‘สว.สมชาย’ ชี้ ‘ก้าวไกล’ ยื่นแก้ ม.272 แฝงด้อยค่า ส.ว. บังคับโหวต ’พิธา’

16 ก.ค.2566-นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า #นิติสงครามนิตินิยาย #กลยุทธด้อยค่าสว #ปิดล้อมบังคับทางโหวตพิธา ชัดเจนครับว่าพรรคก้าวไกลย่อมรู้ได้ว่า การจุดพลุปิดสวิสซ์สว.เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา272 ช่วงปลายสมัยวุฒิสภาและใกล้หมดอายุบทเฉพาะกาล ทำไม่ได้ ทำไม่ทัน แต่จะทำ

ถือเป็นการเดินยุทธศาสตร์ตอกย้ำด้อยค่าสว. ปิดล้อมบังคับทางให้สมาชิกวุฒิสภาโหวตเลือกพิธา ทั้ง’ปิดสวิตช์สว.’ และบังคับ’ขอเสียงสว.’ ในคราเดียวกัน? ทั้งๆที่สว มิใช่คู่กรณีทางการเมือง  หากแต่พรรคการเมืองก้าวไกลและเพื่อไทย ต่างหาเหตุแยกทางโดยใช้สว. เป็นเหยื่อแพะรับบาปแทนเท่านั้น

หากพิจารณาให้ถ้วนถี่จะพบว่า การแก้รัฐธรรมนูญ272 ตามกระบวนการในมาตรา256 มีขั้นตอนต้องใช้เวลานานมากกว่าการโหวตเลือกนายกฯที่กำลังจะเสร็จสิ้นในเวลาอันใกล้นี้แล้ว เพราะขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา272นั้น 1)ต้องได้เสียงข้างมากของรัฐสภา มากกว่า 376 เสียง *อาจจะได้เสียงสนับสนุนจากสส.ไม่มากเพียงพอ  เพราะการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามบทเฉพาะกาลนี้ สส.พรรคการเมืองอื่น ยังมีหวัง ที่จะได้เสียงสนับสนุนจากสว ช่วยโหวต ให้ความเห็นชอบในการเลือกพวกเขาอยู่ รวมถึงนายพิธาและพรรคก้าวไกล เองด้วย

2)ต้องได้รับความเห็นชอบจาก สว. 1 ใน 3 (สว.84คน)  *มีความพยายามแก้ไขที่ไม่ผ่านมาแล้ว6ครั้ง คะแนนโหวตจากสวลดลงเรื่อยๆทุกครั้งจากที่สว เคยเห็นด้วย56 ลดลงเหลือแค่3คน การแก้ไขครั้งนี้ก็น่าจะไม่มีคะแนนเห็นชอบให้ผ่านเช่นกัน  เหตุว่า หมดความจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา272 ตามบทเฉพาะกาลที่จะหมดเวลาไม่นานนี้ ขณะที่สส ชุดใหม่เพิ่งรับเลือกตั้งยังมีวาระ4ปี  ดังนั้นถ้ากระบวนเลือกนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลใหม่แล้วเสร็จ  ไม่มีเหตุให้สว มาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี อีก

3)ต้องอาศัยเสียงเห็นชอบวาระ3จาก ส.ส.ฝ่ายค้านอย่างน้อย ร้อยละ 20  *เวลานี้ยังไม่มี สส.ฝ่ายค้าน  จึงเห็นชัดเจนว่าการแก้ไขเป็นไปไม่ได้ ที่สำคัญมาตรา272 ตามบทเฉพาะกาลนี้มาจากการออกเสียงประชามติในคำถามพ่วง 15.12ล้านเสียง  การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวทำได้  แต่อาจมีผู้เห็นต่างว่า ขัดแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เคยให้คำแนะนำในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในคดีที่เกิดขึ้นมาก่อนนี้ ว่า องค์อำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญคือประชาชนที่ลงประชามติ หากจะแก้ไข

จึงต้องถามประชามติจากประชาชนเสียก่อน  นำไปสู่การยื่นตีความว่า การกระทำมิชอบ

การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา272 ของพรรคก้าวไกลครั้งนี้ จึงไม่ได้ประสงค์ผลสำเร็จการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่มีเป้าหมายลับลวงพราง แฝงเร้น  เป้าหมายเพื่อปิดล้อมกดดัน สมาชิกวุฒิสภา บังคับทางเพื่อให้โหวตเสียงให้นายพิธา เป็นนายก

พร้อมด้อยค่าว่า สว เป็นปัญหาขัดขวางเท่านั้น

นอกจากนั้นการดำเนินการโหวตญัตติเสนอชื่อนายพิธาเป็นนายกอีกครั้ง ในวันที่19กค ยังมีปัญหาที่ต้องพิจารณาว่าขัดกฎหมาย เพราะถือเป็นญัตติซ้ำที่เคยพิจารณาตกไปแล้ว ตามข้อบังคับรัฐสภาข้อ41  *จึงไม่อาจเสนอญัตติดังกล่าวซ้ำได้อีกในสมัยประชุมนี้ ดังนั้นการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา272พร้อมประกาศส่งสารล่าสุด ไปทุกแพลตฟอร์มโซเชียลให้ มวลชน#ด้อมส้ม ร่วมกดดัน ส.ว. ในทุกวิถีทาง ทุกวิธีการ  เพื่อให้ บีบ ส.ว. ชู “พิธา” เป็นนายกฯให้ได้ในวันที่ 19 ก.ค.นี้ นับเป็นการรุกทางยุทธวิธีของก้าวไกล หวังผลทางยุทธศาสตร์ตอกย้ำด้อยค่า สว.  หวังบังคับทางให้โหวตให้ตนพร้อมจะให้ ส.ว.ยกมือ

“ปิดสวิตช์ตัวเอง บังคับโหวต” ไปในคราเดียวกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เลขาฯกกต. แจงแนวปฏิบัติเลือก สว. ผู้สมัครทำได้แค่แนะนำตัว ห้ามนักการเมืองช่วยเหลือ

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์เฟสบุ๊คชี้แจงถึงการปฏิบัติตัวในการทำหน้าที่เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเลือก สว.ว่าในส่วนของประชาชนไม่มีสิทธิเลือก สว.ตามรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ให้

'อนุทิน' สั่งลูกพรรคภูมิใจไทย ห้ามฝ่าฝืนระเบียบ กกต. การแนะนำตัวเลือก สว.

นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ออกหนังสือประกาศพรรคภูมิใจไทย เรื่อง ห้ามกระทำการโดยวิธีการใด ๆ ในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ว่าขณะนี้ใกล้ครบวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งจะต้องมีการเลือกสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่

อดีตคณบดีนิติฯ มธ. ร้องศาลปกครองกลาง เพิกถอนระเบียบแนะนำตัว สว.

นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้ประสงค์จะลงสมัครสมาชิกวุฒิสภา (สว.) พร้อมคณะ เข้ายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567