16 ม.ค.2566 - ที่รัฐสภา นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวที่มีการแบ่งฝั่งของ ส.ว. เลือกหนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ว่า ส.ว. มีการแบ่งเป็น 2 ฝั่งจริง และยอมรับตามสภาพว่า ส.ว.ชุดนี้มาจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งใน คสช. มีผู้หลักผู้ใหญ่หลายคน เพราะฉะนั้นการเสนอชื่อในการเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากคนคนเดียว ซึ่งขณะนี้อาจมีแนวทางความเห็นหลายกลุ่ม หลายพวก
แต่เชื่อว่าในท้ายที่สุด จะมีเสียงแตกออกไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งโดยรวมส่วนใหญ่วุฒิสภาจะต้องเอาประเทศ เอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง การที่จะเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นหน้าที่สำคัญของ ส.ว. ซึ่งมีวาระ 5 ปี จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมาทำหน้าที่นี้
นายเสรี กล่าวต่อว่า ดังนั้น ต้องมีสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ หากเสนอคนดีเข้ามาก็ต้องสนับสนุน แต่หากดูแล้วมีปัญหาสร้างความแตกแยก อยู่ในกลุ่มทุจริตคอร์รัปชัน เล่นการเมือง ไม่ได้เห็นผลประโยชน์ของบ้านเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจ ย้ำว่าส่วนใหญ่ ส.ว.จะเป็นไปในทางทิศทางเดียวกัน
สำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้าจะมีการแข่งกัน ระหว่างพล.อ.ประยุทธ์ และพล.อ.ประวิตร หรือไม่นั้น นายเสรี เชื่อว่า เมื่อเป็นพรรค แยกกันแล้ว อย่างไรก็แข่งกันทำงานทั้งนั้น แต่เวลาแข่งกันแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าสามารถที่จะเอาฝ่ายการเมืองของแต่ละพื้นที่มาอยู่ที่พรรคตนเองได้มากน้อยแค่ไหน
“คนเก่งอย่างไร คนดีอย่างไร ถ้าไม่มีหัวคะแนน ไม่มีพรรคไม่มีพวก ไม่เคยสร้างคุณงามความดีมาก่อน ก็ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ ดังนั้นเมื่อแยกกันเดินแล้ว แต่ละคนก็ต้องหาคนที่มีคะแนนเสียงมาอยู่กับพรรคของตนเอง ขึ้นอยู่กับว่ามากน้อยแค่ไหน และวิธีไหน และนั่นคือคำตอบว่าพรรคไหนได้คะแนนมากแค่ไหน”นายเสรี กล่าว
นายเสรี กล่าวด้วยว่า บางพรรคการเมืองมีนโยบายดี ประชาชนสนใจ ก็จะได้คะแนน แต่หากเสนอประเด็นเอาแต่สร้างความแตกแยก ปฏิรูปสถาบัน โดยไม่ได้ดูว่าวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างไร ตนคิดว่าก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้คะแนนเสียงจากประชาชน ดังนั้นแต่ละพรรคการเมืองก็ต้องมีกลยุทธ์และทิศทางของตนเอง เพื่อซื้อใจ ซื้อเสียงของประชาชนด้วยผลงานและนโยบายของตนเอง
"จากการที่ ส.ว. ลงไปสังเกตการณ์ การเลือกตั้งซ่อมแต่ละครั้ง มีการใช้เงินจำนวนมาก แต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ยังทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐาน ประชาชนก็ไม่กล้าไปเป็นพยาน มองว่ามีโอกาสสูงที่จะใช้เงินในการเลือกตั้งครั้งหน้า ทั้งนี้ ต้องย้อนกลับไปดูกฎหมายว่าจะทำอย่างไร
ไปๆมาๆ คนที่กล้าซื้อเสียง กล้าทำผิดกฏหมาย สุดท้ายชนะทุกที ต้องกลับมาดูกฎหมาย เพราะกฎหมายผิดทั้งคนให้และคนรับ จึงไม่มีใครกล้าแสดงตัวออกมาเป็นพยาน” นายเสรี กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,
นายกฯอิ๊งค์ ยืนยันจุดยืนรัฐบาล ไม่มีเจตนาแทรกแซงกองทัพ
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ว่า เรื่องนี้มีความคิดเห็นต่างกันอยู่แล้วก็ต้องรับฟังทุก
'แพทองธาร' บอกชัด 12 ธ.ค. เวลาไม่เหมาะสมตอบกระทู้สภาฯ ติดแถลงผลงานรัฐบาล
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีฝ่ายค้านเรียกร้องให้ไปตอบกระทู้ในสภาฯ มีแผนจะไปตอบบ้างหรือไม่ ว่าตนมีแพลนที่จะไปตอบอยู่แล้ว จริงๆอยากไป
อย่าวางใจ 'หัวเขียง-เพื่อไทย' ถอนร่างกฎหมายยึดอำนาจกองทัพ
แม้ดูแนวโน้มแล้ว นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ จากพรรคเพื่อไทยมีโอกาสที่จะถอนร่าง กฏหมายยึดอำนาจกองทั
ดร.เสรี ลั่นรังเกียจ วาทกรรมแซะสถาบัน
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสารโพสต์เฟซบุ๊กว่า เกิดวาทกรรมใหม่ "ใบอนุญาตที่ 2"
อ้าว! 'อมรัตน์' สมเพช 'นักโต้วาที' เมาตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกฯ
นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล หรือ “เจี๊ยบ” อดีตสส.ก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊ก Amarat Chokepamitkul อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล” ถึงนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