25 ก.ค.2567 - นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน ออกหนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 2/2567 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เตรียมรับสถานการณ์น้ำ และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้าน ที่ประกอบกิจการในแม่น้ำเจ้าพระยา และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
เนื่องจาก คาดการณ์ว่า ใน 1-3 วันข้างหน้า ปริมาณน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2 จ.นครสวรรค์ รวมกับปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขา ที่ไหลไปรวมกันเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นระหว่าง 1,500-1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นในอัตรา 800-1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อน บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ บริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง , คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา แม่น้ำน้อย มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 80 เซนติเมตร ถึง 1.10 เมตร โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน
สำหรับสถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยา วันนี้ ปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2. จ.นครสวรรค์ มีปริมาณ 1,135 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ที่ อ.เมืองชัยนาท มีปริมาณ 1,320 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 97 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อยู่ที่ระดับ 16.15 เมตร(รทก) น้ำระบายท้ายเขื่อน 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำท้ายเขื่อน ที่ อ.สรรพยา สูงขึ้นจากเมื่อวาน 46 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 10.10 เมตร(รทก) ต่ำกว่าตลิ่ง 6.24 เมตร(รทก)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อากาศเย็นหลงฤดู! 16-20 มี.ค. อุณหภูมิลดฮวบถึง 8 องศา
นายนัฐวุฒิ แดนดี รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาฝ่ายวิชาการ และโฆษกกรมอุตุนิยมวิทยา แถลงว่า ในช่วงวันที่ 16 - 20 มีนาคมนี้ ประเทศไทยตอนบนจะมีสภาพอากาศแปรปรวน
อุตุฯ เตือน 16-20 มี.ค. พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงฟ้าผ่า ก่อนอุณหภูมิลดลง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดในภาคเหนือ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
พยากรณ์ 15 วันล่วงหน้า อากาศร้อนขึ้น สลับพายุฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 10 - 24 มี.ค. 68
อุตุฯ เตือนอุณหภูมิสูงขึ้น อากาศร้อนกลางวัน ฝนฟ้าคะนอง 10-40%
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทย
เช็กเลย! 'พายุฤดูร้อน' ถล่มจังหวัดไหนบ้าง 7 - 8 มี.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา, อุตุฯ, พยากรณ์, เตือน, ฝนตก, ฝนฟ้าคะนอง, อากาศเย็น, ฝนตกหนัก, อากาศเปลี่ยนแปลง, น้ำท่วม, น้ำป่าไหลหลาก, คลื่นสูง, อากาศร้อน
อุตุฯ เตือนพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง 54 จังหวัด ลมแรง-ลูกเห็บตก
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น