"ประภัตร" เก็งข้อสอบถูกฝ่ายค้านซักฟอกเรื่องโค-หมู-ปมเยียวยา "ลัมปี สกิน" 1 ปียังไม่เสร็จ แจงล่าช้าอยู่ที่กรมบัญชีกลาง คาด เม.ย.เคลียร์จบ ส่วนโรค ASF จ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกร 4 ล็อตจบ 15 ก.พ.นี้ เตรียมเสนอ ครม.ของบเพิ่ม 400 ล้าน ชดเชย การฆ่าหมูอีก 9 หมื่นตัว เผย นายกฯเตรียมแจงทุกเรื่องด้วยตัวเอง
14 ก.พ.2565 - นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรจะมีการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามมาตรา 152 ในวันที่ 17-18 ก.พ.นี้ ว่า ตนคาดการณ์ว่าจะมีการอภิปรายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับตน 2 เรื่อง คือ 1.ปัญหาการจ่ายเงินเยียวยาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ ที่ได้รับผลกระทบสัตว์ตายจากโรคลัมปี สกิน ล่าช้า และ 2.ปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ซึ่งทั้ง 2 ประเด็น ตนได้เคยชี้แจงผ่านสื่อมวลชนและสภาผู้แทนราษฎรมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ส่วนการชี้แจงในการอภิปรายครั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม จะร่วมชี้แจงรายละเอียดด้วยตนเองด้วย
นายประภัตร กล่าวว่า สำหรับโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ ไทยเริ่มพบครั้งแรกช่วงเดือน มี.ค.2564 โดยกรมปศุสัตว์ได้ติดตามสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม และ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงได้มีการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย โดยข้อมูล ณ วันที่ 11 ก.พ.2565 พบว่า มีเกษตรกรส่งเอกสารขอรับความช่วยเหลือแล้ว 49 จังหวัด รวม 58,474 ราย โค-กระบือ 64,913 ตัว วงเงินรวม 1,331.74 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระทรวงเกษตรฯได้เสนอให้มีการแก้ไขระเบียบ เพื่อเพิ่มอัตราการให้ความช่วยเหลือกรณีสัตว์ตายด้วยโรคลัมปี สกิน อาทิ วัว จากเดิมชดเชย ตัวละ 6,000 บาทปรับเป็น 13,000 บาท กระบือจากตัวละ 8,000 บาท ปรับเป็น 15,000 บาท ประกอบการเบิกจ่ายมีรายละเอียดหลายขั้นตอน ส่งผลให้เพิ่งมีการจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พ.ย.2564
รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบัน กรมปศุสัตว์ดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาให้กับเกษตรกรแล้ว 15,014 ราย วงเงิน 357.06 ล้านบาท และมีเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการช่วยเหลืออีก 35,225 ล้านบาท วงเงิน 820.44 ล้านบาท ส่วนใหญ่ผ่านกระบวนการดำเนินการของกรมปศุสัตว์ และเรื่องติดอยู่ที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ซึ่งคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายเงินเยียวยาให้เกษตรกรกลุ่มนี้ครบทั้งหมดภายในเดือน เม.ย.2565
นายประภัตร ยังกล่าวถึงปัญหา ASF ในสุกร ว่า เรื่องนี้มีการช่วยเหลือเยียวยาโดยใช้งบประมาณจาก 2 ส่วน คือ จากสมาคมผู้เลี้ยงสุกร และการอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อใช้เป็นค่าชดเชยการทำลายสุกรจากการติดโรคดังกล่าว ปัจจุบันมีการจ่ายเงินเยียวยาไปแล้ว 3 ครั้ง และคาดว่าครั้งสุดท้ายจะดำเนินการแล้วเสร็จในวันที่ 15 ก.พ.2565 ในภาพรวมมีเกษตรกรได้รับความช่วยเหลือ 9,790 ราย สุกร 301,442 ตัว วงเงินรวม 1,131.71 ล้านบาท ครอบคลุมทุกเกษตรกร อย่างไรก็ตาม ตนยังได้รับรายงานจากกรมปศุสัตว์ ว่ายังมีเกษตรได้รับผลกระทบจากโรค ASF อีกจำนวนหนึ่ง ครอบคลุมสุกรอีก 8-9 หมื่นตัว ทำให้คาดว่าจะต้องมีการใช้เงินเยียวยาอีกประมาณ 400 กว่าล้านบาท โดยตนจะนำเสนอขอความเห็นชอบ ครม.ช่วง ก.พ.-มี.ค.นี้
