เป็นกับดักความชื้นที่ถูกป้อนจากมหาสมุทร รัฐบาลจึงต้องเร่งเตรียมการ 8.ปริมาณน้ำจากพายุโนรู จะไหลลงสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วงเวลาเดียวกันกับน้ำทะเลขึ้นสูง ซึ่งยากต่อการระบายเป็นอย่างมาก 9.เชื่อว่าจะมีพายุเข้ามาอีก 1-3 ลูก แต่ความรุนแรงน้อยกว่า

นายปลอดประสพกล่าวว่า จากการคาดการณ์ดังกล่าว รัฐบาลต้องเตรียมการ 5 ข้อ ได้แก่ 1.ต้องเตรียมการเผชิญเหตุภายในอีก 24 ชั่วโมง โดยต้องทุ่มเทสรรพกำลังในการเผชิญเหตุใน 5 ข้อ 1.1 ตั้งหน่วยเผชิญเหตุประจำตำบล 1.2 เรียกทหารประจำการกระจายไปในตำบล เพื่อช่วยเหลือกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการเผชิญเหตุ

1.3 จัดเตรียมเครื่องมือในการเผชิญเหตุให้พร้อม เช่น เรือบด เชือกฯลฯ 1.4 พื้นที่ที่ได้รับกระทบ เช่น พื้นที่ราบ ควรใช้ทหาร ส่วนพื้นที่บนเขา เจ้าหน้าที่กรมอุทยานและกรมป่าไม้ ประจำการในพื้นที่ใกล้หมู่บ้าน ประชาชน 1.5 ตำรวจ ให้อยู่ในเมืองอย่างเดียว

2. เมื่อผ่านระยะ 3 วันไปแล้วจะเป็นระยะค้นหา ช่วยเหลือ 2.1 เตรียมการอุปกรณ์ช่วยเหลือให้พร้อม เช่น เรือ เฮลิคอร์ปเตอร์ อุปกรณ์ให้กับกลุ่มงานทั้ง 3 กลุ่มข้างต้น

ระยะการฟื้นฟู ต้องทำ 6 เรื่อง 3.1 นำบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาช่วย 3.2 นำบุคลากรด้านสาธารณสุขเข้ามาช่วยเหลือ รักษาโรคที่เกิดจากน้ำนิ่ง 3.3 ส่งของใช้อุปโภคบริโภคให้ประชาชน 3.4 ใช้โรงเรียนและวัดให้เป็นประโยชน์ 3.5 นำทหารจากหน่วยช่าง เพื่อซ่อมแซมสาธารณประโยชน์ 3.6 ให้กรมทางหลวงชลนทและกรมชลประทานซ่อมแซมสาธารณูปโภค

3.บทบาทของรัฐบาลที่ควรจะเป็น 3.1 การตั้งวอร์รูมของรัฐบาล ต้องเพิ่มการทำงานให้มีบทบาทที่ชัดเจนและจริงจังมากกว่านี้ จัดหาบุคลากรที่มีความรู้ และมีอำนาจเต็มเข้าไปสั่งการโดยตรง และต้องเป็นคนรู้จริง ทั้งนักวิชาการ ผู้มีประสบการณ์ ผู้มีความรู้ 3.2 รัฐบาลต้องประกาศเป็นวันหยุดราชการทันทีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (27 กันยายน 2565) เช่นเดียวกับเวียดนามที่ดำเนินการแล้ว ทั้งปิดโรงเรียน สถานที่ราชการ ฯลฯ

4.การตั้งวอร์รูมในทำเนียบรัฐบาล ต้องเปิดระบบทีวีพูลและวิทยุพูล โดยต้องออกข่าวอย่างต่อเนื่อง สื่อสารไปยังประชาชน อย่างเช่น เมื่อครั้งเกิดภัยพิบัติสึนามิ เมื่อปี 2547 เจ้าหน้าที่รายงานของทีวีพูลประจำการที่ตนตลอด

5.รัฐบาลต้องสั่งการให้รัฐมนตรีที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่ประสบเหตุโดยเด็ดขาด ไม่ต้องลงพื้นที่โดยไม่จำเป็น

“สิ่งที่พรรคเพื่อไทยกังวลมากๆ คือ ขณะนี้โชคร้ายที่ประเทศไทยไม่มีนายกรัฐมนตรีตัวจริง สร้างความกังวลให้กับประชาชน เพราะไม่กล้าสั่งการหน่วยงาน พรรคร่วมรัฐบาลยังมีการแตกขั้ว วินาทีนี้ มีพายุใหญ่ลูกใหญ่ที่สุดในโลก 3 ลูก เป็นเสียงเตือนภัยให้กับรัฐบาลในปัจจุบันและรัฐบาลในอนาคตว่า เกิดความผิดปกติ เชื่อได้ว่าเกิดภาวะโลกร้อน รัฐบาลต้องเตรียมตัว เตรียมแผน เตรียมสมองให้พร้อม พรรคเพื่อไทยเราคิดเรื่องนี้เยอะ เตรียมพร้อมไว้เยอะ เคยทำ จึงรู้เรื่องนี้ ท่านต้องทำเรื่องนี้อย่างจริงจังตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป หวังว่าที่พรรคเพื่อไทยให้สติในวันนี้ท่านจะฟัง เราเตือนเพราะเป็นห่วงประชาชน เรามีความรู้ มีประสบการณ์และไม่อยากให้ประชาชนเดือดร้อนอีก”นายปลอดประสพ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือน 27 จังหวัดฝนตกหนักถึงหนักมาก กรุงเทพฯ ร้อยละ 70 ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลางมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ส่วนภาค

ตราดอ่วม! พายุพัดถล่ม ต้นไม้โค่นล้มกว่า 30 จุด ไฟฟ้าดับนานกว่า 24 ชั่วโมง

นายนิพล ยนจอหอ ผู้จัดการการไฟฟ้าภูมิภาคตราด กล่าวว่า เกิดพายุรุนแรงพัดผ่านจังหวัดตราดเมื่อเย็นวานนี้ ทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ และขนาดเล็กล้มทับสายไฟ และกระชากเสาไฟหักในหลายจุด และเกิดขึ้นในทุกอำเภอ ซึ่งหลังเกิดเ

เด้ง! ผู้บริหารชลประทานตราด เจ้าของวลี 'ถ้าเป็นเทวดาบอกได้'

ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารโครงการชลประทานตราดกับผู้บริหารท้องถิ่น โดยเฉพาะคำพูดของนายขรรค์ชัย ไชยคง หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและบำรุง ที่ระบุตอนหนึ่งในห้องประชุมเมื่อ 22 ก.ค.

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 26 จังหวัด พายุ 'แคมี' อ่อนกำลังลง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและด้านตะวันตกของภาคกลาง

กรมชลฯ เตือน 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา เฝ้าระวังน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้นกว่า 1 เมตร

นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน ออกหนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 2/2567 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ไปยังผู้ว่า

กรมอุตุฯ เตือน 30 จังหวัดเจอฝนตกหนัก 60% ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน