ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย.)  ได้ร่วมMORU  และภาคีเครือข่าย  จากการสนับสนุนของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  จัดการประกวดภาพวาดการ์ตูน ”เชื้อดื้อยา” ภายใต้หัวข้อที่กำหนดไว้ ได้แก่ เชื้อดื้อยาและถิ่นที่อยู่, เชื้อดื้อยาในโลกอนาคต และไฝว้กับเชื้อดื้อยายังไงให้รอด  ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของการจัดงาน “สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ปี 2567” จัดขึ้นที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลงานที่ได้รางวัลชนะเลิศเป็นการสร้างสรรค์ร่วมระหว่าง น.ส.ภัทรธิดา บุตรดีวงศ์ และ น.ส.ชนากานต์ สุขคล้า นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากคณะแพทยศาสตร์ สาขาเวชนิทัศน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในหัวข้อ “เชื้อดื้อยาและถิ่นที่อยู่” ซึ่งเจ้าของผลงานทั้งสอง แจงที่มาของแนวคิดการออกแบบการ์ตูน จนกระทั่งคว้ารางวัลชนะเลิศสำเร็จว่า เชื้อดื้อยาซ่อนตัวอยู่ในหลากหลายพื้นที่ ทุกคนจึงมีโอกาสที่จะสัมผัสกับเชื้อดื้อยา จึงเกิดไอเดียนำเสนอผลงานในรูปแบบการสืบสวน ในการวาดการ์ตูนเปรียบเสมือนกับการตามรอยฆาตกร

ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 เป็นผลงานของ นายสิมโรจน์  พิมาศกมลพัฒน์ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวลำปาง  สาขาดิจิทัลกราฟิก ในหัวข้อ “ไฝว้กับเชื้อดื้อยายังไงให้รอด” ทั้งนี้ เจ้าตัวยอมรับว่าเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่ก็ได้ใช้ความพยายามตีโจทย์ หาข้อมูล สร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเอง จนความคิดตกผลึก” อยากสื่อให้ทุกคนเข้าใจสาเหตุของเชื้อดื้อยา และ รับมือกับมันในรูปแบบการ์ตูนคอมมิค เพื่อให้ทุกคนเข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง ”

และ รางวัลชนะเลิศ อันดับ2 เป็นของ น.ส.ชญาทิศ นิธิรัถยา จากโรงเรียน เซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ กรุงเทพฯ ซึ่งได้หยิบยกข้อปฏิบัติง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้ มาถ่ายทอดผ่านผลงาน “การล้างมือเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว เป็นการตอกย้ำให้ทุกคนได้เห็นว่า เพียงแค่ล้างมือให้สะอาด ทำให้เราห่างจากเชื้อดื้อยาได้ ซึ่งก็ตรงกับหัวข้อที่เลือก คือเชื้อดื้อยาใกล้กว่าที่คิด ระวังให้ดี ”

ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ นักวาดการ์ตูนการเมือง กรรมการที่ร่วมการตัดสินครั้งนี้  เผยถึงความรู้สึกที่มีต่อผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ว่า “ผลงานทุกชิ้นถ่ายทอดออกมาได้อย่างน่าทึ่ง สำหรับคนในวัยนี้ ซึ่งได้ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ผ่านการอ่านเรื่องเชื้อดื้อยา นำไปวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล แล้วนำมาออกแบบเป็นภาพการ์ตูนเพื่อสื่อสาร ถือว่าเป็นการเริ่มต้นในเส้นทางนี้ได้ดีมาก อย่างเช่น ผลงานที่ชนะเลิศ มีความโดดเด่นทั้งด้านสีสันและเนื้อหา สาระ ความพิเศษมีตั้งแต่หัวเรื่องที่มีความสะดุดตาน่าอ่านผ่านการออกแบบ”

