ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวถึงการรับประทานอาหารให้ห่างไกลโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs ว่า กลุ่มโรค NCDs ดังกล่าว เช่น โรคเบาหวาน ไขมัน ความดัน มะเร็ง โรคปอด โรคหัวใจ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมมีสาเหตุมาจาก 5 ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่มลภาวะทางอากาศ และการบริโภค นอกจากนี้ โรค NCDs ยังเป็นสาเหตุการตาย 3 ใน 4 หรือ 75 % ของคนไทยในปัจจุบันด้วย ถือเป็นฆาตกรเงียบที่คอยทำลายสุขภาพที่คนทั่วโลกโดยไม่รู้ตัว
ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า ใน 5 ปัจจัยเสี่ยงมีความสำคัญเท่ากัน เรื่องการกินให้ได้สุขภาพดีห่างไกลโรคต้องกินครบ 5 หมู่ กินอย่างพอดีไม่น้อยหรือมากเกินไป กินผัก ผลไม้ ให้ได้วันละ 400 กรัม ด้วยเทคนิคง่ายๆ แบ่งจานข้าวออกเป็น 4 ส่วน ครึ่งหนึ่งควรเป็นผัก และ 1 ใน 4 ส่วนควรเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ส่วนที่เหลือเป็นอาหารที่ให้พลังงาน เช่นข้าว ขนมปัง กินแบบนี้ทั้ง 3 มื้อรับรองว่ากินผักครบ 400 กรัมแน่นอน ทำให้ได้รับอาหารในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
“ปัญหาการกินที่ทำให้เกิดโรคที่สำคัญ ได้แก่ รสหวาน มัน เค็ม โดยเฉพาะความเค็ม ที่มีโซเดียมเป็นส่วนผสมส่งผลต่อสุขภาพค่อนข้างมาก เช่น โรคไต ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ นำไปสู่โรคอื่นๆอีกมากมาย เรื่องเค็มถือว่าเป็นประเด็นที่ สสส.รณรงค์มาแล้วกว่า 10 ปี โดยจะเห็นข้อมูลตามสื่อสาธารณะมากขึ้น ซึ่งพิษภัยที่เกิดจากความเค็มไม่ได้น้อยกว่า ความหวานเลย แต่ที่ให้ความสำคัญคือภาพรวมการเลือกรับประทานอาหารในชีวิตปกติ อาหารแปรรูป การปรุงที่เกินพอดี องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าในแต่ละวันควรบริโภคโซเดียม ประมาณ 2,000 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา แต่โดยปัจจุบันเรามีการบริโภคโซเดียมอยู่ที่วันละ 3,600 มิลลิกรัม ทำให้ในแต่ละปีสูญเสียเงินจากการฟอกไต หลายพันล้านบาท จึงต้องช่วยกันรณรงค์ป้องกันตั้งแต่เริ่มแรกดีกว่าแก้ไขในภายหลัง”
ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่าการรณรงค์ลดเค็มลดโรคในปีที่ผ่านมาเพื่อลดโรค NCDs และลดการบริโภคโซเดียม จากข้อมูลทางวิชาการพบว่าในน้ำซุป เป็นแหล่งโซเดียมที่สำคัญ จากการสำรวจพบว่าในน้ำซุป 1 ถ้วยมีโซเดียมประมาณ 1,500 มิลลิกรัม ไม่ว่า น้ำแกง น้ำพะโล้ น้ำซุปข้าวมันไก่ น้ำก๋วยเตี๋ยว ปีนี้เราจึงให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำซุป จึงได้ใช้แคมเปญว่า “ลดซด ลดปรุง ลดโรค” เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนรู้ถึงพิษภัยของความเค็ม และช่วยกันลดปริมาณโซเดียมลงโดยร่วมกับเครือข่ายลดการบริโภคเค็ม รณรงค์ขับเคลื่อนสังคมด้วยองค์ความรู้ผ่านสื่อต่างๆเพื่อให้ข้อมูลและเตือนให้ประชาชนนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินในแต่ละวัน โดยใช้เครื่องปรุงที่ลดโซเดียม โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นโรคแล้ว และกลุ่มที่ยังไม่เกิดโรค เราต้องป้องกันตนเองโดยรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ ลดหวาน มัน เค็ม ทานผักผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม
