'ศิริกัญญา' เชื่อกฤษฎีกาหนาวๆร้อนๆ หลังรัฐบาลบอกไฟเขียวกู้เงิน 5 แสนล้าน

“ศิริกัญญา” เตือน “รัฐบาล“ กฤษฎีกายังไม่ได้ไฟเขียว พ.ร.บ.กู้เงิน แค่ชี้เงื่อนไขทาง กม. ขอให้ คกก.ดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ลงมติอย่างระวัง จับตารัฐบาลทำตัวเลขให้ดูวิกฤติ

8 ม.ค.2567 - เมื่อเวลา 16.00 น. ที่รัฐสภา น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกาส่งความเห็นต่อพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงิน 5 แสนล้านบาทสำหรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต กลับมาที่รัฐบาล ว่า หากจะมองว่ากฤษฎีกาไฟเขียว และหากตนเองเป็นข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็จะรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เพราะสิ่งที่กฤษฎีกาบอกคือหากโครงการนี้เป็นไปตามกฏหมาย มาตรา 53 มาตรา 57 มาตรา 6 และมาตรา 9 ของวินัยการเงินการคลัง จะสามารถกระทำได้ แต่หากผิดเงื่อนไขเหล่านั้น ก็ไม่สามารถกระทำได้

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความตามข้อกฎหมายโดยตรง จึงขอฝากไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนว่ากฤษฎีกาให้นำเรื่องนี้กลับเข้ามาประชุมในคณะกรรมการนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตคณะใหญ่อีกครั้ง ซึ่งมีข้าราชการและผู้มีความรู้หลายท่าน จึงขอให้ระมัดระวังเรื่องการลงมติเกี่ยวกับพ.ร.บ.กู้เงิน เพื่อให้กระทรวงการคลังกู้เงินด้วย โดยที่คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้ชี้ชัดอะไรมาเลยว่าอะไรที่สามารถกระทำได้และไม่สามารถกระทำได้ สุดท้ายต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายดิจิทัลฯ ชุดใหญ่ ว่าการดำเนินการจะเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมายที่กำหนดไว้หรือไม่

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวด้วยว่า ตนยังรอคอยรายงานการศึกษาความคุ้มค่าของโครงการ เพราะเราไม่มีข้อมูลในเชิงลึก จึงได้แต่งตั้งคำถามจากประสบการณ์ที่ประเทศต่างๆ พยายามแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้ ซึ่งไม่ใช่วิธีกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีที่สุด แต่อาจจะเป็นวิธีการที่เร็วที่สุด และไม่ได้คุ้มค่าต่อเม็ดเงินมากที่สุด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่เห็นรายละเอียดอย่างครบถ้วนว่าโครงการมูลค่า 5 แสนล้านบาทจากกระตุ้นเศรษฐกิจได้เท่าไหร่

เมื่อถามว่า จากข้อสังเกตของฝ่ายค้าน รัฐบาลควรประเมินในเรื่องใดบ้างก่อนดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า สิ่งแรกคือต้องประเมินว่าสรุปแล้วประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤตหรือไม่ ซึ่งมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายครั้งว่านิยามของคำว่า วิกฤตเศรษฐกิจจะต้องไปในแนวทางที่เห็นเด่นชัดว่าเป็นวิกฤตที่เหมือนกับวิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือโควิด ซึ่งทุกคนเห็นเด่นชัดและไม่มีใครเถียง ดังนั้น จึงตกอยู่กับทางรัฐบาลแล้วว่าจะไปหากลวิธีอย่างใดเพื่อทำให้ข้อมูล ทางเศรษฐกิจดูวิกฤต

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวอีกว่า ลักษณะของวิกฤติคือกิจกรรมทางเศรษฐกิจสะดุดลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น รายได้ของประชาชน GDP การจ้างงาน จึงจะเรียกว่าวิกฤติ และต้องดูว่ารัฐบาลจะหาตัวเลขใดมา สุดท้ายหากำลังพิจารณาพ.ร.บ.กู้เงินกันอยู่ แล้วเศรษฐกิจเกิดกระเตื้องขึ้นมา สรุปแล้วจะยังอยู่ในเงื่อนไขเดิมหรือไม่ ก็ต้องไปลุ้นกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยุ่งแน่! ‘เรืองไกร’ ร้อง ป.ป.ช. สอบ ครม.เห็นชอบดิจิทัลวอลเล็ต ฝ่าฝืนกม.หรือไม่

จากการติดตามโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ที่คณะรัฐมนตรีพึ่งมีมติให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 67 นั้น

'แก้วสรร' แพร่บทความปอกเปลือก ทักษิโณมิคส์ บวก X กลายเป็นโครงการแจกเงินดิจิทัล

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความเรื่อง "ทักษิโณมิคส์ + X = โครงการแจกเงินดิจิตอล" มีเนื้อหาดังนี้ เมื่อคราวแรกเริ่มครองอำนาจในปี ๒๕๔๖ ของพรรคทักษิณ ที่พลิกมิติการปกครองไทยด้วยชุดนโยบายการเงินที่โหมอัดฉีดประชานิยมชนิดเข้มข้นต่างๆนานา

'คารม' จวก 'เด็จพี่' ฟุ้งซ่าน! 'บี พุทธิพงษ์' วิจารณ์ดิจิทัลวอลเล็ต แค่ความเห็นส่วนตัว

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ออกมาพูดถึงนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ซึ่งเคยเป็นอดีตผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไท

'อนุทิน' ย้ำ ภท.หนุนดิจิทัลวอลเล็ตให้เป็นไปตามกฎหมาย ยึดข้อเสนอ 3 หน่วยงาน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย(ภท.) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวทางโทรศัพท์ ถึงกรณีที่นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านโครงการแจกเงินดิจิทัล