“เรื่องนี้ต้องชมเชยนายกรัฐมนตรี ด้วยความเมตตาของท่านในการสั่งการ พอเรื่องมาถึง ท่านก็สั่งทันที ไม่ได้มีการยับยั้ง ทำให้แก้ปัญหาได้เร็ว ก็ต้องขอบคุณแทนประชาชนด้วย” นายประภัตร กล่าว
นายประภัตร กล่าวอีกว่า ขณะนี้คนสนใจว่าหมูยังขาดตลาดอีกหรือไม่ ตนพูดตั้งแต่วันแรก และเป็นคนเดียวที่ยืนยันว่าหมูไม่ขาด มันต้องเกิดเหตุกักตุนแน่นอน หมูที่เราเลี้ยงอยู่ปี 2564 มี 19 ล้านตัว บริโภคไป 18 ล้านตัว ส่งออก 1 ล้านตัว เหตุดังกล่าวที่เกิดขึ้น อยู่ในช่วงธันวาคม ช่วงสิ้นปีและตรุษจีน ก็เป็นเทคนิคของเขาที่ทำให้หมูขาดตลาด ทั้งที่หมูเพียงพอบริโภค เพราะข้อมูลการเคลื่อนย้ายหมูทั้งหมดเรารู้อยู่แล้ว เมื่อเป็นปัญหาบอกว่าหมูขาด ก็เกิดการฉวยโอกาสขึ้นราคา อย่างไรก็ตาม ไทยมีผลผลิตหมูประมาณ 19 ล้านตัว มีคนเลี้ยง 190,000 ราย เป็นรายย่อยที่เลี้ยงหมูไม่เกิน 50 ตัว จำนวน 186,000 ราย ซึ่งกลุ่มนี้มีหมูไม่ถึง 4 ล้านตัว ส่วนที่เหลือ 15 ล้านตัวอยู่กับพ่อค้ารายใหญ่ทั้งหมด ปัจจุบันเกษตรกรรายย่อยหายไป 1 แสนราย ซึ่งหลังจากนี้เรามีแผนที่จะฟื้นรายย่อยกลับมาให้ได้
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า รัฐปกปิดข้อมูลโรคระบาด ASF นายประภัตร กล่าวว่า เรื่องนี้ตนได้ชี้แจงรายละเอียดต่อสภาผู้แทนราษฎรไปก่อนหน้านี้ หมูมีอยู่ 3 โรค คือ โรค ASF , โรคเพิร์ส และ โรคอหิวาต์หมู ทั้ง 3 โรคนี้ หมูมีอาการคล้ายกันหมด เมื่อกรมปศุสัตว์นำซากหมูเข้าห้องแล็บ ก็ไม่เจอโรค ASF เจอแต่โรคเพิร์ส ตนก็ต้องฟังเขา เพราะตนไม่ใช้นักวิชาการ แต่บังเอิญแล็บมหาวิทยาลัยเจอโรคนี้ ก็เป็นเรื่องที่โต้กันทางวิชาการต่อไป
“ผมก็อธิบายให้เห็นว่า 3 โรคนี้มันคล้ายกันหมด มีอาการและการแพร่กระจายโรคเหมือนกันหมด ผมเป็นผู้กำกับดูแลจริง แต่ผมได้รับรายงานมาแบบนี้ ก็ต้องตอบตามเขา ส่วนเรื่องทางวิชาการก็เป็นเรื่องที่ระดับหน่วยงานจะต้องชี้แจงต่อไป” นายประภัตร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นายกฯอิ๊งค์' ไล่บี้ 'ตร.-DSI' ฟันคดีตึกถล่ม ใกล้ออกหมายจับคนผิด
นายกฯ เรียก ‘ตำรวจ-ดีเอสไอ’ แจงความคืบหน้าเหตุตึก สตง.ถล่ม แย้มใกล้ออกหมายจับคนผิดแล้ว จี้หน่วยงานเร่งส่งหลักฐานให้ ตร. ขอประชาชนมั่นใจรัฐบาลไม่ปล่อยแน่นอน
พี่เหยื่อตึกถล่มรับเงินเยียวยา 1 แสน ใช้ดูแลพ่อชรา-หลานป่วยโรคซึมเศร้า
พี่สาวเหยื่อตึกถล่ม รับเงินช่วยเหลือ 1 แสน จากรัฐบาล เผยไว้ใข้ดูแลพ่อวัย 80 ปี กับลูกน้องสาวที่ป่วยซึมเศร้า
รัฐบาลห่วง 5 โรคฮิต หลังเล่นน้ำสงกรานต์
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนส่วนใหญ่ออกไปร่วมสนุกกับกิจกรรมสาดน้ำอย่างชุ่มฉ่ำทั่วประเทศ อาจเป็นสาเหตุทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายๆ
นายกฯ เรียก 'ทวี' แจงผลสอบตึกถล่ม พบปลอมลายเซ็นวิศวกรเพียบ
นายกฯ เรียกกระทรวงยุติธรรม รายงานความคืบหน้าคดีตึก สตง.ถล่ม 'ภูมิธรรม' เผยเริ่มคลี่คลาย พบปลอมลายเซ็นวิศวกรหลายคน
'ภูมิธรรม' โยนถามนายกฯ ข่าวปรับครม. ยันสัมพันธ์พรรคร่วมยังเหนียวแน่น
'ภูมิธรรม' โยนกระแสปรับครม. ปลายเดือน เม.ย. ต้องถามนายกฯ ตอบแทนไม่ได้ ยันสัมพันธ์พรรคร่วมรัฐบาลยังเหนียวแน่น
รัฐบาลปลื้ม 'มหกรรมสงกรานต์' นักท่องเที่ยวทะลุล้าน พลังซอฟต์พาวเวอร์ไทย
'Maha Songkran World Water Festival 2025' นักท่องเที่ยวทะลุล้าน สะท้อนพลังซอฟต์พาวเวอร์ รัฐบาลเดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยก้าวสู่เวทีโลก ดันเศรษฐกิจโตทั่วประเทศ