อว.ต่อยอดผลิตภัณฑ์​ตำบลฝีมือทีมU2T for​BCG​ สู่ตลาดออนไลน์​

เมื่อวันที่ 12 ส.ค.ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยระหว่างลงพื้นที่โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อเศรษฐกิจ BCG หรือ U2T for BCG ที่วังเทพทาโร ต.เขากอบ จ.ตรัง ในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ว่า โครงการ U2T for BCG เป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2564 เป็นการต่อยอดและทำครบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งพื้นที่เดิมของระยะที่ 1 ประมาณ 3,000 ตำบล ในพื้นที่ใหม่อีก 4,435 ตำบล  ทั้งนี้ U2T for BCG จะมีการต่อยอด U2T ระยะที่ 1 โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้สามารถออกสู่ตลาดได้อย่างยั่งยืนและต้องเกี่ยวข้องกับ BCG เน้นการใช้วัตถุดิบความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่

รองปลัด อว.กล่าวต่อว่า แม้ว่าระยะเวลาดำเนินการของโครงการ U2T for BCG จะมีเพียง 3 เดือน แต่เป็น 3 เดือนที่เราคิดว่าสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเรามีบทเรียนในการเรียนรู้มาตั้งแต่ U2T ในระยะแรกแล้ว และน้องๆ ที่มาทำงานกับทีม อว.ล้วนได้รับการฝึกทักษะที่จะต่อยอดตัวผลิตภัณฑ์และบริการ อย่างตำบลเขากอบ เป็นตำบลในพื้นที่ใหม่และเราได้คัดเลือกตัวผลิตภัณฑ์ที่เราจะนำไปสู่การพัฒนาการต่อยอดออกสู่ตลาด โดยมุ่งเน้นเป็นการตลาดสมัยใหม่ ไม่ใช่การตลาดแบบเดิมๆ และยังสามารถเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ได้ เพื่อจะทำให้ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และบริการมีความยั่งยืน

“โครงการ  U2T for BCG ในช่วง 1  เดือนเศษที่ผ่านมา อว. ได้มีการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยอย่างหนัก ทั้งการคัดเลือกผลิตภัณฑ์และบริการที่จะต้องเป็น BCG และต้องเป็นการต่อยอดหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นที่ มหาวิทยาลัยและผู้เข้าร่วมโครงการ หรือ ทีม อว.จะต้องลงไปสำรวจในชุมชน เพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์และบริการและจัดทำแผนธุรกิจเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเราจะมีกรอบของแผนให้ ซึ่งขณะนี้ทุกพื้นที่ได้ส่งแผนมาแล้วและเริ่มดำเนินการตามแผน ตอนนี้ถือว่าโครงการดำเนินไปได้ตามเป้า โดยเฉพาะการติดอาวุธให้ทีม อว. ในพื้นที่ ทั้งการให้ความรู้ในเรื่องของ BCG เสริมทักษะออนไลน์ คาดว่าภายใน 3 เดือนของโครงการ น้องๆ ในทีม อว.จะได้ความรู้และทักษะในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวกับ BCG ได้อย่างเต็มที่” ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวและว่าสำหรับการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่เป็นรายตำบล หรือ TCD ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก ปัจจุบันสามารถเก็บข้อมูลได้เกือบ 2 ล้านชิ้นแล้ว หน้าที่ของ อว. หลังจากนี้คือจะทำอย่างไรให้ข้อมูลที่ได้มามีความถูกต้องและเอาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะกลายเป็นฐานข้อมูลชุมชนที่สำคัญและเชื่อมโยงกับข้อมูลของหน่วยงานอื่นๆ ได้ โดยขณะนี้ อว.ได้ทำความร่วมมือกับ 16 หน่วยงาน เพื่อนำข้อมูลที่จัดเก็บได้เหล่านี้มาเชื่อมโยงกัน และคาดว่าภายใน 3 เดือนนี้ ประเทศจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ครบในพื้นที่ 7,435 ตำบลทั่วประเทศแน่นอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เข้าฟรี! “อว.แฟร์” พบตลาดสินค้านวัตกรรมจาก Startup กว่า 300 บูธ ร่วมอัปสกิลและสร้างโอกาสสู่การเป็นสตาร์ตอัปไทย

25 กรกฎาคม 2567, กรุงเทพมหานคร - กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดโอกาสให้ทุกคนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานมหกรรมสุดยิ่งใหญ่แห่งปี เข้าชมฟรี! งาน “อว.แฟร์”

NIA ดึง 7 หน่วยงานลงนามร่วมยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมไทย สร้างเครือข่ายความร่วมมือในงาน SITE2024

22 กรกฎาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ดึง 7 หน่วยงาน ลงนามบันทึกข้อตกลง และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมในหลากหลายมิติต่าง ทั้งการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรม

ศุภมาส เปิดงานมหกรรมนวัตกรรมและเครือข่ายสตาร์ทอัพไทย “SITE 2024” กับ 5 ไฮไลท์ตอบโจทย์สร้างการเติบโตและความยั่งยืนในธุรกิจ

23 กรกฎาคม 2567 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ – กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดงาน “Startup x Innovation Thailand Expo 2024” หรือ SITE 2024 ภายใต้แนวคิด "Innovation for Growth and Sustainability"

“ศุภมาส” หารือ “แอนดรูว์ อึ้ง” ผู้ทรงอิทธิพลด้าน AI ระดับโลก ผนึกความร่วมมือนำ AI มาประยุกต์ใช้ในระบบอุดมศึกษาไทย

เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้การต้อนรับ นายแอนดรูว์ อึ้ง (Mr.Andrew Ng)