3 ส.ส.ใหม่ รายงานตัว ช่วงปิดสมัยประชุมรัฐสภา ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

"ราเมศ-ยุพ-อาทิตยา" รายงานตัวเป็นส.ส.ใหม่แล้ว แต่ยังรับหน้าที่ไม่ได้ ติดปิดสมัยประชุมไม่สามารถปฏิญาณตนได้ ด้าน “ราเมศ” เผย แม้เป็นส.ส.ในเวลาสั้นๆขอทำทุกวินาทีให้มีค่า

เมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานเลขาธิการสภาฯ รับรายงานตัว ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ได้รับการเลื่อนลำดับมาแทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 3 คน ได้แก่ นายราเมศ รัตนะเชวง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค ประชาธิปัตย์ ,นายยุพ นานา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และ น.ส.อาทิตยา อะนะฝรั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ ทำให้ จำนวน ส.ส.ตามการรายงานของกลุ่มทะเบียนและสถิติ สำนักบริหารงานกลาง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีจำนวน 403 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ ส.ส.ใหม่ ที่รายงานตัวดังกล่าว ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดได้ เพราะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 115 ระบุว่า ก่อนส.ส.เข้ารับหน้าที่ ส.ส.และส.ว.ต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมแห่งสภาฯ ที่ตนเป็นสมาชิก โดยขณะนี้เป็นช่วงปิดสมัยประชุม ส.ส.ใหม่จึงไม่สามารถปฏิญาณตนได้

ด้านนายราเมศ กล่าวว่า แม้ว่าจะเหลือช่วงระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ส.ส.ไม่มากนักแต่ทุกวินาทีมีค่าในการทำงานให้กับประชาชน มีเรื่องทุกข์ร้อนของประชาชนที่ได้รับเรื่องร้องเรียนมาอีกหลายเรื่องที่ตนจะพยายามติดตามผลักดันให้ปัญหาของประชาชนสำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยเฉพาะเรื่องที่ดินทำกินของประชาชนที่ได้รับเรื่องร้องเรียนมาเป็นจำนวนมาก ขอย้ำว่าทุกวินาทีในการทำงานให้กับประชาชนมีค่าเสมอ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลุ้น! 26 มี.ค.ศาลนัดพิพากษาคดี ’ทักษิณ’ ฟ้อง ‘ชวน’ หมิ่นประมาท ปมแก้ปัญหาชายแดนใต้

26 มีนาคม 67 นัด พิพากษา คดีอาญาที่ นายทักษิณ ชินวัตร ฟ้อง นายชวน หลีกภัย ข้อหาหมิ่นประมาท ต่อกรณีที่นายชวน หลีกภัย ได้บรรยายที่โรงเรียนการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี พ.ศ.2555 โดยได้กล่าวถึงนโยบายการแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสมัยรัฐบาลทักษิณ

ราเมศ ย้อน ต่างคนต่างอยู่ แต่ต้องเคารพกฎหมาย ที่นี่ประเทศไทยไม่ใช่บริษัทของทักษิณ

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวถึงคำสัมภาษณ์ของนายทักษิณ ชินวัตร

ปชป. พร้อมซักฟอก นโยบายประกาศแล้วไม่ทำ-ดิจิทัลวอลเล็ต-หลักนิติรัฐ

นายพิทักษ์เดช เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราช รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงการอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอ

‘ราเมศ’ แย้ง ‘วิโรจน์’ ถ่วงดุลโดยศาลรธน. ยึดกฎหมาย แนะไม่ทำผิดอย่ากลัว

หลักการสำคัญในระบบประชาธิปไตยได้มีการแบ่งแยกอำนาจกันอย่างชัดเจนฝ่ายบริหารฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายมีหน้าที่ตามครรลองในระบบประชาธิปไตย ศาลรัฐธรรมนูญถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจในทางตุลาการย่อมถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสามอำนาจอำนาจหลัก