10 ส.ค.2567 - นายจตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจัยให้ยุบพรรคก้าวไกลว่า การยุบพรรคการเมืองตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมา ใช้หลักเหตุผลที่อ่อนแอไม่เป็นเหตุเป็นผล มีการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น และมีการเพิกถอนสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคหรือนักการเมืองที่เป็นโทษรุนแรงมาก ทั้งๆที่กรรมการบริหารพรรคจำนวนมากหรือเกือบทั้งหมดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดนั้นเลย บางพรรคที่ถูกยุบไปพิสูจน์ต่อมาภายหลังด้วยซ้ำว่าไม่มีใครทำผิดกฎหมายอะไรเลย
แต่การยุบพรรคครั้งล่าสุดมีปัญหาเพิ่มขึ้นมาอีก…
นั่นคือคำวินิจฉัยล่าสุด ได้สะท้อนปัญหาในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายตุลาการกับฝ่ายนิติบัญญัติ หรือก็คืออำนาจหน้าที่ของรัฐสภากับการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย 3 ฝ่าย ที่ฝ่ายนิติบัญญัติมีการหน้าที่ออกกฎหมายและตรวจสอบควบคุมรัฐบาล ส่วนฝ่ายตุลาการมีหน้าที่ทำให้ผู้คนและองค์กรต่างๆทำตามกฎหมาย
ฝ่ายตุลาการจะไม่ทำหน้าที่ในการกำกับการออกกฎหมายในขั้นตอนต่างๆ แต่จะมาเกี่ยวกับการออกกฎหมายก็ต่อเมื่อสภาพิจารณากฎหมายเสร็จแล้วจนถึงขั้นเห็นชอบทั้ง 3 วาระ ถ้าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็ส่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเป็นกฎหมายธรรมดา หากมีคนร้องตามจำนวนที่กำหนดว่ากฎหมายนี้หรือมาตรานี้ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าขัดแย้งก็จะต้องตกไป เช่นเดียวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าหากว่ามีปัญหาขัดรัฐธรรมนูญขึ้นมา ศาลรัฐธรรมนูญก็สามารถวินิจฉัยให้ตกไป
ในกรณีที่ถูกวินิจฉัยให้ตกไป สมาชิกที่เสนอกฎหมาย, แสดงความเห็น หรืออภิปรายและลงมติ จะไม่มีความผิดเพราะเขาถือว่าทำไปตามหน้าที่
ส่วนการพิจารณาว่ากฎหมายใดจะดีหรือไม่ เป็นดุลพินิจการตัดสินใจของรัฐสภา ไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ
ระบบถ่วงดุลเป็นเช่นนี้ และรัฐธรรมนูญก็มีระบบป้องกันอยู่ในตัวอยู่แล้วที่จะไม่ให้เกิดกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นปัญหาใหม่นี้ก็คือเกิดการจัดความสัมพันธ์อีกแบบหนึ่งที่ฝ่ายตุลาการสามารถจะมาพิจารณาได้ว่าร่างกฎหมายที่เสนอมีเนื้อหาที่ดีหรือไม่ดีและขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งๆที่ไม่ใช่ขั้นตอนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจ
เรื่องที่ใหญ่มากทั้งเรื่องการยุบพรรคและเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจอธิปไตย 3 ฝ่าย จึงต้องแก้กันในขั้นตอนของการแก้รัฐธรรมนูญ ส่วนการแก้ระบบกฎหมายว่าด้วยการยุบพรรค อาจจะแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่พอ จำเป็นต้องแก้รัฐธรรมนูญด้วย เช่นเดียวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ต้องแก้รัฐธรรมนูญเท่านั้น
ผมคิดว่ามีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง เพราะว่าจะไปเกี่ยวข้องกับความเป็นประชาธิปไตยของบ้านเมือง การมีหลักนิติธรรม ที่สำคัญไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลประโยชน์ของประชาชน ที่ประชาชนจะสามารถมีพรรคการเมืองและใช้พรรคการเมืองให้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดความเป็นไปของบ้านเมืองได้แค่ไหนหรือประชาชนสามารถใช้รัฐสภาในการทำหน้าที่ออกกฎหมายและตรวจสอบควบคุมการทำงานของฝ่ายรัฐได้ดีแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการแก้รัฐธรรมนูญ
จะแก้ปัญหานี้ได้ ต้องแก้รัฐธรรมนูญครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'บิ๊กอ้วน' ชี้ 'สนธิ' แค่หนึ่งเสียงการบริหารประเทศไม่ควรโฟกัสแค่คนคนเดียว!
'ภูมิธรรม' ยังไม่เห็นข้อเรียกร้อง 'สนธิ' บอกเป็นแค่ความเห็นหนึ่งต้องรับฟังทุกฝ่าย เปรียบเหมือนมองปี๊บหนึ่งใบ ต้องมองให้รอบด้าน ไม่หมิ่นประมาทม็อบจุดติดหรือไม่
ดร.ณัฏฐ์ ชำแหละ 92 ปีรัฐธรรมนูญ วัฏจักรการแย่งชิงอำนาจ!
ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม ระบุครบรอบ 92 ปีวันรัฐธรรมนูญ ยังวนเวียนอยู่กับวัฏจักรการแย่งชิงอำนาจของนักการเมือง มากกว่าคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
'อนุทิน' สวนเพื่อไทย! จุดยืน 'ภท.' ไม่เอาด้วย กม.สกัดปฏิวัติ
'อนุทิน' ย้ำจุดยืนภูมิใจไทย ไม่เอาด้วยกฎหมายสกัดปฏิวัติ ชี้นักการเมืองอย่าสร้างเงื่อนไข ทำตัวให้ดีอย่าขึ้โกง ชงกฎหมายแค่สัญลักษณ์ ถึงเวลารัฐธรรมนูญโดนฉีกอยู่ดี
ดร.ณัฏฐ์-นักกม.มหาชน ชี้ 'กฎอัยการศึก' สส.ไทยไม่สามารถยกเลิกได้ แตกต่างจากเกาหลีใต้
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน เผย กฎอัยการศึกสถานะเป็นพระราชบัญญัติ การยกเลิกในประเทศเกาหลีใต้กระทำโดยมติสภา แตกต่างจากประเทศไทย สส.ตัวแทนประชาชน ไม่สามารถยับยั้งยกเลิกได้
ปลุกรุมบี้ 'รัฐบาลอิ๊งค์' ส่งศาล รธน. ชี้ขาด 'MOU 44'
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ท่านที่ได้อ่านโพสต์ที่แล้วของผม คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไป
รัฐบาลอย่าเสี่ยง! แจงยิบทำไม 'MOU 44' เข้าข่าย รธน. มาตรา 178
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าเสี่ยงจงใจขัดรัฐธรรมนูญ! MOU 44 ต้องผ่านรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ 60 มาตรา 178