'ดร.ณัฎฐ์' มือกฎหมายมหาชน ชี้ วันสำคัญของชาติทั่วโลก ประเทศที่มีการปกครองพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้ถือวันพระราชสมภพ เป็น 'วันชาติ'
27 มิ.ย.2566 - สืบเนื่องจากนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล ระบุว่าหากจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ จะให้เปลี่ยน “วันชาติ” เป็นวันที่ 24 มิถุนายนและจัดให้มีการฉลองวันชาติของทุกปี ต่อมาหลายฝ่ายได้มีข้อถกเถียงกันในเรื่องของวันชาติ ล่าสุด นายรังสิมันต์ โรม ได้แจงเปลี่ยนวันชาติ เป็นความเห็นส่วนตัว เชื่อรัฐบาลข้างน้อยตั้งไม่ได้นั้น
ดร.ณัฐวุฒิ. วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง ได้อธิบายและให้ความรู้ทางกฎหมาย ในแง่มุมที่น่าสนใจว่า ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง วันสำคัญของชาติ โดยเฉพาะวันชาติ เป็นวันที่เฉลิมฉลองของประชาชนทั้งประเทศ วันนี้ตรงกับวันประกาศราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2475 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศนับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังอภิวัฒน์สยามเพียงแค่ 3 วัน ส่งผลให้ประเทศไทยปกครองในระบอบใหม่ คือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและแบ่งแยกอำนาจปกครองในระบบรัฐสภา ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ
ดร.ณัฐวุฒิ ระบุ ว่า “วันชาติ” หมายความว่า เป็นวันที่กำหนดเป็นวาระเฉลิมฉลองความเป็นชาติของประเทศนั้นๆ โดยหลัก จะถือเป็นวันหยุดประจำชาติ วันชาติส่วนใหญ่มักจะตรงกับ วันก่อตั้งรัฐ หรือดินแดน หรือวันสถาปนาประเทศหรือวันที่มีเอกราชในรัฐหรือได้รับเอกราชจากการยึดครอง อาจใช้วันสำคัญในประวัติศาสตร์หรือวันสำคัญทางศาสนา ส่วนบางประเทศ ถือวันพระราชสมภพของประมุขของรัฐ โดยเฉพาะรัฐที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อาทิ ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ค สวีเดน ญี่ปุ่น เหล่านี้เป็นต้น
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎร พ.อ.พหลพลพยุหเสนา(ยศในขณะนั้น) นายกรัฐมนตรี มีแนวคิดที่จะกำหนดวันสำคัญของชาติครั้งแรกในประเทศไทย แต่ถือว่าสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งตรงกับกับอภิวัฒน์สยาม คือ วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันเฉลิมฉลองของประชาชนจุดพลุ มหรสพต่างๆ ต่อมารัฐบาลพ.อ.พหลพลพยุหเสนา ได้มีมติคณะรัฐมนตรีและออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี วันที่ 18 กรกฎาคม 2481 กำหนดให้ วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ
การเฉลิมฉลองครั้งแรก วันที่ 24 มิถุนายน 2482 รัฐบาลขณะนั้น ได้จัดเฉลิมฉลองวันสำคัญ 2 อย่าง ในคราวเดียวกัน คือ (1)การเฉลิมฉลอง วันสิ้นสุดสนธิสัญญาเบาริ่งที่ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต (2)เฉลิมฉลอง วันชาติ ในการเปลี่ยนแปลงระบอบรัฐธรรมนูญใหม่ โดยการจัดมหรสพ จะเห็นได้จาก ในการจัดเฉลิมฉลองส่วนกลางบริเวณสะพานพุทธเชื่อมระหว่างจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี สมัยนั้น ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเป็นการฉลองวันชาติเพียงอย่างเดียว
ต่อมาวันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ทำการรัฐประหารจอมพล ป.พิบูลสงคราม ทำให้จอมพล.ป.พิบูลสงครามและพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ลี้ภัยทางการเมืองไปต่างประเทศ ทำให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ามาใช้อำนาจปกครองประเทศในขณะนั้น ต่อมารัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ฯมีแนวคิดเปลี่ยนแปลงวันชาติใหม่โดยให้ถือเอาวันสากล ตรงวันวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ 9 ต่อมามีมติคณะรัฐมนตรี ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2503 ให้ถือวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยแทน
