'หมอวรงค์' เผยหลักคิด 7 ข้อ ปฏิรูปการเมืองทั้งระบบ ตัดระบบทุนออกจากการเลือกตั้ง

'หมอวรงค์' เผยหลักคิด 7 ข้อ ฏิรูปสถาบันการเมืองทั้งระบบต้องทำลายการใช้เงินทุนในระบบการเมืองให้ได้ ทั้งการที่ทุนใหญ่บริจาค หรือนายทุนลงมาเล่นเอง รวมทั้งกกต.จะต้องวางระบบกฏเกณฑ์ใหม่ๆ

12 ต.ค. 2565 - นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ ปฏิรูปสถาบันการเมืองทั้งระบบก่อน มีเนื้อหาดังนี้

ระหว่างปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ กับปฏิรูปสถาบันการเมืองทั้งระบบ เราควรจะไปทางไหนดี

ผมคงไม่ต้องพูดถึง เรื่องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ 10 ข้อ เพราะโดยสาระนั้น เป็นการลดสิทธิต่ำกว่าความเป็นประชาชน ด้วยรูปแบบหบาบคาย ให้ร้าย ข้อมูลเท็จ จนศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินืจฉัยว่านี่คือการล้มล้าง
ในฐานะที่ผมเป็นนักการเมือง สิ่งที่ผมเห็น พรรคการเมืองส่วนใหญ่ๆแต่ละพรรค มีเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นับพันล้านบาท มีการซื้อส.ส. แม้กกต.จะกำหนดให้ส.ส.1คน มีค่าใช้จ่าย 1.5ล้านบาท แต่ในความเป็นจริง การใช้จ่ายในพื้นที่ สูงถึง 20-30ล้านบาท ต่อเขตต่อคน

ส.ส.ส่วนใหญ่ มาจากการซื้อสิทธิขายเสียง ในสภา เรายังได้ยินคนพูดถึงกล้วย รวมทั้งมีข่าวรับเงินเพื่อล้มรัฐบาล จึงไม่แปลก ประชาธิปไตยจึงเป็นแบบนี้

แม้จะมีส.ส.มาจากการเลือกตั้ง แต่อำนาจสุดท้าย จึงอยู่ที่นายทุนพรรคที่ลงทุน ส.ส.จึงมีหน้าที่ เดินตามนายทุนพรรคกำหนด ออกกฎหมาย ระเบียบ สัมปทานเพื่อเอื้อผลประโยชน์

ยกเว้นบางพรรค นายทุนลงมาเล่นเอง จ่ายเอง ส.ส.ก็มีหน้าเดินตามเจ้าของพรรค กำหนดทิศทางให้เล่น ถ้านายทุนพรรคนี้ต้องการ ล้มล้างสถาบัน ทุกคนก็จะเดินตาม

ถ้าพรรคนี้ต้องการโกงอย่างเดียว ทุกคนก็จะเดินตาม โดยที่ทุกพรรคอ้างมาจากประชาชน แต่ก็ไม่เคยเห็นหัวประชาชน ยกเว้นตอนหาเท่านั้น

การฏิรูปสถาบันการเมือง ทั้งระบบจึงต้องทำลายการใช้เงินทุน ในระบบการเมืองให้ได้ ทั้งการที่ทุนใหญ่บริจาค หรือนายทุนลงมาเล่นเอง รวมทั้งกกต.จะต้องวางระบบกฏเกณฑ์ใหม่ๆ ภายใต้เทคโนโลยีที่มีอยู่(ไม่พูดถึงระบบการเลือกตั้ง) โดยมีหลักคิดกว้างดังนี้

1.ต้องยอมรับว่า พรรคการเมืองที่อ้างว่า เป็นพรรคของประชาชน นั้นไม่มีอยู่จริง ทุกพรรคมีเจ้าของ จะเป็นนายทุนลงมาเล่น หรือทุนใหญ่จ่ายอยู่ข้างหลัง

2.การที่คนดี มีความสามารถ อยากจะเสียสละ เอาความรู้ความสามารถมาช่วยชาติ บ้านเมือง ทำไมจะต้องให้เขาเสียเงิน หรือไปขอเงินจากเจ้าของพรรค หรือนายทุนพรรค

3.ถ้ายังปล่อยให้มี การลงทุนทั้งส่วนตัว หรือจากนายทุน มีการซื้อสิทธิขายเสียง จึงเกิดการถอนทุน นำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่น เอื้อธุรกิจทุนผูกขาด เป็นวงจรอุบาทย์ มีการรายงานว่า การทุจริตคอรัปชั่น ตกปีละ 300,000 ล้านบาท

4.แม้รัฐธรรมนูญ จะให้สิทธิ์ส.ส.เป็นอิสระ แต่การรับเงินเขามาแล้ว ส.ส.จึงไม่ได้เป็นตัวแทนประชาชน แต่เกรงใจนายทุน ทำให้พรรคการเมือง ต้องตอบสนองนายทุน มากกว่าประชาชน พรรคการเมืองจึงไม่ใช่ รวมกันเพราะอุดมการณ์ แต่รวมเพราะเงินทุน และผลประโยชน์

5.กกต.ควรตั้งงบประมาณ หาเสียงให้ผู้สมัครส.ส. ที่ผ่านเกณฑ์พรรค กำหนดรายละไม่เกิน 5แสนบาท ไม่ต้องติดป้ายใหญ่ ข้างถนนจนเลอะ ทำเหมือนประเทศพัฒนาเช่นญี่ปุ่น สิงคโปร์ ให้ติดป้ายขนาดเล็กเอ3หรือเอ4 ตามบอร์ดที่กำหนด มีรถหาเสียง1คัน ให้ผู้สมัครปราศรัย

6.การใช้จ่ายผู้สมัคร ให้ใช้ mobile banking เพราะระบบจะถูกบันทึกทั้งหมด ตรวจสอบง่าย ใครใช้จ่ายเงินสด ถือว่าผิดกฏหมาย และคนรับเงินไม่ผิด พร้อมมีสินบนนำจับ เพื่อป้องกันการซื้อขายเสียง ใครใช้เงินผิดประเภท ผิดระเบียบ ระบบจะบันทึกไว้หมด

7.กกต.เป็นองค์กรที่ ควบคุมการเลือกตั้ง ต้องเข้มงวดต่อการซื้อเสียง นโยบาย ที่นำไปสู่การจาบจ้วง ล้มล้างสถาบัน รวมทั้งนโยบาย ที่นำไปสู่ความเสียหายของประเทศ

แค่วางกฏเกณฑ์ ตัดระบบทุนออกจากการเลือกตั้ง โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย ใช้งบแผ่นดินไม่มาก จะคุ้มค่ามากที่นักการเมือง ไม่ต้องอาศัยกลุ่มทุน เปิดโอกาสให้คนดีๆ มาเสียสละเพื่อบ้านเมือง

ไตร่ตรองดูครับ เป้าหมายประเทศ คือตอบสนองความต้องการประชาชน เพื่อความอยู่ดีกินดี เราควรปฏิรูปสถาบันการเมืองทั้งระบบ หรือสถาบันพระมหากษัตริย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มือปราบโกงจำนำข้าว ปล่อยคลิปเตือน 'ผู้บริหาร ธ.ก.ส.' เสี่ยงคุกเซ่นดิจิทัลวอลเล็ต!

ผู้บริหารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ต่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย