'สวนดุสิตโพล' เผยดัชนีการเมืองไทยเดือนก.พ.เฉลี่ย 5.16 คะแนน ลดลงเล็กน้อย

1มี.ค.2567 - “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,335 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีตัวชี้วัด 25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน สรุปผลเรียงลำดับจากค่าคะแนนสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้

1. “ดัชนีการเมืองไทย” เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 5.16 คะแนน (เดือนมกราคม 2567 ได้ 5.48 คะแนน)
2. ประชาชนให้คะแนน 25 ตัวชี้วัด “ดัชนีการเมืองไทย” โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้
ที่ ดัชนีการเมืองไทย ก.พ.67 ม.ค.67 เปลี่ยนแปลง
1 ผลงานของฝ่ายค้าน 5.52 5.60 ลดลง
2 ผลงานของนายกรัฐมนตรี 5.43 5.70 ลดลง
3 การมีส่วนร่วมของประชาชน 5.33 5.58 ลดลง
3 ความมั่นคงของประเทศ 5.33 5.71 ลดลง
5 เสถียรภาพทางการเมือง 5.32 5.62 ลดลง
6 สิทธิและเสรีภาพของประชาชน 5.28 5.77 ลดลง
7 การแก้ปัญหาต่างๆ ในภาพรวม 5.27 5.58 ลดลง
8 การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม 5.26 5.57 ลดลง
9 การบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้ 5.23 5.54 ลดลง
9 การปฏิบัติตนและพฤติกรรมของนักการเมือง 5.23 5.55 ลดลง
11 สภาพสังคมโดยรวม 5.22 5.70 ลดลง
12 ผลงานของรัฐบาล 5.21 5.53 ลดลง
13 การพัฒนาด้านการศึกษาสำหรับประชาชน 5.18 5.59 ลดลง
14 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ 5.16 5.55 ลดลง
14 การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า 5.16 5.64 ลดลง
16 สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม 5.14 5.33 ลดลง
16 กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม 5.14 5.42 ลดลง
18 การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ความโปร่งใส 5.07 5.18 ลดลง
19 ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 5.04 5.47 ลดลง
20 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5.03 5.48 ลดลง
20 ค่าครองชีพ เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ 5.03 5.26 ลดลง
22 การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล 4.94 5.25 ลดลง
23 ราคาสินค้า 4.88 5.04 ลดลง
24 การแก้ปัญหาการว่างงาน 4.87 5.26 ลดลง
25 การแก้ปัญหาความยากจน 4.78 5.15 ลดลง
* ภาพรวม 5.16 5.48 ลดลง

3. นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนคิดว่ามีบทบาทโดดเด่นในเดือนกุมภาพันธ์ 67
ที่ นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ภาพรวม ที่ นักการเมืองฝ่ายค้าน ภาพรวม
1 เศรษฐา ทวีสิน 51.15% 1 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 68.41%
2 อนุทิน ชาญวีรกูล 24.87% 2 ศิริกัญญา ตันสกุล 16.61%
3 แพทองธาร ชินวัตร 23.98% 3 ชัยธวัช ตุลาธน 14.98%

4. ผลงานของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบในเดือนกุมภาพันธ์ 67
ที่ ผลงานฝ่ายรัฐบาล ภาพรวม ที่ ผลงานฝ่ายค้าน ภาพรวม
1 แก้หนี้นอกระบบ 41.67% 1 ตรวจสอบโครงการต่าง ๆ เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต 57.93%
2 กระตุ้นการท่องเที่ยว ฟรีวีซ่า 33.06% 2 อภิปราย กม.ประมง คำนำหน้านาม 25.52%
3 โครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ 25.27% 3 ติดตามคดีนักโทษการเมือง พักโทษทักษิณ 16.55%

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,335 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เฉลี่ย 5.16 คะแนน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนมกราคม 2567 ที่ได้ 5.48 คะแนน

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัยสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.52 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหาความยากจน เฉลี่ย 4.78 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ เศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 51.15 นักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 68.41 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ประชาชน ชื่นชอบประจำเดือน คือ แก้หนี้นอกระบบ ร้อยละ 41.67 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ การตรวจสอบโครงการต่าง ๆ เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต ร้อยละ 57.93

"จากผลสำรวจจะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างให้คะแนนดัชนีการเมืองไทยเดือนกุมภาพันธ์ลดลงทุกตัวชี้วัด โดยเฉพาะตัวชี้วัดด้านราคาสินค้า การว่างงาน ความยากจน และปัญหายาเสพติดที่ได้คะแนนไม่ผ่านครึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจยังคงเป็นปัญหาที่ประชาชนคาดหวังและต้องการให้แก้ไขแบบเห็นผลในเร็ววัน ในขณะที่ฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานอย่างละเอียดและต่อเนื่องนั้นรัฐบาลจึงต้องเร่งสร้างผลงานด้วยเช่นกัน"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยอดชาย ชุติกาโม ประธานหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าว่า ภาพรวมของดัชนีการเมืองไทยของเดือนกุมภาพันธ์ เฉลี่ย 5.16 คะแนน ลดลงจากเดือนที่แล้ว ทั้งนี้ มองว่า สถานการณ์ทางการเมืองในเดือนนี้ไม่มีความเคลื่อนไหวที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อมวลชนด้วยความระมัดระวังในการสื่อสารมากขึ้น และเน้นการลงพื้นที่ทำงาน ซึ่งนายกฯได้คะแนนถึงร้อยละ 51.15 ขณะที่การครองพื้นที่สื่อเดือนนี้ยังเป็นข่าวของฝ่ายค้าน โดยตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.52 คะแนน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ซึ่งเพิ่งกลับสู่สถานภาพการเป็น ส.ส. ได้คะแนนถึงร้อยละ 68.41 ที่น่าสนใจคือผลงานตรวจสอบในเรื่องดิจิทัลวอลเล็ตของฝ่ายค้าน ที่ได้คะแนนถึงร้อยละ 57.93 ในเดือนนี้ปัญหาเศรษฐกิจกลับมีความโดดเด่นมากกว่าปัญหาการเมือง รัฐบาลต้องเร่งประชาสัมพันธ์การแก้ปัญหาเศรษฐกิจซึ่งผลงานยังไม่เป็นที่พึงพอใจของประชาชน เห็นได้จากตัวชี้วัดที่คะแนนต่ำสุดคือ การแก้ไขปัญหาความยากจน เฉลี่ย 4.78 คะแนน สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะทางเศรษฐกิจของประชาชนส่วนใหญ่ยังมีปัญหาอยู่มาก แม้ว่าตัวเลขความพึงพอใจในการแก้หนี้นอกระบบจะสูงถึงร้อยละ 41.67 ก็ตาม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดัชนีการเมืองไทย มี.ค. 'พิธา' เรตติ้งนำ 'เศรษฐา' ปชช.เห็นใจปมยุบพรรค

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมีนาคม 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,254 คน

ดัชนีครูไทยปี66 ปชช.เชื่อมั่นเพิ่มขึ้น จุดด้อยมีปัญหาหนี้สิน 66.56%

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดทำดัชนี “ความเชื่อมั่นครูไทย” เป็นประจำทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ 19 สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ

ดุสิตโพล เปิดผลเหตุการณ์ที่สุดแห่งปี 2566 เรื่อง ก้าวไกล ชนะเลือกตั้งนำอันดับ 1

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2566” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 7,398 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม)

'ดุสิตโพล' ชี้คนไทยกังวลปัญหาฝุ่น PM 2.5

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง“คนไทยกับฝุ่น PM 2.5” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,123 คน สำรวจระหว่างวันที่ 12-15 ธันวาคม 2566 พบว่า กลุ่มตัวอย่างค่อนข้างวิตกกังวลกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ร้อยละ 48.89 โดยมองว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5

สวนดุสิตโพล ชี้ประเพณีลอยกระทงมีศักยภาพเป็น Soft Power ดึงชาวต่างชาติ

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “วันลอยกระทงกับวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทย” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,424 คน (สำรวจทางออนไลน์) สำรวจระหว่างวันที่ 12-23 พฤศจิกายน 2566