22 มิ.ย. 2567 - นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า นายกฯเศรษฐา ต้องอดทน อย่ารำคาญเสียงวิจารณ์
เมื่อนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พูดถึงเสียงวิจารณ์การลงพื้นที่ได้ปริมาณ แต่ไม่ได้คุณภาพว่า ถ้าไม่ลงพื้นที่ก็ไม่ทราบปัญหา มองเป็นเรื่องการเมือง ไม่เอามารกหู ยอมรับรำคาญบ้าง ได้ใช้เวลาวันหยุดไม่เสียเวลาบริหารราชการแผ่นดินแล้วนััน
ผมไม่อยากให้นายเศรษฐาหงุดหงิด หรือมีอารมณ์กับคำวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม เพราะการเป็นนักการเมือง คือบุคคลสาธารณะ พร้อมถูกตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์และตำหนิติเตียนได้ ต้องอดทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเข้าใจว่านายเศรษฐา เป็นนักธุรกิจ เติบโตมาจากภาคเอกชน เป็นซีอีโอของบริษัท สามารถสั่งการให้ลูกน้องที่เป็นพนักงานบริษัท ทำตามคำสั่งได้ทุกอย่าง และไม่มีพนักงานคนใดกล้าวิพากษ์วิจารณ์ซีอีโอของบริษัท ซึ่งนายเศรษฐาอาจจะเคยชินกับการทำงานในลักษณะเช่นนี้
แต่เมื่อเข้ามาเป็นนักการเมืองแล้ว มีตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องถูกตรวจสอบจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเป็นส.ส.ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน มีหน้าที่ตรวจสอบ แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ ท้วงติงการทำงานของฝ่ายบริหารตามหน้าที่ รวมถึงกลุ่มสื่อมวลชน ซึ่งเป็นกระจกเงาสะท้อนตัวตนการทำงานของรัฐบาล ก็มีความเป็นอิสระวิพากษ์วิจารณ์ได้เช่นกัน ไม่อยากให้นายเศรษฐา มีความรู้สึกว่าคำวิพากษ์วิจารณ์เป็นการรกหู สร้างความรำคาญ
ผมได้ติดตามการทำงานและการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนของนายเศรษฐามาหลายครั้ง เห็นว่าเป็นคนแอ็คทีฟ พูดจาแบบตรงไปตรงมาดี คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น เป็นเรื่องดีที่สังคมได้เห็นตัวตนที่แท้จริง แต่ที่อยากจะแนะนำก็คืออยากให้นายเศรษฐา ได้อดทนต่อต่อการวิพากษ์วิจารณ์ และนำข้อท้วงติงเหล่านี้ ไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขในการทำงานของรัฐบาล ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ขอให้ตระหนักไว้ว่า “ตอนเป็นนักธุรกิจคุณเป็นเจ้านายของลูกน้องทุกคน แต่เมื่อมาเป็นนักการเมือง ประชาชนทุกคนคือเจ้านายของคุณ.
คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. สร้างชื่อระดับโลก เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของไทย ที่ UN Women อนุมัติให้เป็น Signatory ของ UN Women’s WEPs เพื่อร่วมยืนหยัดกับองค์การสหประชาชาติที่จะยุติความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในที่ทำงานและชุมชน
10 ก.พ.2566 - อ.ดร.สหวัชญ์ พลหาญ รองคณบดีฝ่ายบริหารและเครือข่ายสัมพันธ์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า มธ.ได้รับการอนุมัติจากองค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2566 ให้คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ เป็นผู้ที่สามารถลงนาม (Signatory) คำแถลง CEO Statement of Support เพื่อร่วมยืนหยัดกับองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ที่จะยุติความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในที่ทำงานและชุมชน และนำหลักการเสริมสร้างศักยภาพสตรี 7 ประการ หรือ the seven Women’s Empowerment Principles (WEPs) ไปใช้ประกอบการบริหารงานของหน่วยงาน
สำหรับการอนุมัติให้คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นผู้ลงนาม (Signatory) ของ UN Women’s WEPs ทำให้ มธ. เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้เป็นผู้ลงนามนี้ และยังเป็นการประกาศอย่างเป็นทางการให้โลกรู้ว่าสถาบันการศึกษาแห่งนี้สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในการปฏิบัติงาน การคัดเลือกบุคลากรอย่างไม่เลือกปฏิบัติ
ด้าน ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. กล่าวว่า คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. รวมถึงโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นหน่วยงานภายในคณะมีนโยบายที่ชัดเจนและให้ความสำคัญกับเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เพราะความเท่าเทียมเป็นเรื่องพื้นฐานของมนุษย์ ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และนักเรียนในบริบทของการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการสังคม เพื่อสร้างบุคลากรด้านการศึกษาและพลเมืองที่มีความสามารถและให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมด้วย
ผศ.ดร.อดิศร กล่าวอีกว่า คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. มีเจตนาชัดเจนที่ต้องการแก้ไขความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้าง ที่ไม่ได้จำกัดแค่เพียงภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่มุ่งมั่นต้องการทำให้สังคมภายนอก โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้ตระหนักในประเด็นเหล่านี้ เช่นเดียวกับการดำเนินการที่ผ่านมาของ มธ.ที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาตัวอย่างในการขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดสังคมแห่งความเท่าเทียมทางเพศมาโดยตลอด
“การให้ความสำคัญกับหลักการที่เป็นสากลในการสนับสนุนให้ผู้หญิงมีบทบาทเท่าเทียมกับผู้ชายจะช่วยให้เราได้เห็นสิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับสังคมโดยรวม เพราะการลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในที่ทำงานและส่งเสริมศักยภาพของคนทำงานทุกเพศจะช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพิ่มโอกาสของการพัฒนาประเทศ และส่งผลให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่เท่าเทียมและตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงได้ดีมากยิ่งขึ้น” ผศ.ดร.อดิศร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อดีตประธานสภาฯ ฉะพ่อนายกฯมีสิทธิ์อะไรไล่พรรคร่วมกลางสัมมนาพรรคเพื่อไทย
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า “พ่อนายกฯ เป็นใคร มีสิทธิ์อะไรไล่พรรคร่ว
‘หนู’ ลั่นฟังแค่ ‘อิ๊งค์’ ยันร่วมรัฐบาลเป็นไฟต์บังคับ ‘ทักษิณ’ พูดไม่นำพา
"อนุทิน" ลั่น! รับสัญญาณจากนายกฯ อิ๊งค์เท่านั้น ยันที่ "ทักษิณ" พูดไม่ได้หมายถึงรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย "ท่านทักษิณพูดถึงพรรคที่ไม่เข้าร่วมประชุม ผมก็ไม่นำพาไปฟังอะไรมาก"
'อนุทิน' ยันไม่ใส่ใจคำพูด 'ทักษิณ' โชว์ห้าวตะเพิดพรรคร่วมฯ ขอฟังแค่นายกฯอิ๊งค์
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวผ่านรายการข่าวเที่ยง ทางไทยพีบีเอส ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในการสัมมนาพรรคเพื่อ
แกนนำคปท. จับตาท่าที 'อนุทิน-พีระพันธุ์' เอาอย่างไร หลัง 'ทักษิณ' พูดที่หัวหิน
นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ(คปท.)โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า เอาอย่างไร
ไม่ต้องปิดบังอีกต่อไป! สื่ออาวุโส ชี้อำนาจเด็ดขาดนำมาซึ่งการฉ้อฉลแบบเบ็ดเสร็จ
นายเทพชัย หย่อง สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าไม่ต้องอ้อมค้อม ไปต้องปิดบังอีกต่อไป ใครใหญ่ที่สุดตอน
'วรงค์' สวน 'ทักษิณ' โคตรควาย! จะเอาแต่ผลประโยชน์ ไม่สนใจเสียดินแดนตามมา
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า #ควายหรือโคตรควาย