'ก้าวไกล' ยังฝันชนะโหวตญัตติให้ทบทวนมติ 19 ก.ค.ยันหากแพ้จะไม่เสนอซ้ำอีก


18 ส.ค.2566 - ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมร่วมกับตัวแทน ของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) และตัวแทนพรรคการเมือง ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธาน หารือถึงแนวทางการประชุมร่วมรัฐสภา วันที่ 22 ส.ค. ว่า ยืนยันเดินหน้าเสนอญัตติ ขอให้รัฐสภามีมตทบทวนการพิจารณามติ เมื่อวันที่ 19 ก.ค. การเสนอชื่อบุคคลเดิมให้รัฐสภาเห็นชอบเป็นนายกฯ นั้นไม่สามารถเสนอคนเดิมได้ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาของรัฐสภายาวนาน และการยืนยันดังกล่าว เพื่อให้โอกาสที่รัฐสภาได้ทำผิดพลาดแก้ไข ส่วนทิศทางการโหวตนั้น คาดหวังว่าจะชนะ แต่หากมติออกมาแบบเดิม คงทำอะไรไม่ได้ และจะไม่เสนอญัตติทบทวนซ้ำอีกในสมัยประชุมเดียวกัน แต่อนาคตค่อยว่ากันต่อไป

“ผมมองว่าหากรัฐสภาทำลายหลักการของการเลือกนายกรัฐมนตรี ตามที่รัฐธรมนูญกำหนด จะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะได้สร้างบรรทัดฐาน ไม่ใช่แค่ตำแหน่งนายกฯ เท่านั้น แต่ยังมีตำแหน่งอื่นๆ หากที่ผ่านมาต้องการเล่นงานพรรคก้าวไกล และไม่ให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ ได้ทำสำเร็จแล้ว ทำไมต้องยืนยันสิ่งที่ทำลายหลักการที่รัฐธรรมนูญกำหนด”นายรังสิมันต์ กล่าว

เมื่อถามว่าหากโหวตแพ้เท่ากับว่าตอกย้ำที่จะเตรียมตัวเป็นฝ่ายค้านที่ชัดเจนหรือไม่ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ฝ่ายค้านเกิดได้เมื่อมีรัฐบาล ส่วนจะมีรัฐบาลเกิดขึ้นหรือไม่ ต้องดู วันที่ 22 ส.ค.นี้ก่อน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชงไทยบี้เมียนมา งดขายน้ำมันให้ เจรจาสันติภาพ

"โรม" เสนอให้ไทยงดขายน้ำมันให้ "เมียนมา" ปูดใช้ไทยฟอกเงินเครือข่ายซื้ออาวุธที่ใช้ปฏิบัติการ เตือนถูกดึงไปเอี่ยวร่วมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

'รังสิมันต์'แนะ 3แนวทางแก้ปัญหาเมียนมา!

กมธ.ความมั่นคงเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องถกสถานการณ์เมียนมา 'โรม' ชี้ปัญหาในเมียนมาก็เป็นปัญหาของไทย เหตุคนหนีอพยพข้ามแดน ลั่นไทยอยู่ในฐานะที่น่าไว้วางใจที่สุด ควรเป็นตัวกลางในการเจรจา

'วันนอร์'มั่นใจคนไทยเกินครึ่งมาใช้สิทธิ์ประชามติเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ

'ปธ.สภา' ชี้ช่องรัฐบาลใช้กฎหมายเดิมทำประชามติได้ แค่ถาม ปชช.อยากแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ระบุหากต้องการแก้ ก็เสนอเข้ามาช่วงเปิดวิสามัญได้ เชื่อคนออกมาใช้สิทธิเกินครึ่ง

ประธานสภาเตือนสติอย่าดันทุรังชงแก้ รธน.รอผลประชามติก่อน

'วันนอร์' ยันร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยังนำเข้าพิจารณาไม่ได้ เหตุต้องมีการทำประชามติก่อน เตือนหากดันทุรังแล้วถูกยื่นตีความเสียเวลาเปล่าๆ