ไทยคว้าชัยชนะ เจ้าภาพงานระดับโลก ท่องเที่ยวยั่งยืน GSTC 2026 ที่จังหวัดภูเก็ต

30 เมษายน 2567- สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ในฐานะหน่วยงานหลัก ร่วมกับ จังหวัดภูเก็ต มูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.) ในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงานประชุมด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Global Sustainable Tourism Conference) ได้ประกาศชัยชนะของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพการจัดงานระดับโลก Global Sustainable Tourism Conference 2026 หรือ GSTC 2026 ในเดือนเมษายน 2569 ที่จังหวัดภูเก็ต

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ในฐานะหน่วยงานหลักในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ ขอแสดงความยินดีกับจังหวัดภูเก็ตที่นำพาประเทศไทยปักหมุดบนเวทีโลกผ่านการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพงานระดับโลก Global Sustainable Tourism Conference 2026 หรือ GSTC 2026 ถือเป็นการสร้างหมุดหมายใหม่ด้านการท่องเที่ยวให้กับประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ตในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและไมซ์อย่างยั่งยืนในอนาคต

“การได้เป็นเจ้าภาพการจัดงาน GSTC 2026 ที่จังหวัดภูเก็ต ถือเป็นชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ในการเป็นหมุดหมายสำคัญด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และแสดงถึงศักยภาพของจังหวัดภูเก็ต รวมถึงระเบียงเศรษฐกิจ 6 จังหวัดอันดามัน ที่ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและไมซ์อย่างยั่งยืนในอนาคตที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก” นายจิรุตถ์กล่าว

การจัดงาน Global Sustainable Tourism Conference 2026 หรือ GSTC 2026 จะเกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2569 ภายใต้แนวคิด “Regenerative Tourism” เป็นการประชุมและสัมมนาเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวระดับโลกและในท้องถิ่น มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมและสนับสนุนการเดินทางและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ โรงแรม บริษัททัวร์ บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนา องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้เกี่ยวข้องอีกมากมายเข้าร่วมงาน คาดว่าจะมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 700 คน จาก 60 ประเทศ สร้างรายได้กว่า 50 ล้านบาท

นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนชาวไทยที่ช่วยสนับสนุนจังหวัดภูเก็ตในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของภูเก็ตในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทยในเวทีโลก การเป็นเจ้าภาพจัดงาน GSTC 2026 ในครั้งนี้ สอดรับกับแผนยกระดับภูเก็ตสู่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ภายในปี 2570 โดยมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงการบริหารจัดการของเสีย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์และสนับสนุนการพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้ประสบความสำเร็จในอนาคต

“จังหวัดภูเก็ตมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพการจัดงาน GSTC 2026 ในครั้งนี้ ด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งสนามบิน โรงแรม ระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ได้มาตรฐานระดับโลก รวมถึงเอกลักษณ์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นที่พร้อมต้อนรับสมาชิกจาก GSTC และนักเดินทางจากทั่วโลกที่จะมาเยือนภูเก็ตในครั้งนี้” นายโสภณกล่าว

นายภูมิกิตติ์ รักแต่งาม ประธานมูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กล่าวว่า มูลนิธิมีความมุ่งมั่นในการยกระดับการเดินทางและการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริงและเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ผ่านแผนแม่บทและยุทธศาสตร์ที่เน้นความร่วมมือของธุรกิจท่องเที่ยวและประชาชนโดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การกำจัดขยะที่ถูกต้อง และการปรับตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยวท่ามกลางแรงกดดันและความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และเงื่อนไขทางกฎหมายของหลายประเทศที่เริ่มนำมาใช้ในภาคการท่องเที่ยว การที่ภูเก็ตได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพงาน GSTC 2026 ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางสู่การท่องเที่ยวยั่งยืนของภูเก็ต อันดามัน และประเทศไทย และเป็นการนับหนึ่งที่เป็นรูปธรรมสู่การยกระดับภูเก็ตในการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในระดับโลก

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า การเป็นเจ้าภาพการจัดงาน GSTC 2026 ในครั้งนี้ แสดงให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกเห็นว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยที่นักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพที่เป็นเป้าหมายหลักของ ททท.โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย รวมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพชาวเอเชีย ล้วนให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นแล้ว การจัดงาน GSTC 2026 ในประเทศในปี 2569 นี้ จะเป็นหนึ่งในรูปแบบการบูรณาการความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็น Hub ของการจัดงานระดับนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า รู้สึกยินดีอย่างยิ่งในการที่ประเทศไทย โดยจังหวัดภูเก็ตได้เป็นเจ้าภาพการจัดงาน GSTC 2026 เนื่องจากประเทศไทยและจังหวัดภูเก็ตจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการรวมตัวกันของผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจากทั่วทุกมุมโลก สำหรับ อพท. มีการใช้เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) มาใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของแต่ละพื้นที่พิเศษของ อพท. รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญของสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council : GSTC) ในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด กระทั่งการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบดังกล่าว ได้รับผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ อพท.หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเป็นเจ้าภาพ GSTC 2026 ของจังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ จะช่วยตอกย้ำและยกระดับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวยั่งยืนของไทยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นในเวทีประชาคมโลก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทศกาลสร้างสรรค์'3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน'

งานเฟสติวัลในย่านเก่าเป็นอีกกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างแรงกระเพื่อมให้มหานครมีมิติร่วมสมัยควบคู่ไปกับการดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม สีสันความสนุกที่เคลือบด้วยสาระและคุณค่าของย่านกะดีจีนจะเกิดขึ้นในงานเทศกาล ” 3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน”

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป

รมว.ท่องเที่ยวนำเอกชนไทยบุกตลาดอินเดียหวังโกยรายได้ 80,000 ล้านในปี 67

รมว.ท่องเที่ยวนำผู้ประกอบการเอกชนไทยร่วมงาน SATTE 2024 เร่งบูสต์ตลาดอินเดีย พร้อมตั้งเป้ารายได้ตลาดอินเดียกว่า 80,000 ล้านบาทในปี 2567

'ตรุษจีนเยาวราช'เฉลิมฉลองปีมังกรทอง

เทศกาลตรุษจีนถือเป็นงานปีใหม่ของชาวจีนทั่วโลก รวมถึงชาวไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทยด้วย ซึ่งได้มีการสืบสานประเพณีของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนจัดงานตรุษจีนเป็นประจำทุกปี ย่านเยาวราชถือเป็นพื้นที่สำคัญจัดงานตรุษจีน มาอย่างต่อเนื่อง เทศกาลตรุษจีนเยาวราชประจำปี 2567

เที่ยววัดมหาธาตุฯ จัดสมโภชใหญ่ข้ามปี

เริ่มแล้วสำหรับงานสมโภชพระอาราม 338 ปี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ตามรอยประวัติศาสตร์พระอารามหลวงแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์แห่ง 3 ยุค ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องกรุงธนบุรีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์  ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 2 มกราคม 2567