ด้านผศ.ดร. ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย.) กล่าวถึงการประกวดภาพวาดการ์ตูนเพื่อสื่อสาร “เชื้อดื้อยา” ในปีนี้ว่า มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดทั้งสิ้นจำนวน 337 ภาพ โดยเกณฑ์พิจารณา หลักๆ ได้แก่ เนื้อหามีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อการประกวด  มีการใช้ AI ในการสร้างสรรค์ผลงาน  ภาพและเนื้อหามีความสมบรูณ์แบบ โดยแบ่งผู้ชนะทั้ง3 รางวัลจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณพร้อมเงินรางวัลมูลค่ารวม 30,000 บาท

“เราต้องการกระตุ้นให้เยาวชน มีความสนใจ และตระหนักในประเด็นเรื่องเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ จึงมองหาสื่อมาเป็นเครื่องมือสื่อสารไปสู่วงกว้าง เชื้อดื้อยาเป็นเรื่องซับซ้อน เข้าใจยาก ที่สำคัญหากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะตกไปถึงคนรุ่นใหม่ ที่จะได้รับผลกระทบ เราจึงอยากส่งไม้ต่อให้มีการสื่อสารไปสู่รุ่นต่อๆไป “ ผอ.กพย. กล่าวเสริมว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาถึง 38,000 คนต่อปี จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องทำความเข้าใจกับเรื่อง”เชื้อดื้อยา”เพราะหากใครได้รับเข้าไปก็จะส่งผลกระทบต่อชีวิต ซึ่งยารักษาเชื้อดื้อยามีไม่มากนัก แถมยังมีราคาแพง ยาบางชนิดก็มีผลข้างเคียง ทำให้การรักษายุ่งยากใช้เวลานาน”

สำหรับผู้สนใจชมผลงานการ์ตูนคอมมิค”เชื้อดื้อยา” จากผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลทั้ง 3 รางวัล สามารถเข้าไปชมได้ที่ Facebook สาระ ณสุข: เพจที่ให้สาระด้านสาธารณสุข และ www.thaidrugwatch.org

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“สมศักดิ์” มอบ สสส.ให้ความรู้วงกว้าง ห่วงคนไทยเป็นโรคร้ายจากค่าฝุ่น PM 2.5 เผยตัวเลขป่วยด้วยมลพิษทางอากาศสูง 12 ล้านคน เฉพาะเด็กรักษารายวันเฉลี่ย 2,760 ราย

เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 1/2568 ว่า ที่ประชุมรับทราบแผนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ของ สสส.

รำลึก 3 ปี 'หมอกระต่าย' ยื่น 3 ข้อเสนอ ลดอุบัติเหตุ'...ทางม้าลายปลอดภัย-บังคับใช้กฎหมายความเร็ว 50 กม./ชม.ในเขตเมือง/ชุมชน-ลดค่าใช้จ่ายของเหยื่อในกระบวนการยุติธรรม ชูลดความเร็ว เพิ่มความปลอดภัย

วันที่ 21 ม.ค. 2568 ที่ โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ คณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านยานพาหนะเกี่ยวกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุ เพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนน รัฐสภา

สสส. สานพลัง มูลนิธิปลูกต้นไม้ ปลูกธรรมะ ผนึกกำลัง 17 หน่วยงาน ชวนทำบุญวิถีใหม่ เวียนเทียนต้นไม้ ลดฝุ่น PM2.5 งดจุดธูป-เทียน ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตลอดปี 68

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 16 ม.ค. 2568 ที่ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิปลูกต้นไม้ ปลูกธรรมะ และภาคีเครือข่าย 17 หน่วยงาน     ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการทำบุญวิถีใหม่ เวียนเทียนด้วยต้นไม้ ลดฝุ่น ส่งเสริมการทำบุญวิถีใหม่ที่บูรณาการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดฝุ่น PM2.5

ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร

พลังแห่งการเล่น..พาเด็กก้าวข้ามวิกฤต ไทยเปิดตัว"สมาคมการเล่นนานาชาติ"

การเล่นเพื่อเปลี่ยนโลก!! เชื่อว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มีปุจฉา และต้องการวิสัชนาว่า ทำไม?!? เรื่องเล่นๆ ถึงจะมาเปลี่ยนโลกได้ และท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ

สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้

เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี