‘ชูศักดิ์’ เผย สว.ส่งร่าง ‘กม.ประชามติ’ คืน สส.แล้ว เตรียมพิจารณายืนยันหลักการก่อนตั้ง กมธ.ร่วม บอก อยู่ระหว่างการพิจารณาทำประชามติสองครั้งหรือไม่ ชี้ หาก กมธ.ร่วมเห็นพ้องก็ทันใช้เลือกนายก อบจ.
7 ต.ค.2567 - เมื่อเวลา 14.40 น. ที่รัฐสภา นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีวุฒิสภาส่งร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กลับให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้วหรือไม่ ว่า ตนเข้าใจว่าส่งมาแล้วซึ่งคงจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ยืนยันว่าท้ายที่สุดแล้วสส.จะเห็นอย่างไร ก่อนจะนำไปสู่การตั้ง กมธ.ร่วมกันระหว่าง สส. กับ สว. ซึ่งข้อบังคับระบุว่าต้องตั้งกมธ.ฝ่ายละเท่ากัน โดยที่ผ่านมาก็มีการตั้งกมธ.ร่วมกันฝ่ายละ 10 คน และในส่วนของ สส.ก็ต้องไปตามอัตราส่วนของสมาชิก ที่ประกอบด้วยรัฐบาลและฝ่ายค้าน ทั้งนี้ เข้าใจว่านายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ได้กำหนดแล้วว่าพรรคนั้นมีกี่คน พรรคนี้มีกี่คน ฝ่ายค้านกี่คน และต้องส่งให้วุฒิสภา ซึ่งทางวุฒิสภาก็ต้องส่งมา 10 คนเช่นกันเพื่อมาประชุมร่วมกันว่าท้ายที่สุดแล้วจะเป็นอย่างไร
เมื่อถามว่า ผลที่ไปศึกษามาว่าทำประชามติสองครั้ง ได้ข้อสรุปแล้วหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า อยู่ระหว่างหารือ เป็นเพียงความเห็นว่าเมื่อมีปัญหาเช่นนี้แล้ว ท้ายที่สุดเราจะแก้ปัญหาอย่างไร บางความเห็นก็บอกว่าให้แก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น จึงเกิดการเสนอว่าให้ทำประชามติสองครั้ง แต่ตรงนี้ยังไม่ได้ข้อยุติระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล แต่เป็นความเห็นของฝ่ายที่เขาสนใจที่จะทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เมื่อถามว่า ตามโรดแมปของรัฐบาลที่อยากทำประชามติช่วงแรกพร้อมกับการเลือกนายก อบจ. ในเดือนกุมภาพันธ์นั้น หากดูเกมการแก้ประชามติแล้ว มองว่าจะทันใช้หรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า หากเป็นเรื่องที่ต้องใช้ตามข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญ 180 วันนั้น หากความว่าตกลงกันไม่ได้ซึ่งก็ต้องรอไว้ 180 วัน แบบนี้ไม่ทันแน่นอน ฉะนั้น หากจะให้ทันเหมือนที่นายนิกร จำนง ที่ปรึกษา กมธ. พิจารณาพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ให้สัมภาษณ์นั้น ก็อาจจะมีแนวทางอื่น ที่กมธ.ร่วมต้องไปพิจารณา ซึ่งหากกมธ.ร่วมเห็นพ้องก็จะไปสู่การพิจารณาร่างกฎหมายได้ และไม่จำเป็นต้องใช้เวลาถึง 180 วัน อาจจะใช้เวลาแค่บวกลบ 1 เดือนนิดหน่อย ซึ่งจะสามารถทำให้เสร็จได้ แต่ก็แล้วแต่ว่ากมธ.ร่วมกันจะพิจารณาอย่างไร หากเป็นเช่นนี้ก็จะทันใช้ในช่วงมกราคมถึงกุมภาพันธ์
ส่วนอีกประเด็นหนึ่ง นายชูศักดิ์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงการพิจารณารายงานของ กมธ.วิสามัญฯ ว่า สัปดาห์นี้จะยังเลื่อนออกไป เนื่องจากต้องรอหารือกับทุกฝ่ายให้ตกผลึก เพราะเข้าใจว่าขณะนี้มีร่างกฎหมายที่พรรคการเมืองต่างๆ เสนอต่อสภาฯ ไว้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไม่ได้กำหนดวันเวลาว่าจะหารือฝ่ายที่เกี่ยวข้องเมื่อใด แต่เรื่องที่เลื่อนจำเป็นต้องหารือร่วมกันก่อน
เมื่อถามว่า ขณะนี้มีหลายภาคส่วนเรียกร้องให้สภาฯ เร่งพิจารณารายงานเพื่อนำไปสู่การตรากฎหมายนิรโทษกรรม นายชูศักดิ์ กล่าวย้ำว่า “ต้องหารือร่วมกันก่อน”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิธรรม' ฟุ้งจับมือ 'เสี่ยหนู' บ่อยเพราะมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน!
'ภูมิธรรม' ย้ำ บมือคุย 'เสี่ยหนู' บ่อย เหตุมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เผย รมต.ยังไม่มีใครได้รับสัญญาณจะถูกปรับพ้นครม. บอก นายกฯคุยหลายฝ่ายปมปัญหาราคาสินค้า
‘เพื่อไทยดิ่งเหว ทักษิณมืดมน’ อดีตบิ๊กศรภ. ชี้ไม่เกิน 4 เดือน!
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ชี้พรรคเพื่อไทยกำลังเผชิญวิกฤตศรัทธา จากนโยบายกาสิโน-แจกเงินไม่ดูฐานะการคลัง เตือนบทบาททักษิณครอบงำรัฐบาลจนทุกอย่างมุ่งสู่จุดจบทางการเมืองและกฎหมาย
'ชูศักดิ์' กางตัวเลขชี้ชัดไม่มีทางเขี่ยภูมิใจไทยเพราะเสี่ยงไปตายดาบหน้า
'ชูศักดิ์' กางคณิตศาสตร์การเมือง หากเขี่ยภูมิใจไทยออก ไม่มีรัฐบาลไหนเสี่ยงไปตายดาบหน้า เชื่อยังพอไปกันได้ ยึดคำนายกฯ ทำสถานการณ์คลี่คลาย มอง คว่ำพ.ร.บ.งบเรื่องใหญ่ ไม่น่าเกิดขึ้น
'คุณหญิงหน่อย' ฟันธงเพื่อไทยยึดมหาด ไทยคืนแน่แต่ไม่ใช่ช่วงนี้!
คุณหญิงสุดารัตน์ชี้เปรี้ยง เพื่อไทยเอาแน่ยึดคืนมหาดไทยจากภูมิใจไทย แต่อาจไม่ใช่ปรับ ครม.รอบนี้ เชื่อทำก่อนเลือกตั้ง มองโอกาสดีด ภท.ออกไปเป็นฝ่ายค้านยัง 50-50
'ชัยวุฒิ' ซัดคนจ้องดูด สส.พปชร. เล่นนอกกติกาชกใต้เข็มขัด เชื่อพท.ไม่กล้าเขี่ยภูมิใจไทย
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกระแสข่าวการดึงพรรคพลังประชารัฐร่วมรัฐบาลแทนพรรคภูมิใจไทยว่า ยังไม่มีการติดต่อมา ตนเพิ่งเห็นจากในข่าว
หอมแก้มกลบข่าวร้าว 'อนิจจังตำแหน่งนายกฯ' ก่อนปรับ ครม.!
ข่าวลือเรื่องการปรับ ครม. หลังสงกรานต์ ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่สะท้อนแรงสั่นสะเทือนที่เริ่มชัดในรัฐบาล ทั้งจากภายในพรรคเพื่อไทยเอง และเสียงวิจารณ์จากคนในสังคมที่เริ่มจับตาว่าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ กำลังไปไม่รอด