เหตุผลที่เปลี่ยนเช่นนี้เพื่อการเปลี่ยนวันชาติ ให้ตรงกับนานาอารยะประเทศโดยถือแนวทางของประเทศที่ปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนคณะราษฎรที่ถือว่าสำคัญในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการเปลี่ยนแปลงการปกครองและการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญใหม่ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปถึง 21 ปี รัฐบาลใหม่เห็นว่า วันสำคัญของชาติ จะต้องถือเป็นวันสากลที่นานาอารยะประเทศทั่วโลก มีเหตุผลรองรับที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ดังนั้น วันชาติ เป็นวันสำคัญของชาติ ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงต้องถือวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันชาติ
จะเห็นว่า คณะราษฎรให้ความสำคัญวันเปลี่ยนแปลงระบอบใหม่ ถือเป็นวันสำคัญประวัติศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงให้การปกครองของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน หรือที่เรียกกันว่า ระบอบรัฐธรรมนูญนิยม เหตุผลระหว่างปี 2476 ถึงปี 2481 ไม่ได้จัดเฉลิมฉลองวันชาติเนื่องจากอยู่ระหว่างฟื้นฟูระบอบใหม่ของคณะราษฎร เห็นได้จาก การเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทยในวันที่ 3 ตุลาคม 2482 เพื่อให้สอดคล้องกับการเฉลิมฉลองวันชาติในวันที่ 24 มิถุนายน
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ส่วนประเด็นนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.และโฆษกพรรคก้าวไกลโยนหินถามทาง ในวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมาว่า หากจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ จะเปลี่ยนวันชาติเป็นวันที่ 24 มิถุนายนให้เฉลิมฉลองกัน เป็นเพียงแนวคิดที่ย้อนแย้งกลับไปใช้วันชาติเดิม ซึ่งจะต้องผ่านมติคณะรัฐมนตรีประกาศใช้เป็นทางการ หากพรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาลใหม่สำเร็จในการบริหารประเทศ การเปลี่ยนแปลงวันชาติ จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับที่มาของประเทศ การปกครองของประเทศ ประมุขของประเทศประกอบการพิจารณาด้วย หากพิจารณาถึงมติคณะรัฐมนตรีสมัยจอมพลสฤษดิ์ฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงวันชาติ ถือวันพระราชสมภพสอดคล้องกับวันชาติตามหลักสากลแล้ว แม้ผลัดแผ่นดินใหม่ แต่ไม่ได้เปลี่ยนวันพระราชสมภพ โดยวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 มติคณะรัฐมนตรียังคงให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันชาติ เป็นวันเฉลิมฉลองสำคัญของชาติตามหลักสากล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
5 ธันวา วธ.รวมใจจัดกิจกรรมน้อมรำลึก ร.9
4 ธ.ค.2566 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) รวมใจภาคีเครือข่ายด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ทั่วประเทศ จัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ผีแห้งโลงผุ! 'ประเสริฐ' ตบปาก 'โรม' ห้ามพาดพิง 'ชั้น 14'
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ให้สัมภาษณ์ถึงท่าทีของพ
'เอี่ยม' จุก! 'โรม' ชี้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์จากนิรโทษฯ แม้แต่คนของเพื่อไทยที่ไม่มีสิทธิพิเศษเหมือนเทวดาชั้น 14
นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินสายพูดคุยเรื่องแนวทางนิรโทษกรรมกับอดีตพระพุทธอิสระ ในทำนองว่า การนิรโทษกรรมควรเป็นการดำเนิน
'สว.อุปกิต' ฟ้อง 'สส.โรม' 3 คดี 140 ล้าน ท้าเลิกใช้เอกสิทธิ์คุ้มครอง
นายอุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภา(สว.) พร้อมทนายความ เดินทางมาศาล ตามกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องคดี ที่ได้ยื่นฟ้องนายรั
'เศรษฐา' ซวยแล้ว! สส.โรม จ่อเรียกแจงปมตั๋วตำรวจ
นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ แถลงภายหลังการประชุม กมธ. ว่า
เคลียร์ปมร้อน! 'บิ๊กต่อ-กมธ.มั่นคง' ไม่เห็นด้วยดึงตร.จีนเข้ามาดูแลนักท่องเที่ยว
นายรังสิมันต์ โรม ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร พาคณะ กล่าวภายหลังเข้าร่วมประชุมกับ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อสอบถามกรณี