เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 15 ต.ค. 2567 ที่โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จ.นนทบุรี นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในพิธีเปิดงานประชุมเวทีบูรณาการและนวัตกรรมสังคมด้านอาหาร ประจำปี 2567 ว่า องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค. ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร และร่วมกันปกป้องระบบอาหารที่ยั่งยืน สสส. สานพลัง ภาคี จัดงานในครั้งนี้ ภายใต้แนวคิด “บูรณาการเครือข่ายอาหาร สู่การบริโภคที่สมดุล ด้วยระบบอาหารที่ยั่งยืน” เพื่อเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะ และขยายผลองค์ความรู้การบริโภคอาหารให้ได้คุณค่าอย่างสมดุลตามหลักโภชนาการ พร้อมเผยแพร่นวัตกรรมการเชื่อมโยงระบบอาหารยั่งยืนตลอดห่วงโซ่ตั้งแต่การผลิต การกระจาย ไปสู่การบริโภค เพื่อนำไปสู่การผลักดันนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของระบบอาหาร สอดรับกับคำขวัญของวันอาหารโลกปี 2567 “Right to foods for a better life and a better future หรือ สิทธิในอาหาร เพื่อชีวิตที่ดี และอนาคตที่ดีกว่า” ซึ่งมีองค์กรร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ในวันอาหารโลกกว่า 150 ประเทศ
นพ.พงศ์เทพ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลรายงานวิกฤตการณ์อาหารโลก ปี 2567 โดย FAO พบประชากรเกือบ 282 ล้านคน ใน 59 ประเทศ เผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร ทั้งหิวโหยเฉียบพลันและเข้าไม่ถึงอาหารตามหลักโภชนาการ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี กว่า 36 ล้านคน ขาดสารอาหาร จนเกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งจำนวนกว่า 2 ใน 3 อยู่ในทวีปเอเชีย สำหรับเด็กไทยมีภาวะผอม 5 - 10% แม้อยู่ในระดับปานกลางไม่ถึงขั้นวิกฤต แต่กลับสะท้อนว่ายังมีกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารตามหลักโภชนาการ และขาดความรู้ ความเข้าใจการบริโภคอาหารที่สมดุลและเหมาะสมตามช่วงวัย ที่สำคัญคือ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามความชอบ ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและการยกระดับรายได้ เนื่องจากขาดต้นทุน ทรัพยากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี จึงทำให้ประชาชนยังมีอัตราการบริโภคผักผลไม้ได้น้อยกว่าปริมาณที่แนะนำขององค์การอนามัยโลก (อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน)
“สสส. เร่งบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เพื่อร่วมกันสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนในประเทศ โดยมุ่งเป้าหมายขับเคลื่อนการดำเนินงาน 3 มาตรการ 1.ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและการผลิตอาหารปลอดภัย 2.สร้างระบบอาหารปลอดภัยและการกระจายอาหารที่เป็นธรรม โดยให้ความสำคัญกับเกษตรกรรายย่อยและผู้ผลิตอาหารขนาดเล็ก 3.สนับสนุนการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีความหลากหลาย โดยเน้นให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะได้อย่างสมดุล เพิ่มการบริโภคผักผลไม้ให้ได้ปริมาณที่เพียงพอตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก และลดการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีและลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต” ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว
น.ส.นิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า ที่ผ่านมา สสส. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานทั้งในด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการ อาทิ 1.สร้างต้นแบบระบบอาหารในโรงเรียนและชุมชน การใช้นวัตกรรมโปรแกรม Thai School Lunch เพื่อการบริหารจัดการเมนูอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักโภชนาการกว่า 1,000 เมนู และเชื่อมโยงผลผลิตจากเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่มาใช้เป็นวัตถุดิบในการจัดทำอาหารกลางวัน การขับเคลื่อนนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอาหารที่มีคุณภาพและโภชนาการในโรงเรียน เพื่อช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารและการหมุนเวียนเศรษฐกิจอาหารในท้องถิ่น 2.ผลักดันนโยบายอาหารอินทรีย์ในโรงพยาบาล 780 แห่ง เพื่อจัดจำหน่ายและให้บริการอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 3.ขยายผลพื้นที่การจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพไปในชุมชนและห้างสรรพสินค้า “ตลาดเขียว” “สถานีเกษตรแบ่งปัน” กระจายทั่วประเทศกว่า 88 แห่ง ช่วยยกระดับรายได้ให้กับเครือข่ายเกษตรกรและระบบเศรษฐกิจอาหารในชุมชน 4.จัดสภาพแวดล้อมลดอาหาร/เครื่องดื่มลดหวาน “โรงเรียนปลอดน้ำอัดลมและขนมหวาน” “โรงพยาบาลอ่อนหวาน” “ร้านกาแฟหวานน้อยสั่งได้” กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ
น.ส.นิรมล กล่าวอีกว่า สสส. ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย พัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการเข้าถึงโภชนาการอาหาร อาทิ 1.คู่มือมาตรฐานระบบการจัดการอาหารและโภชนาการในสถานศึกษา เพื่อยกระดับการจัดอาหารในสถานศึกษาให้มีคุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการ ช่วยให้เด็กนักเรียนได้บริโภคอาหารกลางวันที่มีคุณค่าต่อร่างกาย และยังลดภาวะทุพโภชนาการของเด็กวัยเรียน โดยเผยแพร่ไปใช้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ 2.นวัตกรรมเครื่องมือ Chem Meter ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณโซเดียมในอาหารแบบพกพา 3.Daycare นมแม่และการเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการดูแลพัฒนาการเด็กตามวัย รวมถึงการรณรงค์สื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ อาทิ แคมเปญ “หวานน้อยสั่งได้” “เมนู 2:1:1” “ลดหวาน มัน เค็ม” โดยมุ่งสร้างความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน
'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน
‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ
จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง
รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น