สุดปัง! สสส. คว้ารางวัลสุดยอดอาคารประหยัดพลังงาน “MEA ENERGY AWARDS พรีเมียม ระดับ PLATINUM” จากการไฟฟ้านครหลวง รับรองเป็นต้นแบบอาคารสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาวะ พร้อมเปิดพื้นที่สีเขียวส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การสร้างสุขภาวะอย่างสร้างสรรค์
นางสุรางครัตน์ สร้อยสนธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ได้รับรางวัล “MEA ENERGY AWARDS พรีเมียม ระดับ PLATINUM” เป็น 1 ใน 7 อาคารที่ผ่านการรับรองระดับสูงสุดด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นต้นแบบอาคารประหยัดพลังงานที่ดีในระดับประเทศ จากการไฟฟ้านครหลวง สสส. ออกแบบและบริหารจัดการอาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอย 26,000 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับใช้ประโยชน์สาธารณะ 83.79% และเป็นพื้นที่ทำงานในส่วนสำนักงาน 16.21% เน้นความใส่ใจต่อสุขภาวะของพนักงานและผู้ใช้อาคาร สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ สสส. ที่ว่า ทุกคนบนแผ่นดินไทยมีวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งอาคารที่ได้รับตราสัญลักษณ์ในระดับพรีเมียม ต้องผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณา 3 ด้าน 1.ด้านการมีส่วนร่วมและความใส่ใจของผู้บริหาร 2.ด้านความยั่งยืนของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 3.ด้านการปรับปรุงการใช้พลังงาน รวมถึงดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่สามารถทำได้จริง และเกิดผลประหยัดพลังงานชัดเจน
ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการ สสส. กล่าวต่อว่า สสส. มีเป้าหมายในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยโลกให้ยั่งยืน โดยจัดตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน คณะทำงานตรวจสอบ ติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน และคณะทำงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint of Organization : CFO) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการบริหารจัดการ และลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์พลังงาน การจัดการของเสีย และเน้นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติควบคู่กับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการและควบคุมอาคารอัตโนมัติ (Building Automation Systems : BAS) เกิดเป็นระบบและอุปกรณ์ช่วยประหยัดพลังงาน อาทิ ระบบบำบัดน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Wastewater Reuse) ท่อนำแสง (Light Pipe) ระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ที่ผลิตพลังงานกว่า 5,000 ยูนิตต่อเดือน ทำให้ประหยัดค่าไฟกว่า 30,000 บาทต่อเดือน รวมถึงกิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน และส่งเสริมสุขภาวะของผู้ใช้อาคาร อาทิ ระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติตอนพักเที่ยง บันไดดนตรี ให้ความเพลิดเพลินขณะเดินขึ้น-ลง แทนการใช้ลิฟต์
“สสส. เปิดพื้นที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ส่งต่อองค์ความรู้เพื่อให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างชีวิตที่มีสุข ทั้งกาย จิต ปัญญา และสังคม ผ่านเส้นทางการเรียนรู้วิถีสีเขียว Green Building, Green Living สถาปัตยกรรมและวิถีสีเขียว 14 จุด ตอกย้ำการรับรองมาตรฐานอาคารที่สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร เป็นพื้นที่สาธารณะต้นแบบที่สนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การสร้างสุขภาวะอย่างสร้างสรรค์ ติดต่อเข้าชมฟรี ทุกวันจันทร์-เสาร์ เวลา 08.30-17.00 น. โทร. 02 343 1500 หรืออีเมล์ [email protected]” นางสุรางครัตน์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน
'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน
‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ
จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง
รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น