สำหรับเทคนิคการเลือกรับประทานอาหารลดโซเดียมคือการกินอาหารปรุงสด ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่าเราควรดูสลากโภชนาการ ชิมก่อนปรุง ลดการปรุงเพิ่ม กินน้ำซุปแต่น้อย และเพิ่มผักให้มาก ข้อแนะนำอีกอย่างไม่ควรนำเครื่องปรุงวางบนโต๊ะอาหารจะทำให้ลดการปรุงเพิ่มได้ ส่วนอาหารที่ไม่ได้ปรุงแต่มีโซเดียมได้แก่ ขนมปัง เค้ก ไอศกรีม ควรรับประทานอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามเพื่อความมั่นใจต้องอ่านสลากโภชนาการทุกครั้ง
“จากการณรงค์ที่ผ่านมาพบว่าปัจจุบันคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากทั้งเรื่อง หวาน มัน เค็ม ส่วนเรื่องของโรคที่เกิดจากพฤติกรรมจะลดลงหรือไม่นั้นต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามการเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมในวันนี้ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวแน่นอน หลังการรณรงค์จะมีการสำรวจเป็นระยะช่วง 3-5 ปี เมื่อก่อนพบคนไทยบริโภคโซเดียมถึง 4,000 มิลลิกรัมในปัจจุบันลดลงเหลือ 3,600 มิลลิกรัม หลังจากนี้หวังว่าจะลดลง 10-20 % เป็นอย่างน้อย เพราะการลดความเค็มแม้เพียงเล็กน้อยจะช่วยลดภาระสุขภาพที่อาจเกิดจากโรค NCDsได้“ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวย้ำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชุมชนเอื้ออาทรสาย 5 นครปฐม ต้นแบบกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ
สังคมอย่างไทย..ในวันนี้ มีปรากฏการณ์ที่มองข้ามความจริงมิได้ว่า "วัยแรงงาน" ต้องรับภาระการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
นวัตกรรมดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม ลดเครียดคนดูแล-สร้างสุขคนป่วย
สมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) อยู่ภายใต้กะโหลกหน้าผาก เสมือนหนึ่งเป็น CEO ขององค์กรควบคุมการคิด การตัดสินใจ อารมณ์ การแสดงออกและการกระทำของมนุษย์ โดยทำงานร่วมกับสมองส่วนอื่นๆ
อพวช. ร่วมเปิดตัวกิจกรรม “ปิดเทอมสร้างสรรค์” ปี 66
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมภาคีเครือข่าย จัดเปิดตัวกิจกรรม “ปิดเทอมสร้างสรรค์” อัศจรรย์วันว่าง ประจำปี 2566 เพื่อเปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชนเข้าถึงกิจกรรมเรียนรู้ตามความสนใจช่วงวันว่าง 150 วัน/ปี ที่กระจายสู่พื้นที่ใกล้บ้าน
นายกรัฐมนตรี ร่วมกิจกรรมรณรงค์ “ปิดเทอมสร้างสรรค์ อัศจรรย์วันว่าง” สสส. สานพลัง ภาคี-เยาวชน นำตัวอย่างศักยภาพเด็กไทยที่ค้นพบช่วงปิดเทอมโชว์ ครม.
เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เปิดหลักสูตร“ก่อการครูแพทย์" ป้องกันภาวะหมอ..หมดไฟ
ทำไม?!? ครูที่สวมเสื้อกาวน์สีขาวสอนนิสิตนักศึกษาแพทย์จึงหมดไฟในการทำงานอย่างรวดเร็ว ไม่มีความสุขในการสอน ทั้งๆ ที่อยู่กับนาทีความเป็นความตายของคนไข้ตรงหน้า
คุยเรื่องเพศกับ’ลูก’ไม่ยาก แค่เปิดใจ
เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มพ่อแม่เห็นความสำคัญของการคุยเรื่องเพศกับลูกอย่างเปิดใจ พร้อมกับรับฟังโดยไม่ตัดสินเพื่อให้ลูกๆ อยากคุยเรื่องเพศ