'พิธา' หนุนนิรโทษกรรมย้อนหลังตั้งแต่ชุมนุมปี 49 รวมม็อบสามนิ้ว

"พิธา" หนุนกฎหมายนิรโทษกรรม ย้อนถึงปี 49 ควรเลิกผูกขาดกับคณะรัฐประหาร ป้องวัฒนธรรมผิดลอยนวล พร้อมมองในมุมเหยื่อ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ย้ำต้องตั้งต้นที่สามอธิปไตย

1 ก.พ.2567 - ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 ซึ่งมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวในญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ที่พรรคเพื่อไทยเสนอ

นายพิธา อภิปรายสนับสนุนว่า การนิรโทษกรรมไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย และไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเสมอไป ถ้าเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน ประเทศไทยเคยนิรโทษกรรมมาแล้วทั้งหมด 22 ครั้งด้วยกัน และถ้าเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะนิรโทษกรรม เพื่อลดความขัดแย้งในสังคม เพิ่มเสถียรภาพให้กับการเมือง ทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าไปได้ คืนพ่อให้กับลูกสาวที่ยังเล็กได้ เพื่อให้คนที่อยู่ในต่างประเทศที่มีความเห็นทางการเมืองที่ขัดแย้งกับรัฐ กลับมาสู่มาตุภูมิประเทศของเขา

“ผมจึงคิดว่า การนิรโทษกรรมไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว หรือมีภาพที่เป็นลบตลอดเวลา ตนคิดว่า โอกาสในการรับนิรโทษกรรม ไม่ควรผูกขาดกับคณะรัฐประหาร หรือคนที่คิดที่จะล้มล้างการปกครอง เพียงอย่างเดียว ไม่ควรที่จะผูกขาดกับคนที่จะบ่อนเซาะ ต้องการที่จะทำลายระบบประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียว“ นายพิธา กล่าว

ก่อนที่นายพิธาจะหยิบเอกสารจากสภาฯ ขึ้นมาอ้างอิง พร้อมระบุ ตั้งแต่ปี 2475 - 2557 ไม่ว่าจะครั้งไหน มีเพียงแค่ 2521 ครั้งเดียว ที่เป็นพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ นอกจากนั้น มีแต่นิรโทษกรรมผู้กระทำการปฏิวัติ ยึดอำนาจปกครองประเทศ ความผิดต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรในฐานะกบฏ นี่คือสิ่งที่เราไม่ควรอนุญาตให้การผูกขาดการนิรโทษกรรม อยู่กับการรัฐประหาร เพียงอย่างเดียว

นายพิธา กล่าวอีกว่า การนิรโทษกรรมไม่ใช่แค่เรื่องการให้พ้นผิดทางกฎหมาย ภาษาอังกฤษ คือ Amnesty มาจากภาษากรีก แปลว่า ทำให้ไม่ต้องจำ ทำให้ลืมไป ต้นคิดว่าประเทศไทยต้องก้าวผ่านเรื่องแค่การพ้นผิดทางกฏหมายเพียงอย่างเดียว เราควรที่จะคิดเรื่องนี้ ว่าเป็นโอกาสสร้างความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เราควรมีการป้องกัน ไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก ทำให้เกิดความโปร่งใสขึ้น ทำให้เกิดการเสาะหาข้อเท็จจริงขึ้น รวมถึงการรับผิดชอบต่อสาธารณะ จึงจะทำให้ความปรองดองเกิดขึ้นในชาติ ได้จริง

นี่จึงเป็นโอกาสที่สังคมไทยจะก้าวเกินกว่าแค่เรื่องการนิรโทษกรรม เพราะเป็นแค่จุด จุดหนึ่ง เท่านั้น ในการจะทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองประเทศไทยลดน้อยลง มีเสถียรภาพ และมีสมาธิพอที่จะใช้พลังของพวกเราในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการเมืองเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม หรือเรื่องการศึกษา ก็ตาม

เราต้องยอมรับก่อน ว่าเราอยู่ในช่วงความขัดแย้ง ทางการเมืองไทย อย่างน้อยนับแต่การทำรัฐประหาร 19 กันยายน สร้างบาดแผล ร้าวลึก กับสังคมไทยตั้งแต่สงครามสีเสื้อ จนถึงการลุกขึ้นเรียกร้องของเยาวชนคนรุ่นใหม่ นำไปสู่ 10 กว่าปีที่สูญหาย ตั้งแต่ปี 2549 - 2567 การเมืองไทยประสบพบผ่านนายกรัฐมนตรี 7 คน รัฐประหาร 2 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ ม็อบใหญ่ต้านรัฐบาล 9 ระลอก การประทะปราบปรามสลายม๊อบ 5 ยก คนล้มตาย เรือนร้อย บาดเจ็บเรือนพัน เศรษฐกิจเสียหายหลายแสนล้านบาท

เพราะฉะนั้น การนิรโทษกรรมครั้งนี้ จะต้องไม่คิดเฉพาะคนที่ทำรัฐประหาร แต่ควรคิดที่เหยื่อ คนที่ถูกทำรัฐประหาร เราต้องคิดถึงคนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายจากรัฐบาลที่สืบทอดมาจากการทำรัฐประหาร ไม่ใช่จำเป็นเฉพาะแค่พูดออกมาเรียกร้องทางการเมือง แต่ยังมีเรื่องอื่น เช่น การติดคุกทวงคืนผืนป่า หรือคนที่ถูกรัฐฟ้องปิดปากประชาชน

นายพิธา กล่าวด้วยว่า ถ้าเราตั้งหลักกันได้ ว่าเวลาที่จะนิรโทษกรรมเมื่อไหร่ หากฟังที่ตนพูดก็จะรู้ได้ ว่าอย่างน้อยย้อนหลังไปถึงปี 2549 ใครที่จะได้รับนิรโทษกรรม ก็คงจะเดาออก ส่วนกระบวนการที่จะทำไม่ใช่แค่บอกว่ายุติคดีทางอาญา แต่คือการเยียวยา การออกมารับผิดชอบสร้างสาธารณะ ไม่ให้เกิดวัฒนธรรมผิดลอยนวล ไม่ใช่แค่นิรโทษกรรมของคนที่สั่งฆ่า แต่จะต้องดูคนที่ถูกฆ่าด้วย พูดในมุมของคนที่ต้องสูญเสียอิสรภาพในการอยู่ในประเทศบ้านเกิดเมืองนอนเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นการนิรโทษกรรมที่รอบคอบ บรรลุไปถึงเป้าหมายที่ประเทศไทยต้องการ ณ ปัจจุบัน

นายพิธา กล่าวทิ้งท้ายว่า ถ้าหากทำแบบนี้ตอนคิดว่า จะเป็นกระดุมเม็ดแรกที่เราจะสามารถตั้งต้นทั้งสามอธิปไตยของประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คือ 1. ฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรี สามารถสั่งตำรวจได้เลย ชะลอคดี

2. ฝ่ายอัยการศาล ต้องวินิจฉัยคดี ด้วยความรัดกุม รอบคอบ บนฐานของข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่ใช่เอาอารมณ์ หรืออะไรอย่างอื่นมาตัดสินด้วย

3. ฝ่ายรัฐสภา อภิปรายความแตกต่าง ของ พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหน และรวมถึงข้อคิดเห็นของประชาชนด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รองปธ.กมธ.ต่างประเทศสภาฯ ชี้น่ากังวล ‘บัวแก้ว’ สุญญากาศ หนุน ‘นพดล’ เหมาะ

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร  ลาออกจาก รมว.ต่างประเทศว่า เป็นเรื่องน่ากังวลมาก เพราะสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมาเวลานี้ กระทบกับประเทศไทยอย่างมาก

ก้าวไกล เดือดแทน ‘หมอชลน่าน’ ทุ่มเทเหนื่อยสุด โดนคนทิ้งพรรคเสียบเก้าอี้

‘ณัฐชา’ มอง ปรับ ครม.เศรษฐา 1/1 ‘เพื่อไทย’ ยังรักษาคาแรคเตอร์ ‘สมบัติผลัดกันชม’ เก้าอี้ รมต. เหมือนเดิม สงสัย ทำไมเอาคนทิ้งพรรคอย่าง ’สมศักดิ์‘ แทน ’หมอชลน่าน‘ เหตุเหนื่อยสุดแบกรับสถานการณ์ช่วงเลือกตั้ง-จัดตั้งรัฐบาล

'รังสิมันต์'แนะ 3แนวทางแก้ปัญหาเมียนมา!

กมธ.ความมั่นคงเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องถกสถานการณ์เมียนมา 'โรม' ชี้ปัญหาในเมียนมาก็เป็นปัญหาของไทย เหตุคนหนีอพยพข้ามแดน ลั่นไทยอยู่ในฐานะที่น่าไว้วางใจที่สุด ควรเป็นตัวกลางในการเจรจา

'ชัยธวัช'ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลาสู้คดียุบพรรคเพิ่มอีกรอบ!

'ชัยธวัช' ลุ้นศาล รธน.ขยายเวลาสู้คดียุบพรรค มองเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงต้องหาพยาน-หลักฐาน สู้อย่างเต็มที่ เชื่อปรากฎการณ์งูเห่าน้อยกว่า 'อนาคตใหม่' เหตุสถานการณ์ต่างกัน