สภาฯ เบรกถก พ.ร.ก.ชะลอใช้กม.อุ้มหาย หลังรัฐบาลยื่นศาลรธน.ตีความ ฝ่ายค้านโวยเตะถ่วง

“ชวน” สั่งสภาฯชะลอถกพ.ร.ก.ชะลอใช้กม.ป้องกันอุ้มหาย หลัง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเข้าชื่อศาลรธน.วินิจฉัย ด้าน “ชลน่าน” โวยใช้กลไกศาลเตะถ่วงบังคับใช้พ.ร.บ.ซัดแรงอุ้มหายโดยครม. “ชินวรณ์” อ้างเพื่อให้เกิดความชัดเจน ชี้ครั้งแรกฝ่ายพรรคร่วมรบ. ยื่นร้องกฎหมายครม.

28 ก.พ.2566 - จากนั้นเวลา 10.15 น. เข้าสู่การพิจารณาเรื่องด่วน พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ

เวลา 13.00 น. โดยมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวชี้แจงหลักการและเหตุผลว่า เมื่อการทำงานเกิดข้อขัดข้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย ได้คำนึงถึงผลร้ายที่จะตามมาหากปล่อยให้ดำเนินการด้วยความไม่พร้อม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชน และสาธารณะโดยตรง ทั้งการบันทึกพยานระหว่างควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ จนอาจทำให้เกิดการโต้แย้งในชั้นดำเนินคดี ส่งผลให้การจับกุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย การบังคับใช้ขาดประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นผลร้ายแรงต่อสังคม อีกทั้งเจ้าหน้าที่ยังต้องเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดี ทั้งทางอาญา และทางวินัย ดังนั้นจึงถือว่ามีความเร่งด่วนอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 ต้องออกพ.ร.ก.แก้ไขพ.ร.บ.อุ้มหายฯ เพื่อเป็นชะลอการใช้มาตรา 22-25 เป็นการชั่วคราว ให้หน่วยงานต่างๆ ได้เตรียมความพร้อมปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อุ้มหายฯ ส่วนมาตราอื่นๆ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 พบหากเจ้าหน้าที่กระทำผิด จะต้องถูกดำเนินคดี และลงโทษตามกฎหมาย การขอชะลอบางมาตรา ไม่ได้ทำให้เกิดการงดเว้นการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด ตนจึงขอให้ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาพ.ร.ก.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส.ส.ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลที่ลุกขึ้นมาอภิปรายส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการออกพ.ร.ก. เพื่อชะลอระยะเวลาการบังคับใช้พ.ร.บ.ป้องกันการอุ้มหายออกไป

กระทั่งเวลา 13.20 น. นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุม แจ้งว่า ขณะนี้มีสมาชิกจากฝ่ายรัฐบาลเข้าชื่อ ขอให้ส่งพ.ร.ก.ดังกล่าวต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ซึ่งจากการตรวจรายชื่อในคำร้อง ปรากฏว่า มีจำนวนสมาชิกตรวจสอบลายมือชื่อจำนวน 100 คน ซึ่งไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของส.ส.เท่าที่มีอยู่ทั้งหมด ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญกำหนด จึงให้ที่ประชุมสภาฯรอการพิจารณาก่อน จนกว่าจะศาลจะมีคำวินิจฉัย

นพ.ชลน่าน กล่าวว่า น่าเสียใจที่กระบวนการพิจารณาของเราไม่แล้วเสร็จ แนวโน้มการอนุมัติจากการฟังสมาชิกทุกคนคัดค้าน ดังนั้น การลงมติเสียงส่วนใหญ่น่าจะไม่อนุมัติ การยื่นเรื่องนี้เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยของสมาชิกฝ่ายรัฐบาล จำเป็นต้องตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าสภาแห่งนี้จะอนุมัติพ.ร.ก.ซึ่งยื่นโดยครม.ที่ควบคุมเสียงข้างมากในสภา นั่นหมายถึงต้องการให้มีการอนุมัติ แต่เมื่อคาดการณ์ว่าพ.ร.ก.จะถูกคว่ำ ก็ไปอาศัยกลไกศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อดึงจังหวะเวลาออก เป็นการบันทึกประวัติศาสตร์รัฐสภาว่าชงโดยครม. กินโดยครม. และอุ้มหายโดยครม.เอง

สิทธิในการยื่นเพื่อไม่ให้อนุมัติควรเป็นเสียงตรงข้ามว่าไม่ควรอนุมัติ ถ้ารัฐบาลอนุมัติ ฝ่ายค้านจึงจะยื่น ทุกคนเห็นเหมือนหมดว่าไม่อนุมัติ การยื่นครั้งนี้แปลเจตนาอื่นไม่ได้นอกจากอาศัยกลไกของศาลที่จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 60 วันในการวินิจฉัย หรือแปลว่า มีเวลา 2 เดือนระงับพ.ร.บ.นี้ไว้ ระหว่างนี้ก็ใช้พ.ร.ก.ที่รัฐบาลออกไว้ ส่งต่อไปถึงรัฐบาลชุดหน้า

