สวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย หยุดวิกฤติ Learning Loss

เชื่อหรือไม่? เด็กไทยจำนวน 1.1 ล้านครัวเรือนไม่มีหนังสือ (นิทาน) ให้อ่านภายในบ้าน

นอกจากนั้นยังมีสถิติที่ได้จากการเก็บข้อมูล พบว่าเด็กไทยไม่สามารถอ่านหนังสือได้ มีโอกาสออกจากระบบโรงเรียนสูงถึง 40% และการที่เด็กเข้าไม่ถึงหนังสือถือเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จึงเดินหน้าขับเคลื่อน เติมเต็มช่องว่างในการสร้างคุณภาพการอ่านให้เป็นจริง

การจัดเวทีพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย “สานพลังร่วมหยุดวิกฤติ Learning Loss จากปฏิบัติการทางสังคมสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย” มุ่งเป้าสนับสนุนให้เกิดสวัสดิการหนังสือในเด็กปฐมวัย เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2565 ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ เป็นความเคลื่อนไหวล่าสุด โดย สสส.ร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านกว่า 340 องค์กร อาทิ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก บริษัท กล้าก้าว อินสไปเรชั่น จำกัด ศูนย์ประสานงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนท้องถิ่น เครือข่ายอ่านยกกำลังสุข ศูนย์ประสานงานส่งเสริมการอ่านชายแดนใต้ เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ เครือข่ายเด็กเท่ากัน เครือข่ายรัฐสวัสดิการ เพื่อการวางรากฐานการอ่าน สร้างกระบวนการเรียนรู้และสุขภาวะจากการอ่าน

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า สสส.เร่งสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย พัฒนาแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านตั้งแต่เด็กปฐมวัย อายุ 0-6 ปี ริเริ่มโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ชวนกันอ่านสร้างสุข โครงการคัดสรร 108 หนังสือดี เปิดหน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาเด็กปฐมวัย โครงการนครแห่งการอ่าน โครงการอ่านยาใจ : สร้างภูมิคุ้มใจเด็กปฐมวัย มุ่งขยายผลขับเคลื่อนงานสุขภาวะทางปัญญา สร้างครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง ร่วมแก้วิกฤติพัฒนาการภาษาล่าช้า ลดภาวะถดถอยการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

“เราไม่อยากรับบริจาคหนังสือ สสส.ไม่ได้ทำหน้าที่ตรงนี้ ภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ขับเคลื่อนนโยบาย นายก อบต.ขานรับนโยบายเห็นว่าเด็กเปลี่ยนแปลง การจัดกิจกรรมครั้งนี้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนปฏิบัติการทางสังคมด้วยการเสริมสร้าง เชื่อมโยง และเสริมพลังเครือข่าย เพื่อให้เกิดกลไกการทำงาน ทั้งกลไกด้านสุขภาพ ภาควิชาการท้องถิ่น และภาคนโยบาย เช่น สวัสดิการสำหรับแม่ตั้งครรภ์และเด็กตั้งแต่แรกเกิด ที่สร้างโอกาสการเข้าถึงหนังสือคุณภาพและสวัสดิการหนังสือเด็กปฐมวัย เพื่อวางรากฐานการอ่านที่เป็นทักษะสำคัญของการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเองตลอดชีวิต” นางญาณีกล่าว

นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. กล่าวว่า แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. และภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนงานส่งเสริมการอ่าน เพื่อนำไปสู่วัฒนธรรมใหม่ของสังคมไทย ที่มีกระบวนการสร้างสุขภาวะและศักยภาพของเด็กปฐมวัย เป็นยุทธศาสตร์สำคัญและเร่งด่วนในสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งต้องทำงานคู่ขนานระหว่างการขับเคลื่อนปฏิบัติการทางสังคมและภาคนโยบาย เพื่อขยายผลครอบคลุมทั้งประเทศ ที่ผ่านมาได้จัดเวทีสาธารณะทั่วทุกภูมิภาค 5 ครั้ง เพื่อให้เกิดข้อเสนอสำคัญนำยื่นต่อประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อนำไปสู่มติคณะรัฐมนตรีต่อไปภายในปี 2565 ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ “อ่านยกกำลังสุข”

รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวทาง ZOOM ว่า กทม.มุ่งทำงานภายใต้แนวคิด “ลงทุนน้อย แต่ได้ผลเยอะ” การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในเด็กปฐมวัย ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าได้ผลลัพธ์มหาศาล ในการนี้ สสส.และภาคีเครือข่ายผลักดันขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย ทางกทม.พร้อมรับนโยบายมาส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านนโยบาย 3 ข้อ 1.ส่งเสริมให้พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง มีหนังสือในบ้าน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญให้เด็กอายุ 0-8 ปี ที่มีพัฒนาการเร็ว มีนิสัยรักการอ่าน 2.ส่งเสริมให้ผู้ปกครอง พ่อ-แม่ มีเวลาอ่านหนังสือให้เด็กฟัง โดยฝึกให้พ่อ-แม่มีบทบาทในการฝึกลูกเรื่องการอ่านมากขึ้น 3.จัดทรัพยากรหนังสือเพื่อเด็ก อาทิ โครงการหนังสือ 100 เล่ม แนะนำให้เด็กอ่าน จัดตั้งศูนย์กลางห้องสมุด 36 แห่ง พัฒนาบ้านหนังสือในชุมชน 117 แห่ง ช่วยคนรายได้น้อย เข้าถึงหนังสือ 3-5 เล่มต่อ 1 บ้าน ใช้เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนหมุนเวียนหนังสือ พร้อมมีจิตอาสาหมุนเวียนมาอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ถือเป็นการที่ลงทุนน้อยแต่ได้ผลเยอะ สร้างเด็กปฐมวัยมีคุณภาพ ได้รับการพัฒนาการที่ดี ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความก้าวหน้าในชีวิตและสังคมไทย

“ขอรับนโยบาย สสส.และภาคีเครือข่ายในการผลักดันให้เด็กทุกคนเข้าถึงสวัสดิการหนังสือเด็กปฐมวัย โดย กทม.จะขับเคลื่อนอย่างจริงจัง เพราะการอ่านหนังสือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า คือลงทุนน้อยแต่ได้เยอะ” รศ.ดร.ชัชชาติกล่าว

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การอ่านมีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่ สร้างนิสัยรักการอ่านให้กับลูก 7 ข้อคือ 1.อ่านหนังสือหรือเล่านิทาน โดยแนะนำให้ลูกรู้จักตัวละครในหนังสือ พร้อมตอบคำถาม 2.พาลูกไปเลือกซื้อหนังสือที่สนใจ 3.ทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียน เช่น จัดชมรมนักอ่าน จัดห้องสมุดโรงเรียน เป็นวิทยากรอ่านหนังสือให้เด็กฟัง 4.ชวนลูกทำอาหารจากหนังสือหรือตำราอาหารเด็ก 5.ให้ลูกฝึกค้นหาคำตอบจากหนังสือสารานุกรมเด็ก 6.อ่านหนังสือทุกวัน เลือกที่เหมาะสมตามวัย มีภาพประกอบมีสีสันสวยงาม มีเนื้อหาเข้าใจง่าย และภาษาไพเราะ 7.ให้หนังสือเป็นของขวัญสำหรับลูกในวันสำคัญต่างๆ

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยมีนโยบายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างน้อย 1 แห่ง ต้องมีห้องสมุดศูนย์กลาง จึงได้ร่วมกับแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ริเริ่มโครงการ “ท้องถิ่นรักษ์การอ่าน” ปรับศาลากลางบ้าน วัด ส่วนของพื้นที่ราชการท้องถิ่น หรือบ้านของจิตอาสา เป็นพื้นที่อ่านหนังสือ แบ่งปันหนังสือของคนในชุมชน จำนวน 9,102 แห่ง พร้อมผลักดันนโยบายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรในท้องถิ่น ให้มีมุมอ่านหนังสือ มีกิจกรรมเล่านิทาน สนับสนุนให้ผู้ปกครองอ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างน้อย 5-10 นาทีต่อวัน ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมการเรียนรู้วงกว้างในระยะเวลาที่รวดเร็ว

นางพนมวรรณ คาดพันโน ประธานเครือข่ายฮักอ่าน จังหวัดยโสธร กล่าวว่า รับราชการสำนักงานสาธารณสุขยโสธรเป็นเวลา 27 ปี ขณะเดียวกันทำหน้าที่ส่งเสริมการอ่านให้เด็กในพื้นที่ พัฒนาทีม อสม.ในละแวกบ้าน ครอบครัวคนไข้ที่เป็นเด็กๆ ปู่ย่าตายายอ่านหนังสือให้เด็กฟัง กศน.มีบ้านหนังสือ มีการจับมือกับสาธารณสุขจัดทำกิจกรรมร่วมกัน เด็กควรจะได้อ่านหนังสือที่หลากหลาย เพื่อเด็กจะได้มีคลังศัพท์จากการอ่านหนังสือ อุปสรรคของเด็กก็คือการติดโทรศัพท์มือถือ โควิดทำให้ต้องเว้นระยะห่าง นอนโรงพยาบาล 14 วัน ระหว่างการพักฟื้นก็ขอหนังสือให้เด็กอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน  เด็กมีความสุขที่มีหนังสือเป็นเพื่อนในยามป่วย

นอกจากนี้ ยังแก้ไขปัญหาเด็กพิเศษให้มีพัฒนาการสมวัยด้วยการอ่านหนังสือให้เด็กฟังบ่อยๆ มิฉะนั้นเด็กจะมีพัฒนาการล่าช้า พูดไม่เป็นภาษา แนะนำพ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกวัน ขณะเดียวกันให้เด็กห่างมือถือ “แม่พาแก้มอิ่ม-รตา ลูกสาวอ่านหนังสือนิทานให้เด็กๆ ฟัง เด็กมีพัฒนาการที่ดีชวนกันแข่งขันการอ่านและเล่านิทาน ในฐานะที่เป็นหนอนหนังสือเพื่อจะช่วยกันสร้างหนอนหนังสือรุ่นต่อๆ ไป เด็กๆ มีพัฒนาการที่ดีอย่างเห็นได้ชัดเจน เด็กเรียนเก่งมีพัฒนาการ EF ถ่ายทอดความรู้ด้วยการอ่านหนังสือให้น้องๆ ฟัง มีการจัดทำกิจกรรมทอดผ้าป่าหนังสือ เพื่อเด็กจะได้มีหนังสือดีๆ หมุนเวียนกันอ่าน เป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม”.

 

วิกฤติการอ่านของเด็กไทย

ผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยปี 2562 (MICS6) จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับองค์การยูนิเซฟ  พบว่า

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในประเทศไทย มีจำนวน 34% ที่มีหนังสือสำหรับเด็กอย่างน้อย 3 เล่มที่บ้าน (ลดลงจากร้อยละ 41 ในปี 2558 แบ่งเป็นเด็กในครัวเรือนที่ร่ำรวยมาก 65% เด็กในครัวเรือนที่ยากจนมาก 14%

เด็ก 0-3 ปีไม่มีหนังสือนิทานในบ้าน 3 เล่ม 1.1 ล้านครัวเรือน

เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 53% พบว่ามีเด็กถึง 8% ที่เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง

การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีผลกระทบต่อเด็ก จากการศึกษาของ รศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มีพฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมสมาธิสั้น พฤติกรรมแยกตัว ดื้อ ต่อต้านมากขึ้น พฤติกรรมด้านภาษา พัฒนาการด้านการใช้สมองระดับสูง (Executive Functions หรือ EF) ในการแก้ไขปัญหาคิดสร้างสรรค์

เด็กที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อทักษะ EF ประกอบด้วย กลุ่มทักษะพื้นฐานสำคัญ 3 อย่าง 1.ความจำในการทำงาน (working memory) การควบคุมยับยั้งตนเอง (ingibitory control) การมีความคิดยืดหยุ่น (cognitive flexibility) การให้เด็กวัยหัดเดินดูโทรทัศน์นานกว่าวันละ 2 ชั่วโมง เด็กจะมีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้าถึง 6 เท่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีเดย์ ส.ค. นี้ ลุยปูพรมสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 7 รามาฯ - สธ. – สวรส. - สสส. สานพลัง มหาวิทยาลัย 4 ภาค ลงพื้นที่ประเมินสุขภาพกาย-ใจ

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 ที่โรงแรม แกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่นโฮเทล จ.นนทบุรี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

ผลักดันกม.ละเมิดในโลกออนไลน์ เยาวชนเผชิญภัยคุกคามพุ่งพรวด

มีความร่วมมือระหว่าง สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. กับสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สสส. ห่วง "เด็กและเยาวชน" ติดกับดักความสุข เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับคนอื่น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยร่วมกับ Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบที่เคยร่วมงานจากนิทรรศการ “Homecoming