อ่อนประชาสัมพันธ์ 'ดุสิตโพล' ชี้ ประชาชนเกินครึ่งไม่รู้ขั้นตอนการเลือก สว.ชุดใหม่

Print

26 พ.ค. 2567 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับการเลือก สว.ชุดใหม่2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,127 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2567 พบผล ดังนี้

⦁ ร้อยละ 54.30 ทราบว่าผู้สมัคร สว. ต้องมีอายุครบ 40 ปี ประสบการณ์ 10 ปี และเสียค่าสมัคร 2,500 บาท
⦁ ร้อยละ 57.68 ทราบว่าผู้สมัคร สว. หาเสียงไม่ได้ แนะนำตัวได้เท่านั้น
⦁ ร้อยละ 55.81 ไม่ทราบว่ามีการเลือก สว. รอบแรกวันที่ 9 มิ.ย. 67
⦁ ร้อยละ 50.31 ไม่ทราบว่ามีเฉพาะผู้สมัคร สว. เท่านั้นที่มีสิทธิเลือก สว.
⦁ ร้อยละ 52.35 ไม่ทราบว่า สว. ชุดใหม่มีอำนาจแต่งตั้งองค์กรตรวจสอบอิสระ และเห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ
⦁ ความคาดหวังของประชาชน ต่อ สว.ชุดใหม่ พบว่า อันดับ 1 สว.ควรใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ถูกต้อง ร้อยละ 56.71 รองลงมาคือ ประวัติดี ซื่อสัตย์ สุจริต ร้อยละ 53.88 และตั้งใจทำงาน เป็นที่พึ่งของประชาชน ร้อยละ 44.24

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัยสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลเผยให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างรับรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและข้อจำกัดของผู้สมัคร สว. อยู่บ้าง อย่างไรก็ตามหลายคนยังไม่ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งรอบแรกในวันที่ 9 มิถุนายน 2567 และสับสนเกี่ยวกับสิทธิ์ในการเลือก สว. โดยมีเพียง 49.69% ที่รู้ว่าไม่ใช่ทุกคนจะมีสิทธิ์เลือก สว. การที่ผลโพลสะท้อนว่าประชาชนขาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งและบทบาทของ สว. ทั้ง ๆ ที่ใกล้วันเลือกตั้งเข้ามาแล้ว สะท้อนถึงความจำเป็น ในการสื่อสารข้อมูล และ กกต. ควรเร่งสื่อสารและให้ความรู้แก่ประชาชนมากขึ้น เพื่อให้การเลือกตั้ง สว. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยอดชาย ชุติกาโม ประธานหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองในเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นบรรยากาศของการรับสมัครเลือกตั้ง ส.ว.ชุดใหม่ ที่จำนวนผู้สมัครแตกต่างจากที่ กกต. คาดการณ์ไว้พอสมควร จากผลสำรวจของสวนดุสิตโพล ตัวเลขที่ออกมาสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพการทำงานด้านการสื่อสารข้อมูลของ กกต. ที่ส่งผลต่อการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้ผลการสำรวจครั้งนี้อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยประชาชนถึงร้อยละ 55.81 ไม่ทราบว่า มีการเลือก สว.รอบแรกวันที่ 9 มิ.ย.67 ร้อยละ 52.35 ไม่ทราบถึงขอบเขตอำนาจของ สว. และที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ ร้อยละ 50.31 ไม่ทราบว่า มีเฉพาะผู้สมัคร สว. เท่านั้นที่มีสิทธิเลือก สว.

ซึ่งเรื่องนี้นักวิชาการและนักการเมืองบางท่านมองว่า สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกัน ในเรื่องสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนหรือไม่ อย่างไรก็ดีประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ถึงคุณสมบัติและข้อจำกัดของสว. อยู่บ้างในเรื่องข้อจำกัด เรื่องการแนะนำตัว หรือหาเสียง ซึ่งประเด็นเหล่านี้อาจเป็นประเด็นใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อ กกต. ซึ่งเป็นผู้ออกระเบียบปฏิบัติ และซึ่งขณะนี้มีผู้ไปร้องศาลปกครองอาจส่งผลให้การเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้ต้องถูกยกเลิกหรือต้องขยายระยะเวลาออกไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สวนดุสิตโพล' ตอกรัฐบาล ผลงาน 8 เดือนยังไม่ตอบสนองความคาดหวังของประชาชนได้มากพอ

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนพฤษภาคม 2567” กลุ่

ดัชนีการเมืองไทย มี.ค. 'พิธา' เรตติ้งนำ 'เศรษฐา' ปชช.เห็นใจปมยุบพรรค

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมีนาคม 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,254 คน

'สวนดุสิตโพล' เผยดัชนีการเมืองไทยเดือนก.พ.เฉลี่ย 5.16 คะแนน ลดลงเล็กน้อย

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,335 คน