ถ้าในช่วงเลือกตั้ง เกิดความเสียหายจากการระงับใช้พ.ร.บ. สมาชิกที่ร่วมลงชื่อเพื่อยื่นต่อศาลต้องรับผิดชอบ

ด้านนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รองประธานวิปรัฐบาล และส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เมื่อฝ่ายรัฐบาลได้ลงชื่อ เพราะเห็นว่าการออก พ.ร.ก. ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา172 จึงมีความจำเป็นต้องยื่นต่อศาลเพื่อวินิจฉัยให้เกิดความชัดเจน อย่างไรก็ตาม พ.ร.ก.นี้ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับพันธกรณีที่จะต้องดำเนินการ พวกตนเป็นส.ส. มีจิตสำนึกในหลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพของประชาชน ฉะนั้น จึงอยากให้ผู้นำฝ่ายค้านเคารพสิทธิในการดำเนินการเข้าชื่อ

“การยื่นให้ศาลเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 เป็นการลดระยะเวลาในการคุ้มครอง ถ้าปล่อยไปกฎหมายจะบังคับใช้เดือนต.ค. แต่ถ้ายื่นศาลใช้เวลาเพียง 2 เดือน ก็จะมีคำวินิจฉัยออกมา และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลร่วมกันยื่นร้องกฎหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้เสนอ” นายชินวรณ์ กล่าว

นายชวน กล่าวว่า ขอบคุณทุกฝ่ายตลอดระยะเวลา 4 ปี ทุกฝ่ายทำงานหนัก ทราบดีเพราะเปฯผู้แทนมา 16 สมัย ประธานรัฐสภา 2 ครั้ง ที่จริงควรประกาศผลงาน อยากบอกว่าสิ่งที่เป็นผลดีเกิดขึ้นต่อประชาชน ท่านทั้งหลายเป็นผู้ริเริ่ม สุดท้ายหวังว่าแม้เราจะไม่มีโอกาสกลับมาทุกคน แต่ขอให้สมาชิกทำหน้าที่ของตัวเองต่อไป การเมืองไม่มีอะไรแน่นอน คนที่ค้านวันนี้อาจได้เป็นรัฐบาลในวันข้างหน้า คนที่เป็นรัฐบาลขณะนี้อาจเป็นฝ่ายค้านในขณะนั้น เราพูดอะไรไปว่าไม่ดีวันนี้ วันนั้นก็ต้องไม่ดีตามด้วย อะไรที่ดีวันนี้ วันนั้นก็ต้องดี ขออวยพรให้ทุกคนประสบความสำเร็จ

จากนั้น นายชวนได้ขอให้เลขาธิการสภาฯ อ่านพระบรมราชโองการพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมรัฐสภา สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่2 พ.ศ.2566 จากนั้นได้สั่งปิดประชุมในเวลา 13.41 น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รัฐสภา' มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอำนาจรัฐสภา ปมจัดทำรธน.ฉบับใหม่

“รัฐสภา” มีมติส่งศาลรธน.ตีความอำนาจตัวเอง ปมแก้รธน.ฉบับใหม่ ด้าน“วันนอร์”แจงยิบ ยึดตาม”ชวน”เคยวินิจฉัยร่างของ”สมพงษ์”มาแล้ว ชี้เป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาวินิจฉัยเพื่อไปต่อแล้วไม่ล้ม ไม่เสียของ

'ก้าวไกล' งดออกเสียงญัตติส่งศาลวินิจฉัยอำนาจรัฐสภา 'ชัยธวัช' ด่าศาลรธน.

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้

'อดิศร' ซัดแรงมีรัฐสภาไปทำพระแสงอะไร จะแก้รัฐธรรมนูญ ยังให้ศาลวินิจฉัยอำนาจประชาชน

นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า อำนาจตุลาการ และอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร แยกกันและถ่วงดุลกัน ไม่ใช่คล่อมเลน มีบางครั้งจะยื่นญัตติได้ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น นั่นฝ่ายตุลาการ แต่เราฝ่ายนิติบัญญัติ เราคิดของเราเองได้

'เอกนัฏ' พร้อมหนุนญัตติเพื่อไทย ถามศาลรธน. บรรจุวาระแก้รธน. แต่ต้องไม่แตะหมวด 1,2

"เอกนัฏ" หนุนถามศาล รธน. แต่ขอเพื่อไทยวางหลักประกัน ไม่แตะหมวด 1-2 แก้รายมาตรา ป้องรัฐธรรมนูญ 60 ไม่ใช่ผลพลอย รปห. ชี้ หากแก้เกือบทั้งฉบับ จะเสียของดี

'รัฐสภา' ถกบรรจุวาระจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ 'ก้าวไกล' หนักใจยื่นดาบให้ศาลรธน.อีกแล้ว

ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ของนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และคณะ เป็นผู้เสนอ

ผงะ! พบศพเหลือแต่โครงกระดูก เกยซอกหินริมทะเล

ร.ต.ท.ณัฐธนน ลิ่มประจวบพงษ์ รอง สว.(สอบสวน) แจ้งว่า ขณะปฏิบัติหน้าที่ได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุ สภ.ปากพนังว่า พบโครงกระดูกมนุษย์ ริมแนวกั้นคลื่นริมชายทะเล ม.9 ต.ท่าพยา อ.ปากพนัง