นิพิฏฐ์ : เราเลือก 'ตัวแทน' ไปทำไม

25 พ.ค.2567 - นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โฟสต์เฟซบุ๊กว่าเราเลือก“ตัวแทน”ไปทำไม

-ตัวแทนที่ว่านี้ ผมเน้น ส.ส และ สว.เป็นหลัก

-เราเลือกเพราะ

1.เลือกเพื่อให้เขา“พูดแทนเรา” เขาจะพูดดี พูดไม่ดี ก็ช่างเขา เพราะประชาชนเป็นอย่างไร ตัวแทนก็เป็นอย่างนั้น แต่ขอให้เขาได้พูด ตอนเปิดประชุมรัฐสภาครั้งหนึ่ง ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสว่า “ผู้แทน คือ ผู้ที่พูดแทนประชาชน“ เราลองพิจารณาดูว่า สมมุติว่า มีคนสัก 100 คน มาประชุมกัน แล้วเราถามว่า เย็นนี้ เราจะกินอะไรกันดี รับรองฟังไม่ได้ศัพท์แน่ แม่ครัวทำอาหารไม่ถูก เราอดแน่ จึงต้องมีตัวแทนบางคนมาพูดแทนให้ตรงตามความประสงค์ของคนส่วนใหญ่

2.ผู้แทน คือ “ผู้ที่ใช้ดุลพินิจแทนเรา” เราเลือกผู้แทนเพราะเราไม่มีเวลา หรือ เราไม่ชอบ หรือ เราไม่สะดวกที่จะไปใช้ดุลพินิจในบางเรื่อง เราจึงเลือกเขาไปใช้ดุลพินิจแทนเรา ผู้แทนไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง ไม่จำเป็นว่านักกฎหมายจะเป็นผู้แทนได้ดีกว่าเกษตรกร,ครู,หมอ,วิศวะกรฯ เพียงแต่หากเรื่องไหนเขาไม่ถนัด เขาต้องขวนขวายหาความรู้ เพื่อมาใช้ดุลพินิจแทนเราได้อย่างถูกต้อง ก็พอแล้ว

-ผู้แทน จึงต้องกล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าออกความเห็น เราเห็นบางคนเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีความรู้ดี แต่เมื่อเขาเป็นผู้แทน เขาไม่เคยแสดงความเห็นอะไรแทนเราเลย เขาเหล่านั้นตามหลักแล้ว ก็เป็นผู้แทนที่ดีไม่ได้หรอก(แต่เขาอาจะดีในการทำหน้าที่อย่างอื่น)

-นี่เป็นหลักการพื้นฐานธรรมดาในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน

-ตัวแทนที่เป็น ส.ส. กับ สว. เขามีหลักในการเลือกแตกต่างกัน เพราะทำคนละหน้าที่ แต่มีหลักในการเลือกต่างกันอย่างไร ค่อยว่ากันในตอนต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สรุป 38 รายชื่อ สว.นครพนม เข้าสู่ระดับประเทศ  ‘อดีตสส.7สมัย’ ตกรอบไขว้

ผู้อำนวยการการเลือกระดับจังหวัดนครพนม ได้ประกาศบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือก เพื่อเข้าไปสู่รอบชิงระดับประเทศ ในวันพุธที่ 26 มิถุนายน นี้  ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี

‘หมอเหรียญทอง’ แจงละเอียดยิบ ผลการสอบตก สว.รอบจังหวัด

การรับใช้ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน นั้น เราสามารถทำได้ในทุกบทบาท ไม่จำเป็นต้องมีอำนาจหน้าที่ใดๆ การทำหน้าที่พลเมืองดี