"สามพรานโมเดล” องค์กรต้นแบบ ความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน

ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาระบบอาหารไม่สมดุล  เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ยังใช้สารเคมีในการเกษตรเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตจำนวนมาก และส่งผลผลิตขายที่ตลาดกลางโดยมีพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคา ทำให้เกษตรกรถูกกดราคาผลผลิต มีปัญหาหนี้สะสมและปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมี ปัญหาตกค้างในสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคต้องเผชิญกับสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหาร

นับเป็นประเด็นปัญหาสุขภาวะโดยรวมของสังคมไทยอย่างแท้จริง และถือเป็นความจำเป็นที่ภาคเกษตรต้องเรียนรู้และยอมรับการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง สู่การทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างคุณค่า ความปลอดภัย และการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภคด้วยราคาที่เป็นธรรม ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นทาง

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มีพันธกิจในการสร้างสังคมสุขภาวะเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จึงได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายตลอดจนชุมชนต่างๆ เดินหน้าสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยทางโภชนาการ รวบรวมฐานข้อมูลของประเทศเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในเชิงรุก และบูรณาการร่วมกันในการบริหารจัดการ 

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส.และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า มูลค่าผลผลิตทางอาหารเป็นตัวเลขหลายแสนล้านบาท การกินมีส่วนสำคัญในการสร้างสุขภาพดี สสส.บูรณาการระบบห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ครบวงจร มียุทธศาสตร์หลัก 3 ข้อ ได้แก่

1.ขับเคลื่อนการบูรณาการภายใต้แนวคิด “ระบบอาหารที่ยั่งยืน” สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ 2.สาน เสริมพลังภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ร่วมกันต่อยอดและขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 3.ยกระดับต้นแบบและขยายผลงานอาหารเพื่อสุขภาวะในระดับพื้นที่ มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนเกิดความรอบรู้และเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหาร พัฒนาและใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เพื่อสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารในระดับครัวเรือนและชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้โมเดลธุรกิจที่เกื้อกูลสังคม นำไปสู่การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างสมดุลภายใต้ระบบอาหารที่ยั่งยืน

"สวนสามพราน" เป็นองค์กรต้นแบบในการขับเคลื่อนธุรกิจเกื้อกูลสังคม จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนบนฐานการค้าที่เป็นธรรม และเป็นพื้นที่ศูนย์เรียนรู้มีชีวิต สอดแทรกการใช้ระบบห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ที่ครบวงจร ที่เริ่มจากการเตรียมการปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป ซื้อ/ขาย การจัดการขยะ มีการออกแบบให้สามารถเรียนรู้ใน 6 ด้าน คือ 1.ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม 2.อาหารและการเกษตร 3.ดูแลสุขภาพองค์รวม 4.พลังงานทดแทนชีวเคมี 5.ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 6.เศรษฐกิจหมุนเวียน ฟื้นฟูระบบอาหารให้สมดุลระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค เชื่อมช่องทางการตลาด รวมทั้งพัฒนาให้กลุ่มเกษตรกรเครือข่าย 193 คน ให้ได้การรับรองผลผลิตแบบมีส่วนร่วมตามมาตรฐาน PGS (Participatory Guarantee Systems) และเตรียมยกระดับการรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลต่อไป

นายอรุษ นวราช กรรมการผู้จัดการบริษัท สวนสามพราน จำกัด นายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) รวมทั้งนายชฤทธิพร เม้งเกร็ด ผู้จัดการโครงการมูลนิธิสังคมสุขใจ กล่าวถึงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อสุขภาวะครบวงจรว่า สวนสามพรานเป็นพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Inspire Learning for Change) เป็นองค์กรต้นแบบในการขับเคลื่อนธุรกิจเกื้อกูลสังคม และนำ BCG Model มาประยุกต์ใช้ในนโยบายด้านความยั่งยืน ขับเคลื่อนนวัตกรรม “สามพรานโมเดล” พื้นที่ศูนย์เรียนรู้มีชีวิตสอดแทรกการใช้ห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ เริ่มจากการเตรียมการปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป ซื้อ ขาย การจัดการขยะ

ผู้บริหารสวนสามพรานเล่าด้วยว่า ตนเองมาจากวงการโรงแรม มีส่วนก่อตั้งสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ผลักดันเกษตรกรทำธุรกิจให้เป็น ผู้ประกอบการเกื้อกูลร่วมขับเคลื่อนห่วงโซ่ทั้งสังคม นำเสนอข้อมูลตามผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหารจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม  สหรัฐฯ มีสมาคมเกษตรอินทรีย์ 30 ปีมาแล้ว มีสมาชิกหลายล้านคน แนะนำเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ ขณะเดียวกันก็ต้องมีการตลาดนำด้วย มิฉะนั้นก็พาเขาไปตกเหว การทำงานกับผู้บริโภคสิ่งที่ยากที่สุดคือ การโน้มน้าวให้ทำเกษตรอินทรีย์ที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม การหยุดใช้สารเคมีจะส่งผลให้มีสุขภาพดีขึ้น เกิดความยั่งยืน  เกษตรกรปลดหนี้ 7 แสนบาทภายใน 5 ปี ถ้าไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โรงแรมเป็นหุ้นส่วนที่ดีกับเกษตรกร ธุรกิจโรงแรมก็ดีขึ้น เกษตรกรมีฐานะดีขึ้น สิ่งแวดล้อมก็ดีขึ้น  อาหารการกินก็ดีขึ้น มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสังคมตลอดห่วงโซ่

หลังจากก่อตั้งสมาคม TOCA ได้ 3 ปี เกิดโควิด จึงจัดทำTOCA PLATFORM พบกันทางออนไลน์ มีการทำเอกสารบันทึกผลงาน การใช้วัตถุดิบอาหาร ลดคาร์บอนฟุตปรินต์ การท่องเที่ยวฯ สสปน.ให้การสนับสนุนการสะสมแต้ม ให้รางวัลสนับสนุนการไปเที่ยวโรงแรมที่เชียงใหม่ ภูเก็ต ร้านอาหารที่ปรุงด้วยวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ เกิดความเชื่อมั่นกับทุกฝ่ายด้วยความโปร่งใสในห่วงโซ่อาหาร

การทำงานต้องสร้างเครือข่ายสามพรานโมเดล ขับเคลื่อนโดยมูลนิธิสังคมสุขใจ ช่องทางการตลาดสุขใจเป็น Showroom ที่ต้องมาเรียนรู้ ตลอด 10 ปีขับเคลื่อน 150 ครอบครัว จำนวน 16 กลุ่ม เกษตรกรส่วนหนึ่งหยุดไปในช่วงโควิด เป็นการทดสอบความเข้มแข็' เกษตรกรส่วนหนึ่งยังพัฒนาตัวเองด้วยการทำเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตัวเอง ทำธุรกิจเป็นด้วยการแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า

เมื่อทุกฝ่ายร่วมมือ และเข้าถึงเข้าใจในเส้นทางความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร "สวนสามพรานโมเดล" ก็จะสามารถขยายเครือข่ายต้นแบบได้อย่างหลากหลายและเป็นระบบ ซึ่งหมายถึงอนาคตที่ยั่งยืนของระบบเกษตรปลอดภัยในประเทศไทยอย่างแน่นอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง